โรคพืชและการควบคุม

Plant Diseases and Their Controls

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับความสำคัญและการพัฒนาการทางโรคพืชที่มีผลต่อการเกษตร เชื้อสาเหตุ การแพร่ระบาด การเข้าทำลายของโรค อาการของโรค การวินิจฉัยโรค การพยากรณ์โรค ระบบการป้องกันตนเองของพืช และการควบคุมโรคพืชด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อการจัดการโรคพืชในระบบการเกษตรอย่างยั่งยืน
เพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพทางพืชศาสตร์ ให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในวัฏจักรการเกิดโรคพืช สาเหตุ การแพร่ระบาดของโรค โรคพืชที่สำคัญในพืชเศรษฐกิจ ตลอดจนการจัดการควบคุมโรคพืช 
 
ศึกษาความสำคัญและการพัฒนาการทางโรคพืชที่มีผลต่อการเกษตร เชื้อสาเหตุ การแพร่ระบาด การเข้าทำลายของโรค อาการของโรค การวินิจฉัยโรค การพยากรณ์โรค ระบบการป้องกันตนเองของพืช และการควบคุมโรคพืชด้วยวิธีการต่างๆ
75 ชั่วโมง
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม
1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
- บรรยาย กรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคพืช
- มอบหมายงานให้ทำส่ง กำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในการส่งงาน เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบ
- ให้มีการนำเสนองานค้นคว้าตามกลุ่มกิจกรรมดูความร่วมมือในกลุ่มและการอ้างอิงของเอกสารที่ค้นคว้า
- ในการสอบย่อยสังเกตพฤติกรรมในการสอบทุกครั้ง
- ผู้สอนปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง ให้ความสำคัญต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ การมีวินัยเรื่องเวลา การเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา การเคารพและให้เกียรติแก่ผู้อื่น
- ประเมินผลจากพฤติกรรมการเข้าเรียน การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงตามขอบเขตระยะเวลาที่กำหนดให้
- ตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน ความพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าเรียนและร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
- ประเมินความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
- ความรับผิดชอบหน้าที่ของนักศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
- จากผลงานที่ไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นหรือมีการอ้างอิงเอกสารทางวิชาการเพื่อให้เกียรติแก่เจ้าของผลงาน
- จากพฤติกรรมในการทำงานในชั้นเรียนที่ไม่เลือกปฏิบัติและการไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งในด้านทฤษฎีและหลักปฏิบัติ ในเนื้อหาที่ศึกษาด้านโรคพืชและวิธีการควบคุม
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสาขาโรคพืช
2.2.1 บรรยาย มอบหมายงาน ค้นคว้าข้อมูลด้วยตนเองในเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง นำมาสรุปและเขียนรายงาน
2.2.2 ปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการและภาคสนาม
2.2.3 การทำงานกลุ่มเพื่อศึกษางานด้านโรคพืชทางการเกษตรโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 ทดสอบย่อย ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค สอบภาคปฏิบัติ
2.3.3 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล รายบุคคลและงานกลุ่ม
3.1.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
3.2.1 มอบหมายการค้นคว้าข้อมูลโรคพืชทางการเกษตรจากตัวอย่างจริง และนำมาเรียบเรียงเป็นรายงานโรคพืชตามชนิดพืชที่ปลูก
3.2.2 ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียน การแสดงความคิดเห็นต่อกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้ และระดมสมองในการแก้ไขปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือ มีความเป็นไปได้ ตามหลักความเป็นเหตุเป็นผล  
3.3.1 นำเสนอรายงานในชั้นเรียน
3.3.2 การถาม-ตอบในชั้นเรียน
3.3.3 การสอบย่อย สอบกลางภาค และปลายภาค
4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3 สามารถทำงานเป็นกลุ่มและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
 
4.2.1 มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด
4.2.2 กำหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนในการทำงานกลุ่ม อย่างชัดเจน
4.3.1 ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน สังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรม
4.3.2 ประเมินความรับผิดชอบจากรายงานกลุ่มของนักศึกษา
4.3.3 ให้นักศึกษาประเมินสมาชิกในกลุ่ม ทั้งด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และด้านความรับผิดชอบ
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศตามพื้นฐานในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม
5.2.1 ใช้ PowerPoint เพื่อการนำเสนอข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.2.2 แนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งอินเตอร์เน็ตที่น่าเชื่อถือ
5.2.3 มอบหมายงานเพื่อให้มีการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.2.4 ให้มีการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมายโดยการใช้สื่อหรือเทคโนโลยี
5.3.1 ประเมินทักษะการนำเสนอด้วยสื่อสารสนเทศที่เหมาะสมจากงานที่ได้รับมอบหมาย
5.3.2 ประเมินรายงานการสืบค้นข้อมูลด้วยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง
ปฏิบัติการในห้องทดลองและปฏิบัติภาคสนาม
ทดสอบภาคปฏิบัติ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะคสามสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช่เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2 1 2 2 2 2
1 BSCAG110 โรคพืชและการควบคุม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ตามหัวข้อที่ 9 และ 17 60%
2 ประเมินผลงานการทำ การนำเสนอหน้าชั้นเรียน การส่งงานตามที่มอบหมายรายบุคคล ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 การเข้าชั้นเรียน(บันทึกเวลาการมาเรียน) -สังเกตพฤติกรรมจากการมีส่วนร่วมในชั้น เรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
คณาจารย์สาขาวิชาโรคพืช. 2561. โรคพืชวิทยา. ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
 
เวปไซต์เกี่ยวกับโรคพืช
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
ประเมินจากผลการสอบและการทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงกิจกรรมในการสอนให้มากขึ้น เช่น ทักษะในการปฏิบัติและวินิจฉัยจากตัวอย่างจริงที่มีความหลากหลายมากขึ้น
สาขามีคณะกรรมการประเมินการสอนทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา โดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4