วิทยาการคอมพิวเตอร์ในชุมชน สถานประกอบการ และองค์กร

Computer Science in Community, Company and Coperation

ศึกษาค้นคว้าปัญหาและเรื่องที่สนใจทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ฝึกการทำงานทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่ม รวบรวม เรียบเรียง และสรุปข้อคิดเห็นเพื่อนำเป็นข้อเสนอต่อที่ประชุมกลุ่มสัมมนา
เพิ่มเนื้อหาส่วนการใช้ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาปรับใช้ในงานที่ได้รับมอบหมาย เพิ่มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่นสื่อทางอินเทอร์เน็ต มาช่วยในการค้นคว้า และนำเทคโนโลยีมัลติเมียมาช่วยในการนำเสนองาน
บูรณาการด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์กับสถานประกอบการ หน่วยงานชุมชน หรือองค์กรภายนอก ที่สร้างนวัตกรรม เทคโนโลยี และนำคอมพิวเตอร์ไปใช้แก้ไขปัญหา เพื่อเข้าใจ มีความรู้และทักษะ แรงจูงใจ และคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพ และใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกสายวิชาชีพเฉพาะทาง โดยการเยี่ยมชมสถานที่จริง และมีการอภิปรายร่วมกัน
Integrate computer science in community company and cooperation, local organization or external organization that create innovation and technology. Using Computer to solve problem that lead to understand knowledge and skill motivation and required characteristic for career and skills that need to be specialize. To discuss collaborative group.
6
˜1.1 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
˜1.2 มีวินัยตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเองวิชาชีพและสังคม
˜1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามสามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
˜1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
˜1.5 เคารพกฏระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
˜1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
š1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
สอดแทรกกฏระเบียบการแต่งกายของนักศึกษาที่ถูกต้อง สอดแทรกให้นักศึกษาตระหนักถึงความรับผิดขอบในการทำงานเป็นทีม สอนให้นักศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม ในการนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ในงานของตนเอง โดยต้องมีการอ้างอิงให้ถูกต้อง
การประเมินจากความรับผิดขอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย การประเมินจากความตรงเวลาในการส่งงาน และการร่วมกิจกรรม การประเมินจากวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
š2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
˜2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์
˜2.3 มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ
˜2.4 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์กับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
˜2.5 รู้ เข้าใจ และสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์ต่อเนื่อง
˜2.6 มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ
š2.7 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
š2.8 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์กับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
สอบถามความก้าวหน้าการทำงานที่ได้รับมอบหมาย การศึกษาดูงานและหรือเชิญวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญมาบรรยาย เฉพาะเรื่อง การศึกษาที่เน้นค้นคว้าด้วยตนเองจากสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ลงพื้นที่ปฏิบัติงานจริง
การสังเกตพฤติกรรมและประเมินความเข้าใจในเนื้อหาที่นำมาเสนอ ประเมินจากการนำเสอนหน้าชั้นเรียน
š3.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
š3.2 สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศเพื่อให้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
˜3.3 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
˜3.4 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
การมอบหมายงานหรือกรณีศึกษาที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์และแก้ไขปัญหา การศึกษาค้นคว้าการเขียนรายงานและการนำเสนอผลงาน การสอนแบบตั้งคำถาม และแลกเปลี่ยน ซักถามตอบ
การประเมินจากการตอบคำถามในห้องเรียน การประเมินจากการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
˜4.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
š4.2 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
˜4.3 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
š4.4  มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
š4.5 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
š4.6 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
การมอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล แนะนำการติดต่อประสานงานกับสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ได้รับมอบหมาย
การประเมินจากโครงงานกลุ่มที่นำเสนอ การประเมินจากการแบ่งงาน ความรับผิดชอบ ภายในกลุ่ม
š5.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
˜5.2 สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
˜5.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
˜5.4 สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่ออย่างเหมาะสม
ยกตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ แล้วสอนให้เรียนรู้เทคนิคต่างๆ ในการนำมาใช้งาน การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูล โดยใช้คำสำคัญที่เกี่ยวข้อง การมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์ การนำเสนองานด้วยวิธีวาจา
การประเมินจากรายงานและรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี การประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 1 2 3
1 BSCCS105 วิทยาการคอมพิวเตอร์ในชุมชน สถานประกอบการ และองค์กร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1. คุณธรรมและจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา การเข้าชั้นเรียน 1-16 10%
2 2. ความรู้ 2.ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การมีส่วนร่วมสัมมนาและร่วมแสดงความคิดเห็น 1-16 10%
3 1. คุณธรรมและจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนองานภาคบรรยาย 4-7, 9-11 30%
4 1. คุณธรรมและจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนองานภาคโปสเตอร์ 14-15 30%
5 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การค้นคว้า หาข้อมูลจากแหล่งวิชาการต่างๆ บทความวิชาการและหรือรายงานที่นำส่ง 1-16 20%
คู่มือปัญหาพิเศษ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงและปริญญาตรี
ความรู้ทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ศึกษาข้อมูลผ่านเว็บไซด์ในหัวข้อที่นักศึกษาสนใจ
1.1 ซักถามในชั้นเรียน จากการลงพื้นที่หน่วยงาน
1.2 เข้าร่วมฟังการบรรยายจากวิทยากร
1.3 พิจารณารายงานสรุปการลงพื้นที่แต่ละครั้ง
1.3 ประเมินผลจากหัวข้อที่นักศึกษานำเสนอโครงร่าง
ประเมินจากหัวข้อที่นักศึกษานำเสนอโครงร่าง
ไม่มี
หัวข้อโครงร่างที่นักศึกษานำเสนอ
ไม่มี