การวิเคราะห์และออกแบบขั้นตอนวิธี

Analysis and Design of Algorithms

ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับคอมบิเนทอริคส์ อัลกอริธึมสำหรับเซตลำดับและไม่ลำดับ เข้าใจและมีความรู้เกี่ยวกับกราฟเมตริกซ์ บิทเวกเตอร์ การวิเคราะห์เลขจำนวน มีความรู้เกี่ยวกับอัลกอรึธึมสำหรับการคำนวณ เลขจำนวนเต็ม เลขจำนวนจริง โพลิโนเมียล เลขสุ่ม การปฏิบัติของเมตริกซ์ เข้าใจและปฏิบัติการเขียนโปรแกรมระบบอัลกอริทึม มีความรู้เกี่ยวกับการพิสูจน์ทฤษฎี และการแก้ปัญหาเทคนิคโดเมนอิสระ
เพิ่มเนื้อหาส่วนการปฏิบัติการและใบงานมากขึ้น เพื่อการประยุกต์ใช้ความรู้ทางทฤษฎี แล้วนำไปปฏิบัติ ซึ่งทำให้นักศึกษามีความเข้าใจมากขึ้น เพิ่มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่นสื่อการสอนในรูปแบบภาษาอังกฤษ เพื่อให้นักศึกษาได้ค้นหาเนื้อหาเพิ่มเติมมากขึ้น
การทำงานของอัลกอริทึม พื้นฐานของการแปลภาษาโปรแกรม แนวทางที่เป็นไปได้สำหรับการกำหนดวิธีการวัดประสิทธิภาพของอัลกอริทึมในแต่ละประเภท การออกแบบและการใช้งานอัลกอริทึมแบบเรียกตัวเอง อัลกอริทึมเกี่ยวกับการใช้โครงสร้างข้อมูล อัลกอริทึมสำหรับการจัดเรียงข้อมูลและการค้นหาข้อมูล การคำนึงระยะเวลาและคำสั่งที่ใช้ในระหว่างการประมวลผล ฝึกปฏิบัติโดยใช้โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์
Study and practice how to design the effective algorithm, evaluate the performance of algorithm. The basic of compile programming language, the possible way to measure the effective of each algorithm. Designing and using the recursive algorithm, structured algorithm, sorting and searching algorithm. To calculate the time and instructions during processing. Practice to implement algorithm with programming language.
จำนวน 3 ชั่วโมง ทุกวันจันทร์หรือวันศุกร์ เวลา 13.00-16.00 น.
หรือพบปะฝากข้อความใน class room ของ MS Team
MS Team Link: https://bit.ly/2UPNkir
MS Team Code: tinnglw
 
1.1 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเป็นนักออกแบบคอมพิวเตอร์ที่ดีไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
การประเมินผลจากคำตอบและคะแนนที่ทำแบบฝึกหัด
2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์
2.3 มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ
2.4 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์กับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
การบรรยายและใช้การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ การศึกษาที่เน้นค้นคว้าด้วยตนเองจากสื่อการเรียนรู้ต่างๆ
การทดสอบย่อย ในรูปแบบข้อสอบอัตนัยและปรนัย การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน การสังเกตพฤติกรรมและประเมินความเข้าใจในเนื้อหาของนักศึกษาจากการถาม-ตอบของนักศึกษาในชั้นเรียน
3.1 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
การมอบหมายงานหรือกรณีศึกษาที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์และแก้ไขปัญหา การศึกษาค้นคว้าการเขียนรายงานและการนำเสนอผลงาน การสอนแบบตั้งคำถาม
การประเมินจากการตอบคำถามในห้องเรียน และการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือแบบฝึกหัด
4.1  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2  มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
การมอบหมายงานกลุ่มที่กำหนดกรณีศึกษาให้นักศึกษาต้องทำการวิเคราะห์ร่วมกัน การมอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล
การประเมินจากโครงงานกลุ่มที่นำเสนอ การประเมินจากการแบ่งงาน ความรับผิดชอบ ภายในกลุ่ม
5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่าง
เหมาะสม
การสอนที่ส่งเสริมให้นักศึกษาตัดสินใจบนข้อมูลเชิงตัวเลข การสอนโดยการนำเสนอข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูล โดยใช้คำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเนื้องหาในแต่ละบทเรียน การมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์ การนำเสนองานด้วยวิธีวาจา
การประเมินจากรายงานและรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี การประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 3 4 5 6 7 1 2 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4
1 BSCCS404 การวิเคราะห์และออกแบบขั้นตอนวิธี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1. คุณธรรมและจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 6. ทักษะปฏิบัติ การเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานตรงเวลา การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน 1-16 5%
2 2.ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 5%
3 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะปฏิบัติ การทดสอบย่อยทฤษฎี 2 ครั้ง การทดสอบย่อยปฏิบัติ 2 ครั้ง 4 7 10 13 30%
4 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา สอบกลางภาค 8 25%
5 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนองาน/การรายงาน 15 10%
6 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสอบปลายภาค 16 25%
สมชาย ประสิทธิ์จูตระกูล การออกแบบและวิเคราะห์อัลกอริทึม กรุงเทพฯ:  NECTEC, 2544
เว็บไซด์ต่างๆ โดยใช้ คำสำคัญ “การออกแบบและวิเคราะห์อัลกอริทึม” และคำสำคัญประจำเนื้อหาของแต่ละบท เพื่อใช้ในการค้นหา
1.1 ตอบคำถามในชั้นเรียน
1.2 ตรวจสอบจากการบ้าน หรือ แบบฝึกหัด
1.3 ประเมินการให้คะแนนของนักศึกษาด้วยกันเอง ในการนำเสนองาน หรือการทำแบบฝึกหัด
ประเมินการสอนจากนักศึกษาเมื่อภาคเทอมการศึกษา และผลการเรียนของนักศึกษา
นำผลการเรียนของนักศึกษาและผลการประเมินการสอนของนักศึกษา ในปีก่อนหน้า มาวางแผนและปรังปรุงการสอน และมีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนระหว่างเขตพื้นที่
ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนและหลังการเรียน และประเมินจากการนำเสนองาน หรือเขียนรายงาน
นำผลลัพธ์จากข้อ 1 และ 2 มาปรับปรุงแก้ไขในแต่ละสัปดาห์หลังจากประเมินแล้ว ส่วนกรณีผลการเรียน จะต้องทำการปรับปรุงเอกสารการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพของนักศึกษา