การประลองทางวิศวกรรมเครื่องกล 2

Mechanical Engineering Laboratory 2

เพื่อให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับของไหลและความร้อน เช่น ปั๊ม กังหัน การไหลของของไหล การสูญเสียเนื่องจากการไหล การนำความร้อน การพาความร้อน การแผ่รังสี การทำความเย็นและการปรับอากาศ เครื่องอัดอากาศ การหาค่าความร้อนเชื้อเพลิง สมรรถนะเครื่องยนต์ และการ วิเคราะห์แก๊สไอเสีย
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ในการฝึกปฏิบัติการ ของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรมเครื่องกล
ฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับของไหลและความร้อน เช่น ปั๊ม กังหัน การไหลของของไหล การสูญเสียเนื่องจากการไหล การนำ ความร้อน การพาความร้อน การแผ่รังสี การทำความเย็นและการปรับอากาศ เครื่องอัดอากาศ การหาค่าความร้อนเชื้อเพลิง สมรรถนะเครื่องยนต์และการวิเคราะห์แก๊สไอเสีย
- อาจารย์ประจำรายวิชาจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (ช่วงเวลาชั่วโมงกิจกรรม) - อาจารย์ประจำรายวิชาให้คำปรึกษาผ่านกลุ่มไลน์
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับ ต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.2 วิธีการสอน
ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ปฏิบัติตามกฎกติกาที่กำหนดหรือได้ตกลงกันไว้ มีการปลูกฝังความรับผิดชอบให้นักศึกษา ตั้งแต่การเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา การส่งงานตามกำหนดเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย การทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์ โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น
1.3 วิธีการประเมินผล
ประเมินจาการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกําหนด ระยะเวลาที่มอบหมาย และการร่วมกิจกรรม การมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
- มีความรู้และเข้าใจทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมพื้นฐาน - เข้าใจเกี่ยวกับหลักการในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของวิชาเฉพาะทาง วิศวกรรมเครื่องกล - สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิศวกรรมเครื่องกลได้ - สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ - สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิศวกรรมเครื่องกลในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
อธิบายทฤษฎี หลักการที่เกี่ยวข้อง สาธิต และมอบหมายให้นักศึกษาทดลอง
2.3 วิธีการประเมินผล
ประเมินจาการนำเสนอผลการทดลอง
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
- มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี - สามารถรวบรวม วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมเครื่องกลได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ - สามารถคิด วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลได้ -ปรับใช้องค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลอย่างเหมาะสม - พัฒนาความรู้ได้ด้วยตนเอง
3.2 วิธีการสอน
อธิบายทฤษฎี หลักการที่เกี่ยวข้อง สาธิต และมอบหมายให้นักศึกษาทดลอง
3.3 วิธีการประเมินผล
- สอบกลางภาคและปลายภาค - การนำเสนอ - การสังเกตุการทำงาน
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและผู้อื่น
4.2 วิธีการสอน
ใช้วิธีการสอนแบบเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็น เพื่อฝึกการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยเหตุผล
4.3 วิธีการประเมินผล
ประเมินจากการสังเกต และการถามตอบ การทำงานเป็นกลุ่ม
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.2 วิธีการสอน
ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูล และนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง และให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
5.3 วิธีการประเมินผล
ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ตาม มคอ.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 17 35% 35%
2 ตาม มคอ.2 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา ตลอดภาคการศึกษา
3 ตาม มคอ. การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
คู่มือการทดลองของแต่ละการทดลอง
 
ตามที่ได้รับมอบหมายในแต่ละครั้ง
เอกสารประกอบการสอนรายสัปดาห์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในห้องเรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บไซท์ราชาวิชา ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีสรุปและวางแผนการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการสอบและหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ