เรื่องเฉพาะทางด้านพืช

Selected Topic in Plant

 1.1 เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจการผลิตพืช
 1.2 เพื่อให้ผู้เรียนวางแผนการผลิตพืชที่สามารถสัมฤทธิ์ผลในเชิงพาณิชย์ได้
เนื่องจากองค์ความรู้ด้านการผลิตพืชได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และเป็นประโยชน์แก่ประเทศไทยในการพัฒนาและลงทุนอุตสาหกรรมการผลิตพืช จึงจัดเนื้อหาวิชาที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษาเพื่อสามารถนำไปใช้ได้เมื่อสำเร็จการศึกษา
หัวข้อหรือเรื่องที่น่าสนใจด้านการผลิตพืช  ที่เป็นความรู้หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ หัวข้อเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละภาคการศึกษาโดยมีเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง
Specific topics of interest related to plant production which is new knowledge or technology.  Topics are subjected to change in each semester. The study period is not less than 30 hours.
2
1.  ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา(Ethics and Moral)
1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.2 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.3 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1. กระบวนการสืบค้น
(Inquiry Process)
2. การสอนแบบการตั้งคำถาม (Questioning) 
3. เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
4. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  (Participatory Learning)
5. การสอนแบบบรรยาย
1. การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียนและการส่งรายงาน
2. ประเมินการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น โดยนักศึกษาอื่นๆ ในรายวิชา
2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีในเนื้อหาที่ศึกษา
2.2 สามารถเชื่อมโยงทฤษฎีความรู้ ความเข้าใจ เข้ากับงานวิจัยและการปฏิบัติทางวิชาชีพอย่างลึกซึ้ง
2.3 สามารถสร้างความรู้ใหม่ๆ ตลอดจนสามารถประยุกต์ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
2.4 มีความรู้และตระหนักในระเบียบข้อบังคับที่ใช้อยู่ในสภาพแวดล้อมของระดับชาติและนานาชาติที่อาจมีผลกระทบต่อวิชาชีพ
1. กระบวนการสืบค้น
(Inquiry Process)
2. การสอนแบบการตั้งคำถาม (Questioning) 
3. เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
4. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  (Participatory Learning)
5. การสอนแบบบรรยาย
1. ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
2. ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
3.1 มีทักษะในการนำความรู้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ประเด็นหรือปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างสร้างสรรค์เป็นระบบ
 
3.2 สามารถพัฒนาความคิดใหม่ๆ โดยบูรณการความรู้ที่ศึกษาตลอดถึงการใช้เทคนิคการวิจัยในสาขากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1. กระบวนการสืบค้น
(Inquiry Process)
2. การสอนแบบการตั้งคำถาม (Questioning) 
3. เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
4. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  (Participatory Learning)
5. การสอนแบบบรรยาย
1. ประเมินจากการตอบปัญหาและการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน เป็นรายบุคคล
2. ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
4.1  มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.2  สามารถแก้ไขปัญหาทาง
วิชาชีพที่มีความซับซ้อนหรือความยุ่งยากระดับสูงได้ด้วยตนเองสามารถตัดสินใจในการดำเนินงานด้วยตนเอง
4.3 สามารถประเมินตนเองได้
รวมทั้งวางแผนในการปรับปรุงตนเองให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานระดับสูงได้
4.4 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.5  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1. กระบวนการสืบค้น
(Inquiry Process)
2. การสอนแบบการตั้งคำถาม (Questioning) 
3. การสอนแบบบรรยาย
1. ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ  และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
1. ใช้ Power point มีการนำเสนอข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
2. การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูล
3. การมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
4. การนำเสนองานด้วยวาจา
1. ความก้าวหน้าของผลงานเขียนทางวิชาการที่ค้นคว้าที่ให้ปฏิบัติตามหัวข้อในแผนการสอน
2.ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัดเหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ  การอภิปรายกรณีศึกษาต่างๆ  มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
6.1 สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง
6.2 สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
6.3 สามารถปฏิบัติงานได้โดยอัตโนมัติเป็นธรรมชาติ
1. การมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. การนำเสนองานด้วยวาจา
1. งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง
2. การสังเกต
3. การนำเสนองาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและ ความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 1 2 1 2 3 4 5 1 2 3 4
1 MSCPT402 เรื่องเฉพาะทางด้านพืช
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,2.1,2.3,3.2,3.3 การสอบกลางภาค 9 35%
2 2.1,3.2,4.1,4.2, 4.3,5.1,5.2,5.3 รายงาน 8 และ 17 15%
3 1.1, 2.1,2.3,3.2,3.3 การสอบปลาย การนำเสนองาน 17 35%
4 1.1,1.4 การประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม 1-17 5%
5 1.3,4.3 การประเมินพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบ 1-17 5%
6 4.1,4.2,4.3 การประเมินด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม โดยนักศึกษาสมาชิกกลุ่ม 8 และ 17 5%
ชิติ  ศรีตนทิพย์. 2556. เอกสารคำสอนการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน. สถาบันวิจัยเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง.  227 หน้า
ดิเรก  ทองอร่าม. 2548. อกสารประกอบการสอน การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินเพื่อการค้า. (Commercial Soilless Culture) สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. นนทบุรี. 1132 หน้า.
ดนัย  บุญยเกียรติ. 2537. สรีรวิทยาของพืชสวน. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 210 น.
นันทิยา  สมานนท์. 2542. การขยายพันธุ์พืช. พิมพ์ครั้งที่ 3. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่. 447 น.
สมบุญ  เตชะทัญญาวัฒน์. 2538. สรีรวิทยาของพืช.  ภาควิชาพฤษศาสตร์  คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,  กรุงเทพ ฯ.  203 น.
Hartmann., H. T. and D. E. Kester. 1983. Plant Propagation Principles and Practices. 4th Ed. Prentice-Hall, Inc. New Jersey.727 p.
Taiz, L and E. Zeiger. 2006. Plant Physiology. Fourth edition. Springer-Verlag Berlin, Heidenberg. 770 p.
ถวิล  สุขวงษ์. 2546. การปลูกพืชไม่ใช้ดิน. สำนักพิมพ์แม็ค จำกัด. กรุงเทพฯ. 123 หน้า
ทัศนีย์  อัตตะนันทน์. การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินและประวัติความเป็นมา. 2538. น.1-21. ใน คู่มือการฝึกอบรม การปลูกพืชระบบไม่ใช้ดิน (Soilless Culture) ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
นพดล  เรียบเลิศหิรัส. 2538. การปลูกพืชไร้ดิน (Soilless  Culture). ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 100 น.
วรรณภา  เสนาดี. 2546. ธุรกิจผักไฮโดรโพนิกส์ครบวงจรของศูนย์เกษตรกรรมบางไทร. ว. เคหการเกษตร 27 (7): 171-180.
มนูญ  ศิรินุพงษ์. 2544. การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน สู่การปฏิบัติในประเทศไทย. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 90 น.
ยงยุทธ  โอสถสภา. 2543. ธาตุอาหารพืช. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 424 น.
ยงยุทธ  โอสถสภา  ศุภมาศ  พนิชศักดิ์พัฒนา  อรรถศิษฐ์  วงศ์มณีโรจน์และชัยสิทธ์  ทองจู. 2541. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพ ฯ. 547 น.
โสระยา  ร่วมรังสี. 2544. การผลิตพืชสวนแบบไม่ใช้ดิน. โอเดียนสโตร์. กรุงเทพฯ. 78 น.
อานัฐ  ตันโช. 2548. การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน. (Soilless Culture in Tropics). Trio Advertising & Media Co.,Ltd. เชียงใหม่. 167 น.
อารักษ์  ธีรอำพน. 2544. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน. น. 5-28. ใน อารักษ์  ธีรอำพน เอกสารวิชาการเรื่อง การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน. ฝ่ายปรับแปลงและถ่ายทอดเทคโนโลยี เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรธานี. นครราชสีมา.
เอกสิทธิ์  วัฒนปรีชานนท์. 2550. การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินในประเทศไทย. ใน  เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการ  งานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติราชพฤกษ์ 2549 เรื่องการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน โดยกรมวิชาการเกษตรและชมรมปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน วันที่ 5-6 มกราคม 2550 ณ โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว. เชียงใหม่.
CCA Biochemical Co., Inc. 1998. User Guide of Plant Growth Regulator. CCA Biochemical Co., Inc., Los Angeles. 243 p.
FAO. 1990. Soilless Culture for Horticultural Crop Production. Food and Agriculture organization of the United Nation. Rome. 188 p.
Jensen, M H. 1997. Hydroponics. Hortscience. 32 (6)
Leskovar, D.I., D.J. Cantliffe. and P.J. Stoffella 1989. Pepper (Capsicum annuum L.) root growth and its relation to shoot growth in response to nitrogen. J. of Hort. Sci. 64(6):711-716.
Marschner., H. 1995. Mineral Nutrition of Higher Plant. 2nd  edition. Academic Press. New York. 889.
Menzel, C.M., G.F. Haydon and D.R. Simpson. 1995. Growth of lychee (litchi chinensis Sonn.) in sand culture under variable nitrogen supply. J. of Hort. Sci. 70(5):757-767.
Schwarz, M. 1995. Soilless Culture Management. Jerusalem College of Technology. Springer-Verlag, Berlin. 197 p.
Sparks, D. and D.H. Baker. 1975. Growth and Nutrient response of pecan seedlings, Carya illioensis Koch, to nitrogen levels in sand culture. J. Amer. Soc. Hort. Sci. 100(4):392-399.
Acta Horticulture                           Horticultural Reviews
HortScience                                 Indian Journal of Horticulture
Journal of American Society of Horticultural Sciences
Scientia Horticulture
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมใน และนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับและเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
ประเมินโดยสาขาวิชาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมิน หรือจากการสังเกตการสอนโดยอาจารย์ในสาขาวิชา หรือ การสัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษา
สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาตามรายละเอียดที่ สกอ. กำหนดเมื่อสอนจบภาคการศึกษา นอกจากนี้สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอนหรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน  และมีการประชุมอาจารย์ทั้งสาขาวิชาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
สาขาวิชามีคณะกรรมการประเมินการสอนทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชาโดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน ทั้งคะแนนดิบและระดับคะแนน ของรายวิชา 60% ของรายวิชาทั้งหมดในความรับผิดชอบของสาขาวิชา ภายในรอบเวลาหลักสูตร
สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดนพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของภาควิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและ   กลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าสาขาวิชา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป