กลศาสตร์วัสดุประกอบ

Mechanics of Composite Materials

1. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจถึงความสำคัญ ประโยชน์ และการประยุกต์ใช้วัสดุประกอบในเชิงวิศวกรรมเครื่องกล
2. เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์เชิงตัวเลข และสามารถใช้โปรแกรมทางวิศวกรรมในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางกลศาสตร์ของวัสดุประกอบ
3. เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจ และสามารถใช้การวิเคราะห์เชิงตัวเลข เกี่ยวกับคุณสมบัติทางอุณหภูมิศาตร์ของวัสดุประกอบ
4. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจกระบวนการผลิตของวัสดุประกอบ และเข้าใจการทดสอบเพื่อหาคุณสมบัติทางกลศาสตร์ของวัสดุประกอบ
เพื่อปรับปรุงเนื้อหาเกี่ยวกับวัสดุประกอบทางวิศวกรรมเครื่องกลให้ทันสมัย 
ศึกษาสมบัติและกลศาสตร์ของวัสดุประกอบเป็นชั้นเสริมแรงด้วยเส้นใย ทฤษฎีการซ้อนกันเป็นชั้นเชิงแบบฉบับ กลศาสตร์จุลภาคของวัสดุประกอบเสริมแรงด้วยเส้นใย ความแข็งแกร่ง ความแข็งแรง กระบวนการผลิตและการทดสอบ ความเค้นเนื่องจากภาระทางความร้อน และการออกแบบวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมทางวิศวกรรมเครื่องกล
อย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1) มีวินัยในตนเอง ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง
2) เคารพกฎระเบียบวินัยและข้อปฏิบัติต่างๆที่ยอมรับร่วมกัน
3) มีความซื่อสัตย์ในงานที่ได้รับมอบหมาย และช่วยเหลือเพื่อนร่วมชั้นเรียนอย่างเหมาะสม
1) อธิบายถึงเหตุผลและความสำคัญของการตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบในตนเอง ในด้านการเข้าชั้นเรียน การส่งงานที่ได้รับมอบหมายทั้งในห้องเรียนและการบ้าน พร้อมทั้งสร้างเกณฑ์การให้คะแนนที่เป็นข้อยอมรับร่วมกัน
2) อธิบายถึงความสำคัญของกฎระเบียบวินัยและข้อปฏิบัติต่างๆที่ยอมรับร่วมกัน เช่น การแต่งกาย การไม่รบกวนการเรียนการสอน เป็นต้น พร้อมทั้งสร้างเกณฑ์การลงโทษที่เป็นข้อยอมรับร่วมกัน
3) อธิบายถึงความสำคัญของความซื่อสัตย์ในงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่เอาเปรียบเพื่อนร่วมชั้นเรียน การไม่ละเมิดทรัพย์สินทางความคิดของเพื่อนร่วมชั้นเรียน และสร้างเกณฑ์การลงโทษเมื่อนักศึกษาไม่มีความซื่อสัตย์ในงานที่ได้รับมอบหมาย
1) ประเมินจากความตรงเวลาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานที่ได้รับมอบหมายทั้งในชั้นเรียนและการบ้าน ให้คะแนนตามเกณฑ์ที่ตกลงร่วมกัน
2) ทำการตัดคะแนนนักศึกษาที่ระเมิดกฎระเบียบวินัยและข้อปฏิบัติต่างๆที่ยอมรับร่วมกัน ตามเกณฑ์ที่ตกลงร่วมกัน
3) ทำการตัดคะแนนนักศึกษาที่ไม่มีความซื่อสัตย์ในงานที่ได้รับมอบหมายตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
1) ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ความสำคัญ ประโยชน์ และการประยุกต์ใช้วัสดุประกอบในเชิงวิศวกรรมเครื่องกล
2) ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การวิเคราะห์เชิงตัวเลข และการใช้โปรแกรมทางวิศวกรรมในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางกลศาสตร์ของวัสดุประกอบ
3) ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติทางอุณหภูมิศาตร์ของวัสดุประกอบและสามารถการวิเคราะห์เชิงตัวเลขได้
4) ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ กระบวนการผลิตของวัสดุประกอบ และการทดสอบเพื่อหาคุณสมบัติทางกลศาสตร์ของวัสดุประกอบ
บรรยาย ยกตัวอย่าง โดยใช้ภาพฉายจาก Pawer Point ประกอบกับเขียนบนกระดาน และสอนใช้โปรแกรมทางวิศวกรรมเพื่อช่วยแก้ปัญหาเชิงตัวเลข
มอบหมาย แบบฝึกหัด การบ้าน และการศึกษาเพิ่มเติม ตามจุดประสงค์การสอน
ตรวจสอบความเข้าใจจาก การถามในห้อง การทำแบบฝึกหัดที่มอบหมาย การตอบคำถามเชิงเชิงบรรยายและเชิงตัวเลข ในการบ้าน
1) สามารถพัฒนาความรู้ในการ เลือกใช้ หรือประยุกต์ใช้ประโยชน์จากวัสดุประกอบในเชิงวิศวกรรมเครื่องกล
2) สามารถพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการคำนวณเชิงตัวเลข และสามารถประยุกต์ใช้โปรแกรมทางวิศวกรรม ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางกลศาสตร์ของวัสดุประกอบได้
3) สามารถพัฒนาความรู้ในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาเชิงตัวเลขเกี่ยวกับ คุณสมบัติทางอุณหภูมิศาตร์ของวัสดุประกอบได้
คิดค้นปัญหาที่ประยุกต์จากเนื้อหาหลัก มอบหมายแบบฝึกหัด การบ้าน หรือโครงงานที่เกี่ยวกับ การเลือกใช้ประโยชน์จากวัสดุประกอบในเชิงวิศวกรรมเครื่องกล การคำนวณเชิงตัวเลข การใช้โปรแกรมทางวิศวกรรม ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางกลศาสตร์และทางอุณหภูมิศาสตร์ของวัสดุประกอบ
 
ตรวจสอบถูกต้องและความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาในการประยุกต์ใช้ความรู้แก้ไขปัญหา จากงานที่มอบหมายโดยคำนึงถึงความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ได้สอนไป
1) สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาที่ประยุกต์จากเนื้อหาหลัก และสามารถร่วมกันคิดค้นปัญหาใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหลัก 
2) สามารถแบ่งหน้าที่การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสลับหน้าที่กันได้ และมีความรู้ความเข้าใจในความสำคัญของทุกหน้าที่
 
1) มอบหมายโครงงานให้ทำเป็นหมู่คณะ โดยเนื้อหาโครงงานจะต้องประยุกต์ใช้ความรู้จากเนื้อหาหลัก หรือคิดค้นปัญหาใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหลัก 
2) มอบหมายให้นักศึกษาแบ่งหน้าที่การทำงาน เน้นให้ทุกคนตระหนักและเข้าใจถึงภาพรวมของโคงงาน
1) ตรวจสอบถูกต้องในการทำโครงงานกลุ่มของนักศึกษา โดยประเมินจากความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้แก้ไขปัญหาโดยคำนึงถึงความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ได้สอนไป
2) ตรวจสอบภาระหน้าที่รายบุคคล และประเมินความเข้าใจในการทำโครงงานที่นักศึกษาคิดมาจากการออกข้อสอบให้มีเนื้อหาเกี่ยวกับโครงงานที่นักษาทำมา ถ้าทุกคนทำได้แสดงว่ามีความรู้เกี่ยวกับภาพรวมของโครงงาน แต่ถ้าทำได้แค่ในส่วนที่ตัวเองรับผิดชอบแสดงว่าเข้าใจเฉพาะหน้าที่ของตนเอง แต่ถ้าทำไม่ได้แสดงว่าไม่มีความร่วมมือกันในการทำงานกลุ่ม
สามารถแสดงการคำนวณเชิงตัวเลข และแสดงขั้นตอนการใช้โปรแกรมทางวิศวกรรม ในการแก้ปัญหาจากเนื้อหาหลักและเนื้อหาประยุกต์ที่เกี่ยวกับการหาคุณสมบัติทางกลศาสตร์และทางอุณหภูมิศาตร์ของวัสดุประกอบได้
 
มอบหมายแบบฝึกหัด การบ้าน  ออกข้อสอบกลางภาค และปลายภาคเรียน โดยให้นักศึกษาแสดงวิธีการคำนวณอย่างเป็นขั้นตอนและสัมพันธ์กัน
ตรวจความถูกต้องจาก แบบฝึกหัด การบ้าน  ออกข้อสอบกลางภาค และปลายภาคเรียน ที่นักศึกษาทำมา พร้อมทั้งให้คะแนน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์ ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2 4 4 2 5 6 1 3 1 3 4 5 2 6 1 3 2 4 5 1 2 5 3 4 1 2
1 MENME122 กลศาสตร์วัสดุประกอบ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) ข้อที่ 1.2 และ 1.4, การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียน และการส่งงานตามกำหนดระยะเวลา ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 ผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) ข้อที่ 3.1 ถึง 5.5 ประเมินจาก การแสดงความคิดเห็น การตอบคำถามระหว่างกิจกรรมการเรียนการสอน การทำแบบฝึกหัดท้ายคาบเรียน การทำการบ้าน และการนำเสนอโครงงานหน้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 ผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) ข้อที่ 2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 2.5, 2.6, 3.1, 3.3, 3.4, 3.5 และ 3.6 1 การทดสอบย่อยก่อนสอบกลางภาค 2 สอบกลางภาค 3 ทดสอบย่อยก่อนสอบปลายภาค 4 การทดสอบย่อยการใช้โปรแกรม 5 สอบปลายภาค 1 (สัปดาห์ที่ 4) 2 (สัปดาห์ที่ 9) 3 (สัปดาห์ที่ 13) 4 (สัปดาห์ที่ 17) 5 (สัปดาห์ที่ 18) 1 การทดสอบย่อยก่อนสอบกลางภาค 5% 2 สอบกลางภาค 25% 3 ทดสอบย่อยก่อนสอบปลายภาค 5% 4 การทดสอบย่อยการใช้โปรแกรม 5% 5 สอบปลายภาค 30%
Mechanics of composite materials
Autar K. Kaw. 2nd ed. p.cm.(Mechanical engineering ; v. 29)  
Power Point Presentation "Mechanics of composite materials" by Korawat Wuttikid
1. Composite materials--Mechanical properties. I. Title. II. Mechanical engineering series (Boca Raton, Fla.) ; v. 29 http://www.taylorandfrancis.com http://www.crcpress.com  
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนาแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ ดังนี้  - แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้  - ผลการเรียนของนักศึกษา  - การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้  - การสัมมนาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน
ตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น