การฝึกพื้นฐานทางวิศวกรรมเครื่องกล

Basic Mechanical Engineering Training

ปฏิบัติงานพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือวัดและเครื่องมือวัดละเอียด การใช้ตะไบลดขนาดชิ้นงาน การใช้เลื่อยมือ การเจาะและกลึงชิ้นงาน การทำเกลียวนอกและใน การเชื่อมชิ้นงาน ตลอดจนเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆในงานวิศวกรรมพื้นฐาน การปฏิบัติงานตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย และการปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยอยู่เสมอ
ปฏิบัติงานพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือวัดและเครื่องมือวัดละเอียด การใช้ตะไบลดขนาดชิ้นงาน การใช้เลื่อยมือ การเจาะและกลึงชิ้นงาน การทำเกลียวนอกและใน การเชื่อมชิ้นงาน ตลอดจนเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆในงานวิศวกรรมพื้นฐาน การปฏิบัติงานตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย และการปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยอยู่เสมอ
นอกเวลาการจัดการเรียนการสอน
1.1.1 แสดงออกซึ่งจิตสำนึกสาธารณะ และตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพครู ที่เสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
1.1.3 แสดงออกซึ่งการมีวินัย ขยัน อดทน เสียสละ ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดี
1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
 
มีการทำข้อตกลงและกฎเกณฑ์ในการแต่งกาย การเข้าชั้นเรียน การปฏิบัติตนในระหว่างการศึกษา การมอบหมายแบบฝึกหัด การศึกษาวิชาการและงานวิจัยในสื่อ Online พร้อมนำเสนอหน้าชั้นเรียน การศึกษากฎระเบียบและหลักเกณฑ์ต่างที่เกี่ยวข้อง มาตรฐานและจรรยาบรรณที่สัมพันธ์กับรายละเอียดเนื้อหาที่สอนตามความที่จำเป็น การมอบหมายการทำงานเป็นกลุ่มในรูปแบบระดมความคิดหรือแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันเพื่อสร้างพื้นฐานนิสัยการยอมรับความคิดเห็นผู้อื่นๆ การสอดแทรกตัวอย่างประกอบในการนำเทคโนโลยีไปใช้ร่วมกับสังคมและศิลปวัฒนธรรม เช่น บ้าน วัด และสาธารณสถานต่างๆได้อย่างเหมาะสม
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมที่มอบหมาย
1.3.3 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1.3.5 ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ความตั้งใจและความสนใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
2.1.1 มีความรอบรู้ในด้านความรู้ทั่วไป วิชาชีพครู และวิชาชีพเฉพาะ อย่างกว้างขวาง ลึกซึ้ง และเป็นระบบ
2.1.3 สามารถนำหลักการและทฤษฎีในองค์ความรู้ที่ได้ศึกษาไปบูรณาการข้ามศาสตร์ และบูรณาการกับโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสม
การสอนโดยการมอบหมายการศึกษาตัวอย่างเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือสิ่งที่เรียน โดยให้ผู้เรียนทำการสรุปประเด็นสำคัญและนำเสนอหน้าชั้นเรียน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน การเสนอแนวคิดในการนำเทคโนโลยีไปปรับใช้กับสภาพแวดล้อมที่สมมติ/สภาพภูมิศาสตร์/สภาพแวดล้อมใกล้เคียง
2.3.1 การทดสอบปฏิบัติย่อย
2.3.2 การทดสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.3 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
2.3.4 ประเมินจากการตอบคำถาม
3.1.1 มีจินตนาการในการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนในการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ เพื่อพัฒนานวัตกรรม
3.1.2 มีทักษะในการเป็นผู้นำความรู้เพื่อการสืบค้นข้อมูล วินิจฉัย วิเคราะห์และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ
ใช้การสอนแบบมอบหมายงานศึกษาค้นคว้าและนำเสนอหน้าชั้น การหาชิ้นงานที่มีประเด็นปัญหามาให้นักศึกษาลองแก้ไขปัญหา การให้นักศึกษาซ่อมแซมงาน พร้อมให้แสดงข้อคิดเห็นและตอบข้อซักถาม การยกตัวอย่างข้อปัญหาและให้ประมวลความรู้ที่มีในการปรับใช้เพื่อการแก้ประเด็นปัญหา
3.3.1 บทบาทสมมติ/สถานการณ์จำลอง/งานซ่อมแซมงานที่ชำรุดของมหาวิทยาลัยตามที่มอบหมาย
3.3.2 การเรียบเรียงขั้นตอนและการเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ไขปัญหาในบริบทต่าง ๆ
3.3.3 การนำเสนอรายงานการค้นคว้า
3.3.4 การทดสอบ/การซักถามระหว่างเรียน/การซักถามระหว่างการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
4.1.1 แสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น และมีวุฒิภาวะทางอารมณ์
4.1.3 สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมตามบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
4.1.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน และมีจิตสำนึกต่อสังคมด้านการนำความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม/การมอบหมายงานค้นคว้าและการนำเสนอ การกำหนดโจทย์ตัวอย่างและให้ระดมสมองเพื่อหาข้อสรุปและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกลุ่ม การสอดแทรกและยกตัวอย่างการประพฤติปฏิบัติที่ดีของนักศึกษาที่ผ่านการฝึกประสบการณ์ครู
การวัดและประเมินผลทำได้โดยการสังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมกลุ่ม ทั้งในและนอกชั้นเรียน และผลสะท้อนกลับจากการฝึกประสบการณ์ต่าง ๆ เช่น โดยสังเกตจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน พฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ความตั้งใจในการนำเสนอผลงาน การประสานความช่วยเหลือจากผู้อื่น
5.1.2 สามารถใช้ดุลยพินิจในการสืบค้น วิเคราะห์ ประมวลผล แปลความหมายและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
ดำเนินการสอนด้วยกิจกรรมที่นักศึกษาต้องติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล และนำเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การยกตัวอย่างข้อปัญหาจากที่พบในเหตุการณ์จำลองแบบรูปต่างรวมถึงการแก้ไขปัญหาหน้างานระหว่างการมอบหมายเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยนำทักษะทางวิชาการ คำนวณ ความเป็นเหตุเป็นผล ความเหมาะสมต่อสภาพงานพร้อมทั้งให้แสดงความเห็นประกอบ
การประเมินผลจากความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการติดต่อสื่อสาร การศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล การนำเสนอผลงาน ความถูกต้องและเหมาะสมของเนื้อหา การมีจรรยาบรรณและมารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ความสามารถในการถ่ายทอดหรือแนะนำผู้อื่น
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2
1 TEDME935 การฝึกพื้นฐานทางวิศวกรรมเครื่องกล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาค - สอบปลายภาค 8 และ 17 50
2 รายงานกลุ่มพร้อมนำเสนอ - วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า - การนำเสนอรายงาน - การทำงานกลุ่มและผลงาน - การอ่านและสรุปบทความ - การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40
3 จิตพิสัย - การเข้าชั้นเรียน - การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10
เอกสารประกอบการสอน/คู่มือ/ใบงาน ของอาจารย์ผู้สอน
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน  1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา  1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน  2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา  2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน  3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร  4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะปรับปรุงการสอนในข้อ 3. และผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4.  5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ