การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน

Pre Professional Experience

      1. เข้าใจบทบาท และ หน้าที่ครู
      2. เข้าใจกระบวนการถ่ายทอดความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
      3. สามารถทำหน้าที่ครูได้
      4. เห็นความสำคัญของการฝึกปฏิบัติวิชาชีพครูระหว่างเรียน
เพื่อให้นักศึกษาได้รับการฝึกประสบการณ์ที่ครูพึ่งมี ได้แก่ การเตรียมการสอน การสอน การวัดประเมินผล การสื่อสารกับผู้อื่นและการค้นหาปัญหางานวิจัย พร้อมหาวิธีการแก้ไขปัญหางานวิจัย ภายใต้กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นปฏิบัติการเกี่ยวกับการฝึกทักษะการสังเกตการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาทฤษฎีและปฏิบัติ การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองและมีวัตถุประสงค์การสอนที่หลากหลาย การทดลองสอนรายวิชาทฤษฎีและปฏิบัติในสถานการณ์จำลองและสถานการณ์จริง การฝึกแก้ปัญหาให้ผู้เรียนที่เกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติการทดลอง การออกแบบใบงานการทดลอง การตรวจใบงานการทดลอง การออกแบบทดสอบ ข้อสอบหรือเครื่องมือวัดผล การตรวจข้อสอบ การให้คะแนนและการตัดสินผลการเรียน การสอบภาคปฏิบัติและการให้คะแนน การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียน การพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพ อย่างเป็นระบบ
         ปฏิบัติการเกี่ยวกับการฝึกทักษะการสังเกตการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาทฤษฎีและปฏิบัติ การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองและมีวัตถุประสงค์การสอนที่หลากหลาย การทดลองสอนรายวิชาทฤษฎีและปฏิบัติในสถานการณ์จำลองและสถานการณ์จริง การฝึกแก้ปัญหาให้ผู้เรียนที่เกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติการทดลอง การออกแบบใบงานการทดลอง การตรวจใบงานการทดลอง การออกแบบทดสอบ ข้อสอบหรือเครื่องมือวัดผล การตรวจข้อสอบ การให้คะแนนและการตัดสินผลการเรียน การสอบภาคปฏิบัติและการให้คะแนน การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียน การพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพ
-   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์ของสาขาวิชาและหน้าห้องพัก
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ    1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
    นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละรายวิชา  ต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่าง ๆ ดังนี้
            1.1.1  มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม  
                    (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.1)
            1.1.2  มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ  (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2)
            1.1.3  มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม     
                    (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3)
            1.1.4  เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.4)
  กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
1.3.1  ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด    ระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2  ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริม  หลักสูตร
1.3.3  ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.4  ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1.3.5  ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความ  รับผิดชอบของนักศึกษา
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษาซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะอันเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมดังนี้
2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 
        (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1)
           2.1.2  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 
                  (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.2)
           2.1.3  สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                   (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.3)
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์ทางปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ คือ
           2.3.1  การทดสอบย่อย
           2.3.2  การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
           2.3.3  ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
           2.3.4  ประเมินจากโครงการที่นำเสนอ
           2.3.5  ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
           2.3.6  ประเมินจากรายวิชาปฎิบัติการสอนในสถานศึกษา
          3.1.1  มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ และวิชาชีพ 
                  (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.1)
          3.1.2  มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ  (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.2)
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  และการบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work-Integrated Learning)  มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้บทบาทสมมติสถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษาของแต่ละสาขาวิชาชีพเพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้องและเน้นให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติจริง
การวัดและประเมินใช้แนวข้อสอบที่ให้นักศึกษาได้อธิบายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา หรือให้นักศึกษาเลือกใช้วิชาชีพที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำหนดให้ตามสภาพจริงจากผลงาน โครงงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น
         3.3.1 บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง 
         3.3.2 การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ใขปัญหาในบริบทต่าง ๆ 
         3.3.3 การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน 
         3.3.4 การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์
4.1.1  มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี  (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.1)
4.1.2  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ  (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.2)
4.1.3  สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม  (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.3)
4.1.4  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.4)
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ดัานทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้
           4.2.1  สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
           4.2.2  มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
           4.2.3  สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
           4.2.4  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
           4.2.5  มีภาวะผู้นำ
การวัดและประเมินผลทำได้โดยการสังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมกลุ่ม ทั้งในและนอกชั้นเรียน และผลสะท้อนกลับจากการฝึกประสบการณ์ต่าง ๆ เช่น
         4.3.1  พฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน
         4.3.2  พฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
 5.1.1  สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม  (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.1)
 5.1.2  สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม  (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.2)
  5.1.3  สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.3)
5.2.1  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
5.2.2  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาข้อมูล
 5.2.3  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนำเสนอผลงาน
 5.2.4  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับขนบธรรมเนียมปฏิบัติของสังคม
                     แต่ละกลุ่ม
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้
            5.3.1  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร
            5.3.2  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล
             5.3.3  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
             5.3.4  จรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
     6.1.1  มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ  (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1)
     6.1.2  สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ปฏิบัติตามรูปแบบการสอน ประยุกต์วิธีการสอนใด้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม  (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.2)
           6.2.1 สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
           6.2.2  สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
           6.2.3  สนับสนุนการเข้าประกวดทักษะด้านการปฏิบัติ
           6.2.4  จัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา
           6.2.5  สนับสนุนการทำโครงงาน
           6.2.6  การปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
            6.3.1 มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
            6.3.2 มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน
            6.3.3 มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
            6.3.4 มีการประเมินโครงงานนักศึกษา
             6.3.5  มีการประเมินนักศึกษาการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ด้านทักษะทางปัญญา 4.ความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขฯ ุ6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 TEDCC814 การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ความถูกต้องสมบูรณ์ของการจัดทำดังต่อไปนี้ - ลักษณะรายวิชา - เอกสารประกอบการสอน - สื่อการเรียนการสอน - การบันทึกคู่มือการฝึกวิชาชีพระหว่างเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10% 10% 10
2 - เทคนิคและวิธีการถ่ายทอดความรู้ - การสื่อสารการใช้ภาษา - ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 บุคลิกภาพความเป็นครู สังเกตจาก - ความมุ่งมั่น ตั้งใจ - ความรับผิดชอบ - การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี - การสร้างกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียนให้กับนักศึกษา ตลอดภาคการศึกษา 20%
4 การใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นความรู้ ตลอดภาคการศึกษา 10%
5 ผลการแก้ปัญหาในชั้นเรียนด้วยงานวิจัย 6 -16 10%
         1.  กฤษมันต์  วัฒนาณรงค์. เทคโนโลยีเทคนิคศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2536.
         2.  กิดานันท์  มลิทอง. ผศ. สื่อการสอนและฝึกอบรมจากสื่อพื้นฐานถึงสื่อดิจิตอล. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดอรุณการพิมพ์ , 2544.
         3.  ยุทธพงษ์  ไกยวรรณ. เทคนิคและวิธีการสอน. กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์ดีจำกัด, 2541.
         4.  ไพโรจน์  ตีรณธนากุล. รศ. วิธีสอนวิชาทฤษฏี. กรุงเทพฯ :  บริษัทพิมพ์ดีจำกัด, 2542.
         5.  สุชาติ  ศิริสุขไพบูลย์. ผศ. เทคนิคและวิธีการสอนวิชาชีพ. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2527.
         6.  สุรพันธ์  ตันศรีวงษ์. วิธีการสอน. กรุงเทพฯ : บริษัทสกายบุ๊กส์ จำกัด, 2538.
         7.  วัลลภ  จันทร์ตระกูล. ผศ.  สื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2543.
-
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
4.2  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงเทคนิควิธีการสอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ
5.2   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4