ผลิตภัณฑ์งานไม้

Wood Product

          เพื่อให้นักศึกษาได้รู้วิธีการใช้เครื่องจักรกลงานไม้ เครื่องมือ และการเลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการผลิตเครื่องเรือน สิ่งของตกแต่งภายในบ้าน โดยศึกษาการเขียนแบบเพื่อช่วยในการผลิต ศึกษาเทคนิคและกระบวนการกรรมวิธีการผลิตอย่างถูกต้อง
2.1 เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ  เครื่องจักรกลงานไม้วัสดุ อุปกรณ์ในการผลิตเครื่องเรือน สิ่งของตกแต่งภายในบ้าน โดยการใช้โครงสร้างผลิตภัณฑ์ไม้และวัสดุอื่นๆ
2.2 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจกระบวนการและกรรมวิธีการผลิตเครื่องเรือน
2.3 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจการเขียนแบบเพื่อช่วยการผลิตที่ถูกต้องและเหมาะสม
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร พื้นฐานการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเครื่องเรือน สิ่งของตกแต่งภายในบ้าน ประกอบด้วย โครงสร้างผลิตภัณฑ์ไม้และวัสดุอื่นๆ โดยเน้นรูปแบบประโยชน์ใช้สอยและเทคนิคกรรมวิธีการผลิต
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา แจ้งให้นักศึกษาทราบเกี่ยวกับห้องทำงาน  ตารางสอนเวลาว่างในแต่ละสัปดาห์
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
  พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
      1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต กตัญญูและเที่ยงธรรม
      2. มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบหน้าที่  มีความมุ่งมั่นในการทำงานให้สำเร็จ
      3. สุภาพอ่อนน้อม ถ่อมตน รู้จักกาละเทศะ ใจกว้าง เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
      4. มีน้ำใจ มีจิตอาสา จิตสาธารณะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
      5. มีความพอเพียง
      6. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
      7. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
   1.2.1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างเกี่ยวกับประเด็นทางคุณธรรม และ จริยธรรม
   1.2.2 อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี Role Mode
   1.2.3 สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับด้านคุณธรรม จริยธรรมเกี่ยวกับวิชาชีพในการครองตนและการศึกษาระหว่างสอน
   1.2.4 สอดแทรกประสบการณ์ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพและผลกระทบของการละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญาที่อาจเกิดขึ้นโดยนักออกแบบที่ไร้จรรยาบรรณ
   1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
   1.3.2   พฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียนและกิจกรรมที่สาขาฯจัดขึ้น
   1.3.3   สังเกตพฤติกรรมการทำงานเดี่ยวและกลุ่ม ร่วมกัน การแก้ปัญหา การเสียสละการบริหารจัดการงานส่วนรวม
2.1.1 มีความรู้ความเข้าใจหลักการเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ เครื่องจักรกลงานไม้ วัสดุและอุปกรณ์ ที่ใช้ในการผลิตชิ้นงานเครื่องเรือน การกำหนดรายละเอียดขั้นตอนการผลิต  ชิ้นส่วน ชิ้นงาน  ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ  เครื่องจักรกลงานไม้ 
2.1.2 มีความรู้เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากโจทย์ที่ได้รับมอบหมายได้
2.1.3 นักศึกษาได้เรียนรู้ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการออกแบบ สามารถผลิตได้จริง เน้นประโยชน์ใช้สอย ตอบสนองและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค
2.1.4 นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการออกแบบมาทำการออกแบบและผลิตจริง เลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยในงานออกแบบเครื่องเรือนและนำเสนอผลงาน
      
         1. เน้นการเรียนการสอนที่เป็น active learning
         2. การวิเคราะห์กรณีศึกษาและงานที่มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องนำมาสรุปผลและนำเสนอโดยใช้วิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem Based Learning)
         3. สาธิตการผลิตเฟอร์นิเจอร์
         4. นักศึกษาฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง
         5. บรรยายในชั้นเรียน ยกตัวอย่างและให้ปฏิบัติงาน
        2.3.1  การนําเสนอหน้าชั้นเรียนการสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
        2.3.2  ประเมินจากรายงานการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษา
        2.3.3  ประเมินจากการวิเคราะห์กรณีศึกษา
        2.3.4  ประเมินจากพฤติกรรมการทํางานอื่นๆ
                   การฝึกปฏิบัติงานจริงกับชิ้นงานที่กำหนดไว้ การแก้ไขปัญหาระหว่างการใช้เครื่องมือ เครื่องจักรกลงานไม้  ความปลอดภัยที่ต้องมีความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการใช้เครื่องมือ  เครื่องจักรกลงานไม้ที่มีความคม
   3.2.1  บรรยาย และการให้นักศึกษาปฏิบัติโครงงานที่ได้รับมอบหมายโดยศึกษาจากพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน
   3.2.2  วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาจากหลักการออกแบบเครื่องเรือน
   3.2.3  ฝึกตอบคำถามในชั้นเรียนแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา ระดมสมองในการแก้ปัญหา
   3.2.4  มอบหมายงานเดี่ยวและงานกลุ่ม
   3.2.5  การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
    3.3.1  ผลงานตลอดภาคเรียน
    3.3.2  การนําเสนอผลงาน
    3.3.3  การใช้ข้อสอบหรือแบบฝึกหัดที่ให้นักศึกษาคิดแก้ปัญหา
   4.1.1  พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
   4.1.2  พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
   4.2.1   มอบหมายงานรายกลุ่มเพื่อให้นักศึกษาได้ทำงานกับผู้อื่น และรายงานรายบุคคล
   4.2.2   กำหนดหน้าที่รับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนให้ชัดเจน
   4.2.3   การนำเสนอรายงาน
   4.3.1  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  การมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม
   4.3.2  ประเมินจากงานที่มอบหมาย  
   5.1.1  ทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา เพื่อศึกษาขนาด พฤติกรรมการใช้งานและพื้นที่ที่มีผลต่อการออกแบบเครื่องเรือนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
   5.1.2  พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง  การเขียน โดยทำรายงานการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
   5.1.3  พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
   5.1.4  ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
   5.2.1  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ โดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
   5.2.2  นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
   5.2.3  ใช้ Power Piont บรรยาย
            -  ฝึกทักษะการวิเคราะห์และแก้ปัญหาในกรณีเหตุการณ์สมมติ
            -  การแนะนำเทคนิคการสืบค้นและคัดเลือกแหล่งข้อมูล
   5.3.1  ตรวจสอบความถูกต้องของแนวคิด และวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้พื้นฐานความรู้ที่เรียนมา
   5.3.2  จากผลการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
   5.3.3  ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
   5.3.4  ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
   6.1.1 มีทักษะในการออกแบบเครื่องเรือนและสิ่งของตกแต่งภายในบ้าน
   6.1.2 มีทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ในการนำไปใช้ในการออกแบบเครื่องเรือน ได้อย่างเหมาะสมและตอบสนองการใช้งานต่อผู้บริโภค
   6.1.3  มีทักษะในการวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการในผลงานของตนเองและผู้อื่นเพื่อนำไปสู่การประยุกต์ในงานออกแบบได้
   6.2.1 บรรยายประกอบการยกตัวอย่างด้วยสื่อการสอนมัลติมีเดีย สาธิต การคิดวิเคราะห์ ถาม ตอบในชั้นเรียน
   6.2.2 มอบหมายงานให้ไปปฏิบัติงานในการออกแบบเพื่อฝึกทักษะ
   6.2.3 วิเคราะห์ วิพากษ์ผลงานของนักศึกษาแต่ละชิ้น เพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกันในชั้นเรียน
    ประเมินจากผลงานที่ได้ปฏิบัติงานของนักศึกษาที่ได้รับมอบหมาย ตามกระบวนการออกแบบ การปฏิบัติงานและการนำเสนอผลงาน 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 43000006 ผลิตภัณฑ์งานไม้
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ความรู้ - มีความรู้ ทักษะความสามารถในการออกแบบเครื่องเรือน 1. สอบกลางภาค สอบปลายภาค 2. คะแนนจากการประเมินงานที่ได้รับมอบหมาย 1 - 17 60 %
2 ทักษะทางปัญญา - มีความสามารถในการใช้ระบบคิดที่วิเคราะห์ และวิพากษ์ได้ - มีความสามารถในการประยุกต์ความรู้ที่ได้รับเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น - มีความสามารถในการประเมินและสรุปประเด็น - มีความสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง 1. สอบกลางภาค สอบปลายภาค 2. คะแนนจากการประเมินงานที่ได้รับมอบหมาย 1 - 17 20%
3 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ - มีจิตสำนึกต่อภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย - มีความสามารถในการปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม - มีความสามารถในการวางแผนและรับผิดชอบในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ 1. คะแนนส่วนร่วมในชั้นเรียน 2. คะแนนจากการประเมินงานที่ได้รับมอบหมาย 1-7,9-16 10%
4 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ - มีความสามารถเลือกทักษะทางภาษาและรูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสม - มีความสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรวบรวมข้อมูล ติดต่อสื่อสาร การจัดการและนำเสนอข้อมูลได้ - มีความสารถในการสืบค้นความรู้ทางวิชาการที่เกี่ยวกับออกแบบ 1. สอบกลางภาค สอบปลายภาค 2. คะแนนจากการประเมินงานที่ได้รับมอบหมาย 1-7,9-16 10 %
 
    1. สมนึก  วิสุทธิแพทย์. เทคโนโลยีเครื่องจักรกลงานไม้. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมพระนครเหนือ, 2540.
     2. ประณต  กุลประสูติ. เทคนิคงานไม้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.
    3. อุดมศักดิ์  สาริบุตร. ออกแบบเฟอร์นิเจอร์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2550.
    4. บุญสนอง รัตนสุนทรากุล. การออกแบบเฟอร์นิเจอร์เบื้องต้น. งานพิมพ์เอกสารตำรา สำนักงานคณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2553.
    5. พรทิพย์  เรืองธรรม. แบบจำลองปัจจัยภายในและภายนอกต่อการรับรู้และความต้องการรูปแบบเครื่องเรือนของผู้บริโภค. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. 2553.
   6. สถาพร ดีบุญมี ณ ชุมแพ. วิวัฒนาการเฟอร์นิเจอร์. กรุงเทพ ฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์, 2551.
   7. ต่อวงศ์ ปุ้ยพันธวงศ์. ตำราวิชาการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ 3. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. 2557.
   8. ธีะวัลย์  วรรธโนทัย. วิวัฒนาการเก้าอี้. สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตอุเทนถวาย, คณะวิชา ออกแบบ. 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาไว้ดังนี้
  1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
  1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชาตามแบบประเมินการสอนโดยมหาวิทยาลัยฯ
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
  2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้สอนร่วม
  2.2   การประเมินผลการเรียนของนักศึกษาโดยอาจารย์ผู้สอน
  2.3   การประเมินผลการเรียนและการปฏิบัติการของนักศึกษาโดยอาจารย์ผู้สอน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
   3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
   3.2 การนำผลงานวิจัยและงานบริการวิชาการ  งานสร้างสรรค์ มาบูรณาการกับการเรียนการสอน
   3.3 การนำผลประเมินจาก มคอ.5 และ มคอ.7 มาปรับปรุงในการเรียนการสอน
   3.4 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลกาทดสอบย่อยและหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
   4.1  ตรวจสอบความรู้ของนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ โดยการสอบถามนักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นระหว่างเรียน
   4.2   กลุ่มอาจารย์ผู้สอน ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบ วิธีการให้คะแนนสอบ ผลงานของนักศึกษา การให้คะแนนพฤติกรรมในการเรียนและการส่งงานของนักศึกษา
   4.3  อาจารย์ในสาขามีการประชุมหารือร่วมกันเพื่อทวนสอบการให้คะแนนของรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
   5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
   5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์
   5.3   อาจารย์ผู้สอนดำเนินการปรับปรุงรายละเอียดวิชา (มคอ.3) ตามแนวทางที่ได้จากการประเมินผล และนำผลการประเมิน ข้อคิดเห็นต่างๆ มาพัฒนาเนื้อหาสาระ ปรับปรุงสื่อการสอน รายละเอียดการสอนให้มีเนื้อหาที่ทันสมัยอยู่เสมอ