การวางผังโรงงาน

Industrial Plant Layout and Design

1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจความหมายของกระบวนการออกแบบโรงงานอุตสาหกรรม 1.2 เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจหลักการวางแผนสำหรับการผลิตและการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งโรงงาน  1.3 เพื่อให้นักศึกษามีความสามารถในวิธีการวิเคราะห์การออกแบบและการตัดสินใจ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ที่ทันสมัยในกระบวนการการออกแบบโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมทั้งวางแผนการผลิตการเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานและคิดวิเคราะห์ออกแบบวิธีการของโรงงานอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจากการเรียนรู้ ณ โรงงานอุตสาหกรรมและระบบขนส่งจริง
ศึกษาหลักในการออกแบบและปรับปรุงโรงงานอุตสาหกรรม ศึกษาเทคนิคการออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบกระบวนการผลิต การวิเคราะห์ความต้องการเครื่องจักรที่สอดคล้องกับกระบวนการผลิตและปริมาณการผลิต ลักษณะของการจัดผังโรงงานในแบบต่างๆ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางด้านการไหลของงาน ตลอดจนการวางแผนการจัดอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนงานด้านการผลิตและกำลังคน การวิเคราะห์ทำเลที่ตั้ง การวิเคราะห์และเลือกใช้อุปกรณ์ ขนถ่ายลำเลียงวัสดุ หลักการออกแบบโรงงานเบื้องต้นเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม การออกแบบคลังพัสดุและระบบโลจิสติกเบื้องต้น การวิเคราะห์และตัดสินใจในการวางผังโรงงานอุตสาหกรรม กฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์และออกแบบผังโรงงาน ตลอดจนการศึกษาดูงานในสถานประกอบการจริง
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม 3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม  สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ 4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
 วิธีการสอน
1 ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด 2 สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม .3 สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรม 4 ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับขององค์กรและสังคม
วิธีการประเมินผล
1   การขานชื่อ การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงเวลา 2   สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆอย่างต่อเนื่อง 3   ประเมินปริมาณการทุจริตในการสอบ 4   ประเมินผลจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
ความรู้ที่ต้องได้รับ
1    เข้าใจและวิเคราะห์หลักการและทฤษฎีพื้นฐานด้านอุตสาหการ 2    สามารถนำไปประยุกต์ในกิจกรรมด้านอุตสาหการได้ 3    เข้าใจและวิเคราะห์หลักการของศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหการ  เช่น หลักเศรษฐศาสตร์ หลักกฎหมาย หลักการจัดการ เป็นต้น
วิธีการสอน
1   ใช้การสอนหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักทางทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ 2   ให้นักศึกษาปฏิบัติการทางด้านอุตสาหการโดยการนำหลักทางทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ 3   มอบหมายให้ทำรายงานเรื่องวิเคราะห์หลักการของศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหการ
วิธีการประเมินผล
1  ทดสอบย่อย 2  การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 3  ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ 4  ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
1   มีความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์โดยใช้หลักการที่ได้เรียนมาตลอดจนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ในสถานการณ์จริง 2   สามารถแก้ปัญหาทางอุตสาหการได้โดยนำหลักการต่างๆ มาอ้างอิงได้อย่างเหมาะสม 3   มีความใฝ่หาความรู้
วิธีการสอน
1   มอบหมายงานที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์และสังเคราะห์ 2   ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา 3   การศึกษา ค้นคว้า และรายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
วิธีการประเมินผล
1   ประเมินจากผลงานที่มอบหมาย 2   ประเมินจากรายงานผลการดำเนินงานและการแก้ปัญหา 3   ประเมินจากผลงานการศึกษา ค้นคว้า และรายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
1   สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี 2   มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย 3   สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี 4   มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป 5   มีภาวะผู้นำ
วิธีการสอน
1   ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังผู้อื่นด้วยเหตุผล 2   ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับในงานกลุ่ม 3   ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ 4   ใช้วิธีการสอนแบบเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นเพื่อฝึกการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยเหตุผล 5   กำหนดการทำงานกลุ่มโดยให้หมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่มและผลัดกันเป็นผู้รายงาน
วิธีการประเมินผล
1   ประเมินผลจากแบบประเมินตนเองและกิจกรรมกลุ่ม 2   ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะ พร้อมบันทึกพฤติกรรมเป็นรายบุคคล 3   สังเกตผลจากการายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา 4   สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง 5   สังเกตพฤติกรรมภาวการณ์เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
1  มีทักษะการใช้ภาษาไทยในการอธิบายหลักการและสถานการณ์ตลอดจนการสื่อสารความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2   สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอรายงาน 3   มีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และสถิติในอันที่จะวิเคราะห์สถานการณ์ตลอดจนนำเสนอข้อมูลโดยใช้คณิตศาสตร์หรือสถิติ 4   ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้
วิธีการสอน
1   มอบหมายงานค้นคว้าองค์ความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ และให้นักศึกษานำเสนอหน้าชั้นเรียน 2   การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมาย 3   ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข
วิธีการประเมินผล
1   สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผลและมีการบันทึกเป็นระยะ 2   ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงาน
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.1,1.1.2 2.1.1-2.1.3 2.1.1-2.1.3 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค 6 9 18 5% 35% 30%
2 1.1.3,1.1.4, 2.1.1,2.1.3 3.1.3,4.1.1, 4.1.2,4.1.4, 4.1.5 1.1.2 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอรายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 15%
3 1.1.2,1.1.4 3.1.1,3.1.2, 4.2.4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
ศิษฎา  สิมารักษ์ เอกสารประกอบการสอนวิชา การออกแบบโรงงานอุตสาหกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2548.  สมศักดิ ตรีสัตย์ การวางผังโรงงาน สำนักพิมพ์ ส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), สนพ. สมาคม, 2547.
ไม่มี
ไม่มี
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ