พืชสมุนไพร

Medicinal Plants

เพื่อให้ผู้เรียน เข้าใจความหมาย ความสำคัญของพืชสมุนไพร การจัดจำแนกชนิดของสมุนไพรตามลักษณะการใช้ประโยชน์ สรรพคุณทางเภสัชวิทยา สารสำคัญในพืชสมุนไพร การปลูก การขยายพันธุ์ การดูแลรักษา วิธีการเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูป การใช้ประโยชน์จากสมุนไพร การอนุรักษ์ การตลาดพืชสมุนไพรในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนเรียนรู้ทักษะพื้นฐานในการสกัดสารสำคัญจากพืชสมุนไพรตามคุณสมบัติทางเคมี
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะการใช้สมุนไพรเพื่อประโยชน์ในด้านสุขภาพและสามารถประยุกต์ใช้ในทางการเกษตร
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ การจำแนกพืชสมุนไพร การปลูก การดูแลรักษา  การขยายพันธุ์ การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว  การแปรรูป การใช้ประโยชน์ การสกัดสารสำคัญจากพืชสมุนไพร การอนุรักษ์พืช การตลาดพืชสมุนไพรในประเทศและต่างประเทศ
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1 การสอนแบบบรรยายเชิงอภิปราย สอดแทรกหรือยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นคุณธรรม จริยธรรม การรับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น
1.2.2 ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย เน้นการเข้าเรียนตรงตามเวลา มอบหมายงานให้ทำส่ง กำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในการส่งงาน เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบ
1.2.3 ผู้สอนปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง ให้ความสำคัญต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ การมีวินัยเรื่องเวลา การเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา การเคารพและให้เกียรติแก่ผู้อื่น
1.3.1 ประเมินผลจากพฤติกรรมการเข้าเรียน การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงตามขอบเขตระยะเวลาที่กำหนดให้ พร้อมทั้งประเมินความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
1.3.2 ตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน ความพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าเรียนและร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
1.3.3 ประเมินความรับผิดชอบหน้าที่ของนักศึกษาตามงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นหรือมีการอ้างอิงเอกสารทางวิชาการเพื่อให้เกียรติแก่เจ้าของผลงาน
1.3.4 ประเมินจากพฤติกรรมในการทำงานในชั้นเรียนที่ไม่เลือกปฏิบัติและการไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านหลักการและทฤษฏีของเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากเนื้อหาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม
2.2.1 บรรยาย มอบหมายงาน ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตนเองในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต / แหล่งข้อมูลอื่น นำมาสรุปและเขียนรายงาน
2.2.2 จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์และปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยการศึกษาดูงานในหัวข้อการศึกษาที่เกี่ยวข้อง หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรบรรยาพิเศษ
 
 
2.3.1 ทดสอบย่อย
2.3.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 
2.3.3 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล รายบุคคลและงานกลุ่ม
3.1.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
3.2.1 แนะนำการใช้ความรู้ทางทฤษฏี การค้นคว้าข้อมูล และศึกษาจากกรณีตัวอย่าง เพื่อการพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานด้านการเพาะและขยายพันธุ์พืชในกระถางตามที่ได้รับมอบหมาย
3.2.2 ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียน การแสดงความคิดเห็นต่อกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้ และระดมสมองในการแก้ไขปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือ มีความเป็นไปได้ ตามหลักความเป็นเหตุเป็นผล  
3.3.1 ประเมินจากรายงานการนำเสนอรายงานและการมีส่วนร่วมในการเสนอข้อคิดเห็นในชั้นเรียน
3.3.2 สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอภิปรายปัญหาในชั้นเรียน ความสามารถในการทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
3.3.3 การสอบย่อย สอบกลางภาค และปลายภาค
4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3 สามารถทำงานเป็นกลุ่มและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์ที่ศึกษาเพื่อช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2.1 มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด
4.2.2 กำหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนในการทำงานกลุ่ม อย่างชัดเจน
4.3.1 ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน สังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรม
4.3.2 ประเมินความรับผิดชอบจากรายงานกลุ่มของนักศึกษา
4.3.3 ให้นักศึกษาประเมินสมาชิกในกลุ่ม ทั้งด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และด้านความรับผิดชอบ
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศตามพื้นฐานในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม
5.2.1 ใช้ PowerPoint เพื่อการนำเสนอข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.2.2 แนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งอินเตอร์เน็ตที่น่าเชื่อถือ
5.2.3 มอบหมายงานเพื่อให้มีการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.2.4 ให้มีการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมายโดยการใช้สื่อหรือเทคโนโลยี
5.3.1 ประเมินทักษะการนำเสนอด้วยสื่อสารสนเทศที่เหมาะสมจากงานที่ได้รับมอบหมาย
5.3.2 ประเมินรายงานการสืบค้นข้อมูลด้วยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง
จัดกิจกรรมการเรียนรู้และปฏิบัติภาคสนาม
ทดสอบภาคปฏิบัติ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ การเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและประยุกต์ทางปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมีการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ (1) บทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษาทางการเกษตร เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจ ประเมินข้อมูลและหลักฐานใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย (2) การอภิปรายกลุ่มเพื่อระดมความคิดวิเคราะห์ข้อมูลและประยุกต์ใช้ข้อมูลที่ได้มาหรือเลือกใช้ความรู้ที่เรียนมาแก้ไขโจทย์ปัญหาที่กำหนด (3) ให้นักศึกษาปฏิบัติจริงเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์เฉพาะหน้า (1) สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ (2) มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย (3) สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้ (4) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป (5) มีภาวะผู้นำและผู้ตามในการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น (6) สามารถวางตนได้เหมาะสมกับกาลเทศะ ขนบธรรมเนียมและแนวทางปฏิบัติเฉพาะของแต่ละวัฒนธรรม 1) มีทักษะการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง พูด อ่านและเขียน เพื่อการสื่อสารให้เหมาะกับสถานการณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษ ในการอ่าน พูด ฟัง และเขียน 2) มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1 BSCAG151 พืชสมุนไพร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ตามหัวข้อที่ 8 และ 17 60%
2 ประเมินผลงานการทำ การนำเสนอหน้าชั้นเรียน การส่งงานตามที่มอบหมายรายบุคคล ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 การเข้าชั้นเรียน(บันทึกเวลาการมาเรียน) -สังเกตพฤติกรรมจากการมีส่วนร่วมในชั้น เรียน ตลอดภาคการเรียน 10%
รัตนา อินทรานุปกรณ์.2547. การตรวจสอบและสกัดแยกสารสำคัญจากสมุนไพร. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร. 215 หน้า
เวปไซต์ที่เกี่ยวข้องกับพืชสมุนไพร สารสำคัญในพืช และเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
ประเมินจากผลการสอบและการทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงกิจกรรมในการสอนให้มากขึ้น เช่น ทักษะในการปฏิบัติและการสำรวจพืชสมุนไพรในแต่ละพื้นที่ เนื่องด้วยการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ในแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน
สาขามีคณะกรรมการประเมินการสอนทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา โดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4