แคลคูลัส 2 สำหรับวิศวกร

Calculus 2 for Engineers

1. เข้าใจพิกัดเชิงขั้วและสมการอิงตัวแปรเสริม 2. นำฟังก์ชันค่าเวกเตอร์ของหนึ่งตัวแปร  การหาอนุพันธ์  และการหาปริพันธ์ไปใช้ 3. เข้าใจระนาบและผิวในสามมิติ 4. แก้ปัญหาอนุพันธ์ย่อยและบทประยุกต์ 5. แก้ปัญหาปริพันธ์สองชั้นและการประยุกต์ 6. แก้ปัญหาปริพันธ์สามชั้นและการประยุกต์ 7. นำไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพและเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ
ศึกษาเกี่ยวกับพิกัดเชิงขั้วและสมการอิงตัวแปรเสริม  เวกเตอร์ในปริภูมิสามมิติ ฟังก์ชันค่าเวกเตอร์ของตัวแปรจริง  การหาอนุพันธ์และปริพันธ์ของฟังก์ชันค่าเวกเตอร์ของตัวแปรจริงและการประยุกต์  เส้น  ระนาบ  และผิวในปริภูมิสามมิติ  แคลคูลัสของฟังก์ชันค่าจริงสองตัวแปรและการประยุกต์  แคลคูลัสของฟังก์ชันค่าจริงหลายตัวแปรและการประยุกต์
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) โดยการติดประกาศไว้ที่บอร์ดหน้าห้องพักอาจารย์
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
     1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม    1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ    1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม    1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2 วิธีการสอน
     1.2.1 ให้ความสำคัญในวินัย  การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด    1.2.2 สอดแทรกการมีจิตสำนึกสาธารณะระหว่างการเรียนการสอน เช่น การดูและรักษาความสะอาดห้องเรียน    1.2.3 ยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม  และจรรยาบรรณทางวิชาชีพ    1.2.4 ทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาเกี่ยวกับกฎระเบียบต่าง ๆ ในชั้นเรียน
1.3 วิธีการประเมินผล
     1.3.1 การขานชื่อ  การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียน  และการส่งงานตรงเวลา    1.3.2สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง  โดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมของนักศึกษาโดยอาจารย์ผู้สอน
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
     2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับฟังก์ชัน  ลิมิตและความต่อเนื่อง  การหาอนุพันธ์   รูปแบบยังไม่กำหนด  การประยุกต์ของอนุพันธ์   การหาปริพันธ์เทคนิคการหาปริพันธ์   การประยุกต์ของปริพันธ์จำกัดเขต และพีชคณิตเวกเตอร์ในสามมิติ  และหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา    2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา    2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
   
2.2 วิธีการสอน
     2.2.1 บรรยาย อภิปรายในชั้นเรียน    2.2.2 ใช้การสอนหลายรูปแบบ  โดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและการปฏิบัติ    2.2.3 มอบหมายให้ทำงาน  ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม  พร้อมทั้งสรุปและนำเสนอ    2.2.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาทางด้านวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียน
 
2.3 วิธีการประเมินผล
 2.3.1 การทดสอบย่อย  ทดสอบกลางภาค  ทดสอบปลายภาค    2.3.2 พิจารณาให้คะแนนจากงานที่มอบหมาย    2.3.3 พิจารณาให้คะแนนการจากนำเสนองาน
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
   3.1.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ    3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
3.2 วิธีการสอน
     3.2.1 บรรยาย อภิปรายในชั้นเรียน    3.2.2 มอบหมายให้ทำงาน  ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม  พร้อมทั้งสรุปและนำเสนอ    3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษาทางด้านวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียน 
3.3 วิธีการประเมินผล
     3.3.1 การทดสอบย่อย  ทดสอบกลางภาค  ทดสอบปลายภาค    3.3.2 พิจารณาให้คะแนนจากงานที่มอบหมาย    3.3.3 พิจารณาให้คะแนนการจากนำเสนองาน 
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
     4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี    4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ    4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม    4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2 วิธีการสอน
     4.2.1 มอบหมายงานเป็นกลุ่ม  โดยให้หมุนเวียนกันเป็นผู้นำ  และผู้นำเสนอ    4.2.2 ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับในงานกลุ่ม    4.2.3 ส่งเสริมการเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น
4.3 วิธีการประเมินผล
     4.3.1 พิจารณาให้คะแนนจากงานที่มอบหมาย    4.3.2 พิจารณาให้คะแนนการจากนำเสนองาน       4.3.3 สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำงานเป็นกลุ่ม
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
     5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม    5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม    5.1.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2 วิธีการสอน
     5.2.1 มอบหมายงานค้นคว้าองค์ความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ    5.2.2 กำหนดให้นักศึกษานำเสนองาน  โดยใช้รูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับเนื้อหา
5.3 วิธีการประเมินผล
   5.3.1 พิจารณาให้คะแนนจากงานที่มอบหมาย    5.3.2 พิจารณาให้คะแนนการจากนำเสนองาน   
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะ พิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 FUNMA106 แคลคูลัส 2 สำหรับวิศวกร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.3 การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียน และการส่งงานตรงเวลา ทุกสัปดาห์ 4%
2 1.1.1, 1.1.3 สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมของนักศึกษาโดยอาจารย์ผู้สอน ทุกสัปดาห์ 4%
3 2.1.1, 2.1.3, 3.1.1, 3.1.2 ทดสอบกลางภาค 9 40%
4 2.1.1, 2.1.3, 3.1.1, 3.1.2 ทดสอบปลายภาค 18 40%
5 2.1.1, 2.1.3, 3.1.1, 3.1.2, 4.1.3, 5.1.2 1. พิจารณาให้คะแนนจากงานที่มอบหมาย 2. พิจารณาให้คะแนนการจากนำเสนองานโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 3. สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำงานเป็นกลุ่ม 4. มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อค้นคว้าเนื้อหาที่เรียน 2-8, 11-16 12%
1.  เอกสารประกอบการเรียน, “แคลคูลัส  2 สำหรับวิศวกร”, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 2. Anton Howard, “Calculus with Analytic Geometry”, Seventh Edition, 2002
1. โทมัส , จอร์จ  .   แคลคูลัส  เกียรติฟ้า  ตั้งใจจิต  และคณะ    กรุงเทพฯ  เพียร์สัน  เอ็ดดูเคชั่น  อินโด ไชน่า  ,  2548          2. John Thomas, Thomas’ Calculus, Pearson education Indochina ltd , 2005. Monty J. Strauss, Gerald L. Bradley and Karl J.Smith., Calculus. 3rd Edition, Prentice Hall Inc., 2002.          3. Kreyszig, Erwin. Advance Engineering Mathematics. 6 th ed. New york: John Wiley andSons. Inc., 1988 .          4. Mendelsons, Elliott, Schaum' s 3000 solved problems in Calculus. New york : McGraw - Hill  Book Company, 1988 .