การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2

Computer Programming 2

1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้างได้ 2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถเขียนโปรแกรมเรียกตัวเองได้ 3. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจเทคนิคการทดสอบ การค้นหาและการแก้ไขส่วนผิดพลาดในโปรแกรม 4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถเขียนโปรแกรมเพื่อค้นหาข้อมูลและเรียงลำดับข้อมูลในหน่วยความจำหลัก
 
เพื่อให้นักศึกษามีทักษะการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง โปรแกรมเรียกตัวเอง การค้นหาข้อมูลและเรียงลำดับข้อมูลในหน่วยความจำหลัก รวมถึงสามารถค้นหาและแก้ไขส่วนผิดพลาดในโปรแกรมได้
ศึกษารูปแบบของภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม พอยน์เตอร์และการเขียนโปรแกรม แนวคิดการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง การเขียนโปรแกรมเรียกตัวเอง เทคนิคการทดสอบ การค้นหาและการแก้ไขส่วนผิดพลาดในโปรแกรม การค้นหาข้อมูลและการเรียงลำดับขอมูลในหน่วยความจำหลัก
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่ละเมิดลิขสิทธิทางปัญหา มีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้ 1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 2. มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 3. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม 4. เคารพสิทธิและรับฟังควมคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 5. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 6. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1. อาจารย์ผู้สอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพในการสอน 2. กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย 3. เน้นการเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและการแต่งกายให้เป็นตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 4. มอบหมายงานกลุ่มที่เสริมสร้างการวางแผนการทำงาน การทำงานเป็นทีม การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1. การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 2. การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการเข้าร่วมกิจกรรม 3. การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และการมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
1. มีความรู้ความเข้าใจแนวคิดการเรียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง 2. มีความรู้การเขียนโปรแกรมด้วยการใช้พอยน์เตอร์ 3. มีความรู้การเรียนโปรแกรมเรียกตัวเอง 4. มีความรู้การเขียนโปรแกรมเพื่อค้นหาข้อมูลในหน่วยความจำหลัก 5. มีความรู้การเขียนโปรแกรมเพื่อเรียงลำดับข้อมูลในหน่วยความจำหลัก 6. มีความรู้การทดสอบ การค้นหา และการแก้ไขส่วนผิดพลาดในโปรแกรม
1. จัดให้มีการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติตามใบงาน 2. ฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง
1. สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง 2. ประเมินจากผลงานการทำแบบฝึกหัดและการฝึกปฏิบัติ 3. ประเมินความรับผิดชอบในการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย
1. คิดและจำอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ 2. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหา 3. สามารถประยุกต์ความรู้การเขียนโปรแกรมได้อย่างเหมาะสม
1. มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าตามหัวข้อที่กำหนดให้ 2. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการเขียนโปรแกรม 3. สาธิตตัวอย่างและกรณีศึกษา
1. สอบกลางภาคและสอบปลายภาค 2. ประเมินจากงานที่มอบหมาย
1. พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน 2. พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม 3. พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
1. จัดการเรียนการสอนที่เน้นการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย 2. สอดแทรกความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย
1. ประเมินความรับผิดชอบตามงานที่ได้รับมอบหมาย
1. พัฒนาทักษะการคิดคำนวณเชิงตัวเลข 2. พัมนาทักษะการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน 3. พัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
1. มอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ 2. นำเงอนงานโดยใช้รูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน 2. ประเมินจากงานและการนำเสนองานด้วยสื่อเทคโนโลยี
1. สามารถเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง 2. สามารถเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้างตามข้อกำหนด
1. แสดงและฝึกปฏิบัติตามตัวอย่าง 2. มอบหมายงานให้นักศึกษา
1. พิจารณาจากงานที่มอบหมายให้นักศึกษา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สัปดาห์ที่ 1-4 , สัปดาห์ที่ 1-7 , สัปดาห์ที่ 9-16 ทดสอบย่อย , สอบกลางภาค , สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 4 , สัปดาห์ที่ 8 , สัปดาห์ที่ 13 , สัปดาห์ที่ 17 ทดสอบย่อย 20% (ครั้งละ 10%) , สอบกลางภาค 25% , สอบปลายภาค 25%
2 สัปดหา์ที่ 1-16 การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 15%
3 สัปดาห์ที่ 1-16 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม การถามตอบ การเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน การแต่งกายและความประพฤติ ตลอดภาคการศึกาา 15%
วิษณุ ช้างเนียม. (ม.ป.ป.). คู่มือเรียนโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม. ปิยทัสน์ ฉัตรวรวิทย์. (2552). คู่มือเรียนโครงสร้างข้อมูลด้วย Java
เว็บไซต์ทั่วไปที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง การค้นหาและการเรียงลำดับข้อมูล
1. การสังเกตจากพฤติกรรมของผู้เรียน 2. แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา 3. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอนระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1. การสังเกตการสอน 2. ผลการเรียนของนักศึกษา 3. การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้  1. สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 2. การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาได้จาก การสอบถามนักศึกษาหรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และการให้คะแนนพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำงาน
จาผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา ด้วยการปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4