ศิลปะนิพนธ์สำหรับจิตรกรรม

Art Thesis for Painting

1.1 นักศึกษามีระบบแบบแผน และกระบวนการสร้างผลงานจิตรกรรมสำหรับ ศิลปนิพนธ์ ทั้งปฏิบัติงานสร้างสรรค์ เอกสารประกอบผลงานศิลปนิพนธ์ และเขียนเล่มเอกสารวิเคราะห์ทุกกระบวนการอย่างเข้าใจ
1.2 ผลงานสร้างสรรค์มีความสอดคล้องระหว่างรูปแบบและแนวความคิด และเทคนิคในการแสดงออกในผลงานสร้างสรรค์
1.3 มีแนวความคิดเฉพาะตนมีความเป็นอัตลักษณ์ รู้และเข้าใจในการจัดวางรูปทรงให้สอดคล้องกับ เนื้อหาเรื่องราว ,อารมณ์ ความรู้สึก ของรูปแบบต่างๆในลักษณะการสร้างสรรค์ได้
1.4 สามารถวิเคราะห์ทัศนธาตุต่างๆในงานตนเองและสามารประเมินคุณค่าในงานจิตรกรรมของตน เพื่อพัฒนาต่อยอดในอนาคตได้
 
ศึกษาค้นคว้าฝึกปฏิบัติการวาดภาพจิตรกรรม ด้วยการใช้เทคนิคสีน้ำมันหรือเทคนิคอื่นๆที่มีความหลากหลาย โดยเลือกมุมมองด้านองค์ประกอบศิลป์ แสดงออกผ่านทัศธาตุ เพื่อฝึกฝนให้เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนภาพในรูปแบบเหมือนจริง กึ่งเหมือนจริง นามธรรมและอื่นๆก็ได้ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อแสดงออกด้านแนวความคิดเฉพาะตน ค้นหารูปแบบและเทคนิควิธีการที่เหมาะสมต่อการนำเสนอเนื้อหานั้นๆ ทั้งนี้นักศึกษาต้องสามารถวิเคราะห์ผลงานตนเองเพื่อพัฒนาผลงานตามหลักการความงามและการสื่อความหมายอันมีคุณค่าทางทัศนศิลป์
ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดโครงการเฉพาะตนทางศิลปกรรมวิชาเอกจิตรกรรม เพื่อค้นคว้าคลี่คลายหาแนวทางการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ประกอบไปด้วยภาคผลงาน ภาคเอกสารการสร้างสรรค์ผลงาน ตามระเบียบปฏิบัติของการทำศิลปนิพนธ์โดยเฉพาะ และจัดนิทรรศการผลงานศิลปนิพนธ์
 
4 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
 
 - มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
- มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
- มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
- เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
 - สอดแทรกระหว่างการเรียนการสอนแต่ละครั้ง
- แสดงให้เห็นถึงผลของความรักต่อวิชา วินัย ความซื่อสัตย์
- แสดงให้เห็นถึงผลของความรับผิดชอบต่อวิชาการ
- ประเมินจากพฤติกรรมในชั้นเรียน และนอกชั้นเรียน
- ประเมินพฤติกรรมจากความรับผิดชอบในหน้าที่ต่างๆ
- มีความรู้ความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
- สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
- สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
- บรรยายประกอบสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ให้เห็นถึงเทคนิค วิธีการ , ผลงานตัวอย่าง , ผลงานศิลปินที่มีชื่อเสียง
- บรรยายผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ยกตัวอย่างผลงานให้ได้เห็น และเข้าใจในแนวความคิดในการสร้างสรรค์ใหม่ๆในงานจิตรกรรมร่วมสมัย
- ปฏิบัติงานจริง เพื่อศึกษาค้นคว้าตามขั้นตอนต่างๆวิจารณ์แนะนำเพื่อพัฒนาต่อ
- บรรยายประกอบสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ให้เห็นถึงเทคนิค วิธีการ , ผลงานตัวอย่าง , ผลงานศิลปินที่มีชื่อเสียง
- บรรยายผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ยกตัวอย่างผลงานให้ได้เห็น และเข้าใจในแนวความคิดในการสร้างสรรค์ใหม่ๆในงานจิตรกรรมร่วมสมัย
- ปฏิบัติงานจริง เพื่อศึกษาค้นคว้าตามขั้นตอนต่างๆวิจารณ์แนะนำเพื่อพัฒนาต่อ
- พัฒนาความสามารถในความเข้าใจในการสร้างสรรค์ที่มีลักษณะเฉพาะตน เลือกเทคนิคในการเขียนภาพจิตรกรรมได้อย่างเหมาะสมกับแนวความคิดเฉพาะตนมีความเป็นอัตลักษณ์ รู้และเข้าใจในการจัดวางรูปทรงให้สอดคล้องกับ เนื้อหาเรื่องราว ,อารมณ์ ความรู้สึก ของรูปแบบต่างๆในลักษณะการสร้างสรรค์ได้
- นำเสนอผลงานสร้างสรรค์ในลักษณะเฉพาะตนของศิลปินลัทธิต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงเทคนิค วิธีการต่างๆ ของศิลปินที่มีชื่อเสียงจากสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
- แนะนำหรือสาธิตเทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อให้เกิดทักษะและปัญญา
- มอบหมายให้ค้นคว้า ศึกษาเพิ่มเติมจากสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
- วิเคราะห์ วิจารณ์ผลงานปฏิบัติของแต่ละบุคคลให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียต่างๆ
- ประเมินผลความก้าวหน้าจากการศึกษาค้นคว้า เปรียบเทียบกับผลงานปฏิบัติในแต่ละครั้ง
- ประเมินผลความรู้ ความเข้าใจจากผลงานสร้างสรรค์ และเอกสารประกอบผลงานสร้างสรรค์
- มีทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
- มีทักษะในการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
- มีความรับผิดชอบในการทำงานร่วมกัน หรือทำงานเป็นกลุ่ม
- แสดงให้เห็นถึงผลของความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานร่วมกัน
- แสดงให้เห็นถึงผลของความรู้ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนในการปฏิบัติงานร่ว
- ประเมินผลจากพฤติกรรมการปฏิบัติงานร่วมกันในชั้นเรียน
- ประเมินผลจากความรู้ ความเข้าใจที่ได้จากการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้เรียน
- ประเมินผลจากการกำหนดให้ปฏิบัติงานร่วมกันแสดงนิทรรศการศิลปะเป็นกลุ่ม
1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
3. สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การวัดมาตรฐานนี้อาจทำได้ในระหว่างการสอน โดยอาจให้นักศึกษาแก้ปัญหา วิเคราะห์ประสิทธิภาพขอวิธีแก้ปัญหา และให้นำเสนอแนวคิดของการแก้ปัญหา ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ต่อนักศึกษาในชั้นเรียน อาจมีการวิจารณ์ในเชิงวิชาการระหว่างอาจารย์และกลุ่มนักศึกษา
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกตต้องและให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลาย สถานการณ์
ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงาน
มีทักษะในการใช้วัสดุอุปกรณ์ ในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย มีทักษะในการร่างและทำต้นแบบผลงานตามที่แต่ละคนถนัด สามารถสร้างสรรค์ผลงาน โดยใช้เทคนิคต่างๆได้อย่างเหมาะสม สามารถวิเคราะห์ปัญหาในการสร้างสรรค์ผลงาน มีทักษะในการสร้างสรรค์ที่แสดงเอกลักษณ์เฉพาะตนได้อย่างชัดเจน
1. สร้างเจตคติที่ดีต่อการฝึกปฏิบัติ
2. จัดนิทรรศการแสดงผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาในที่สาธารณะเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความคิดสร้างสรรค์และฝึกปฏิบัติงานด้วยใจ
1. ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา
2. ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
3. การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์เป็นต้น
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 2.1 มีความรู้ความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2. 2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 2.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง 3.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ 4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 4.1 มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 5.2 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6.1 มีทักษะในการใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ในการสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย 6.2 มีทักษะในการร่างและทำต้นแบบผลงานตามที่แต่ละบุคคลถนัดได้ 6.3 สามารถสร้างสรรค์ผลงาน โดยใช้เทคนิคต่างๆได้อย่างเหมาะสม 6.4 สามารถวิเคราะห์ปัญหาในการสร้างสรรค์ผลงาน 6.5 มีทักษะในการสร้างสรรค์ผลงานที่แสดงเอกลักษณ์เฉพาะตนได้อย่างชัดเ
1 41011407 ศิลปะนิพนธ์สำหรับจิตรกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม แนวคิดอิสระ ชิ้นที่ 1 -สร้างสรรค์ผลงานเพื่อแสดงออกผ่านแนวความคิด เทคนิค และรูปแบบเฉพาะตัว การเขียนเล่มเอกสารประกอบผลงานศิลปนิพนธ์ บทที่ 1 บทนำ -ความเป็นมาและความสำคัญของการสร้างสรรค์ -วัตถุประสงค์การสร้างสรรค์ -กรอบแนวคิดการสร้างสรรค์ -ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ -สมมติฐานในการสร้างสรรค์ -ขอบเขตของการสร้างสรรค์ -นิยามศัพท์เฉพาะ(ถ้ามี) นักศึกษานำเสนอผลงานสร้างสรรค์ ศิลปนิพนธ์ชิ้น ที่ 1 โดยต้องสามารถอธิบายเป็นรายบุคลถึงผลงานตนเอง ดังนี่ -ที่มา แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ -แนวคิดความคิดในการสร้างสรรค์ -รูปแบบในการแสดงออกทางศิลปะ ที่มีความสอดคล้องกับเนื้อหา -เทคนิค วิธีการในการสร้างสรรค์ มีเอกสารประกอบการนำเสนอ บทที่ 1-2 ตามเอกสารเล่มศิลปนิพนธ์ 1-4 20
2 สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม แนวคิดอิสระ ชิ้นที่ 2 -สร้างสรรค์ผลงานเพื่อแสดงออกผ่านแนวความคิด เทคนิค และรูปแบบเฉพาะตัว การเขียนเล่มเอกสารประกอบผลงานศิลปนิพนธ์ บทที่ 2 ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ -อิทธิพลจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม -อิทธิพลจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา -อิทธิพลจากวรรณกรรมและบทกวี -อิทธิพลจากการศึกษาจิตรกรรมในประวัติศาสตร์ศิลป์(ศิลปิน ลัทธิทางศิลปะรูปแบบต่างๆ) -อิทธิพลด้านอื่นๆ ฯลฯ นักศึกษานำเสนอผลงานสร้างสรรค์ ศิลปนิพนธ์ชิ้น ที่ 2 โดยต้องสามารถอธิบายเป็นรายบุคลถึงผลงานตนเอง ดังนี่ -ที่มา แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ -แนวคิดความคิดในการสร้างสรรค์ -รูปแบบในการแสดงออกทางศิลปะ ที่มีความสอดคล้องกับเนื้อหา -เทคนิค วิธีการในการสร้างสรรค์ มีเอกสารประกอบการนำเสนอ บทที่ 1-2 ตามเอกสารเล่มศิลปนิพนธ์ 5-9 20
3 สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม แนวคิดอิสระ ชิ้นที่ 3 -สร้างสรรค์ผลงานเพื่อแสดงออกผ่านแนวความคิด เทคนิค และรูปแบบเฉพาะตัว การเขียนเล่มเอกสารประกอบผลงานศิลปนิพนธ์ บทที่ 3 กระบวนการสร้างสรรค์ -การศึกษาข้อมูลในการสร้างสรรค์ -การวิเคราะห์คัดสรรข้อมูลในการสร้างสรรค์ ¬-การศึกษาข้อมูลด้วยการวาดเส้น -การสร้างภาพร่างต้นแบบในการสร้างสรรค์ -การขยายภาพร่างเป็นผลงานจิตรกรรม ชิ้นที่ 1-4 นักศึกษานำเสนอผลงานสร้างสรรค์ ศิลปนิพนธ์ชิ้น ที่ 3 โดยต้องสามารถอธิบายเป็นรายบุคลถึงผลงานตนเอง ดังนี่ -ที่มา แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ -แนวคิดความคิดในการสร้างสรรค์ -รูปแบบในการแสดงออกทางศิลปะ ที่มีความสอดคล้องกับเนื้อหา -เทคนิค วิธีการในการสร้างสรรค์ มีเอกสารประกอบการนำเสนอ บทที่ 3-5 ตามเอกสารเล่มศิลปนิพนธ์ -เตรียมการแสดงนิทรรศการผลงานศิลปนิพนธ์ 10-13 25
4 สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม แนวคิดอิสระ ชิ้นที่ 4 -สร้างสรรค์ผลงานเพื่อแสดงออกผ่านแนวความคิด เทคนิค และรูปแบบเฉพาะตัว การเขียนเล่มเอกสารประกอบผลงานศิลปนิพนธ์ บทที่ 4 การวิเคราะห์ผลงานสร้างสรรค์ -การวิเคราะห์จิตรกรรมชุด (ชื่อหัวข้อศิลปนิพนธ์)ชิ้นที่ 1-4 วิเคราะห์ : -แนวความคิดในผลงานสร้างสรรค์ -องค์ประกอบของศิลปะ -ทัศนธาตุในผลงานสร้างสรรค์ -สัญลักษณ์ในผลงานสร้างสรรค์ -รูปแบบและเทคนิคในผลงาน สร้างสรรค์ บทที่ 5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ -สรุปผลทั้งหมดในผลงานสร้างสรรค์ -ข้อเสนอแนะ และแนวทางการพัฒนาผลงานต่อไปในอนาคต นักศึกษานำเสนอผลงานสร้างสรรค์ ศิลปนิพนธ์ชิ้น ที่ 4 โดยต้องสามารถอธิบายเป็นรายบุคลถึงผลงานตนเอง ดังนี่ -ที่มา แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ -แนวคิดความคิดในการสร้างสรรค์ -รูปแบบในการแสดงออกทางศิลปะ ที่มีความสอดคล้องกับเนื้อหา -เทคนิค วิธีการในการสร้างสรรค์ มีเอกสารประกอบการนำเสนอ บทที่ 3-5 ตามเอกสารเล่มศิลปนิพนธ์ -เตรียมการแสดงนิทรรศการผลงานศิลปนิพนธ์ 14-17 25
5 คุณธรรมจริยธรรม 1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 4. เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1-17 10
- กำจร สุนพงษ์ศรี. ศิลปะสมัยใหม่. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554  - กำจร สุนพงษ์ศรี. สุนทรียศาสตร์ หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปวิจารณ์.  กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556  - จิระพัฒน์ พิตรปรีชา. โลกศิลปะศตวรรษที่20. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, 2552  - ชลูด นิ่มเสมอ. องค์ประกอบของศิลปะ : Composition of art. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อมรินทร์, 2557  - อิทธิพล ตั้งโฉลก. แนวทางการสอนและสร้างสรรค์จิตรกรรมขั้นสูง. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์อัมรินทร์ ปริ้นติ้ง, 2550 
หนังสือศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่9,พิมพ์ครั้งที่2 .กรุงเทพ:อัมรินทร์ปริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง,2540
ศาสตราจารย์ กำจร สุนพงษ์ศรี. หนังสือศิลปะสมัยใหม่ .สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2554
ชลูด นิ่มเสมอ.องค์ประกอบของศิลปะ.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช จำกัด,2534
- https://www.google.com/culturalinstitute/beta/
- https://en.wikipedia.org/wiki/Composition_(visual_arts
- https://en.wikipedia.org/wiki/History_of_art
- http://www.rama9art.org/
 
www.fineart-magazine.com
www.American painting
www. Art Now
- สอบถามความคิดเห็นจากนักศึกษาเมื่อเสร็จสิ้นในเนื้อหานั้น
- นักศึกษาประเมินการสอนในคอมพิวเตอร์
- ประเมินการสอนโดยผู้บริหารของภาค หรือสาขาวิชา
- จัดประชุมคณะอาจารย์ ระดมความคิดเห็นเมื่อสิ้นสุดภาคเรียน 
- สรุปผลการประเมินการสอนจากนักศึกษา
- ประชุมคณะอาจารย์แจ้งผลการประเมิน แสดงความคิดเห็นเพื่อพัฒนาการสอน
- จัดประชุม สัมมนาคณะอาจารย์เพื่อพัฒนาเทคนิคใหม่เกี่ยวกับการสอน
- มีคณะกรรมการวิชาการประจำสาขาวิชา
- มีคณะกรรมการพิจารณาหัวข้อศิลปนิพนธ์ และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ โดยการนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ผ่านการนำเสนอแนวความคิด เพื่อสรุปผล ประเมินผลศิลปนิพนธ์
- ให้นักศึกษาตรวจสอบคะแนน ผลคะแนนจากฝ่ายทะเบียนได้
- นำผลที่ได้จากการสอบถามความคิดเห็น คะแนนสอบของนักศึกษา การประชุมสัมมนานำมาสรุปผล และพัฒนารายวิชาก่อนการสอนในภาคเรียนต่อไป