การบัญชีชั้นสูง 1

Advanced Accounting 1

ศึกษาและฝึกปฏิบัติ เกี่ยวกับการบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจฝากขาย ธุรกิจขายผ่อนชำระ สัญญาเช่า การบัญชีสำนักงานใหญ่สาขาและตัวแทนทั้งในและต่างประเทศ รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศและการแปลงค่างบการเงิน   การบัญชีเกี่ยวกับสัญญาก่อสร้าง การจัดทำงบการเงินจากรายการที่บันทึกไว้ไม่สมบูรณ์  และการบัญชีสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้กิจการที่มีปัญหายุ่งยากทางการเงิน การบัญชีกองทุนและกิจการไม่หวังผลกำไร
ศึกษาและฝึกปฏิบัติ เกี่ยวกับการบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจฝากขาย ธุรกิจขายผ่อนชำระ สัญญาเช่า การบัญชีสำนักงานใหญ่สาขาและตัวแทนทั้งในและต่างประเทศ รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศและการแปลงค่างบการเงิน   การบัญชีเกี่ยวกับสัญญาก่อสร้าง การจัดทำงบการเงินจากรายการที่บันทึกไว้ไม่สมบูรณ์  และการบัญชีสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้กิจการที่มีปัญหายุ่งยากทางการเงิน การบัญชีกองทุนและกิจการไม่หวังผลกำไร
7 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1.1 มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
1.3 สามารถบริหารเวลาและปรับวิธีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม
1.4 มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมมากว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
1). สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพในเนื้อหาวิชาเรียน
2). ให้ความสำคัญในเรื่องการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
3). ปลูกฝังความสำคัญเรื่องมารยาทที่ดีในชั้นเรียนต่อเพื่อนร่วมชั้นเรียนและอาจารย์
4). ให้ความสำคัญและปลูกฝังจิตสำนึกที่มีต่อสังคม และการใช้ทรัพยากรด้วยความประหยัดคำนึกถึงสิ่งแวดล้อม
1). ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพรียงของการเข้าร่วมกิจกรรม
2). ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ
3). ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
4). สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
2.1 มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี
2.2 มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
2.3 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆโดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
2.4 สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง        
1). ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิดหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ ได้แก่ วิธีการสอนโดยใช้การบรรยาย วิธีการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง วิธีการสอนโดยใช้การสาธิต ผ่านโปรแกรมMs Teams และมีการอัดวีดีโอเพื่อให้นักศึกษาสามารถกลับมาดูเพิ่มเติมได้
2). การถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน
3). มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูล
4). มอบหมายงานให้นักศึกษาได้ฝึกปฎิบัติในชั้นเรียน
5). มอบหมายงานใน Microsoft Teams ให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติจากแบบฝึกหัด โดยใช้โปรแกรม Spreadsheet Excel
1). ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมายในMicrosoft Teams การทดสอบย่อย รายงาน การค้นคว้า และการนำเสนอ
2). การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือ การสอบปฏิบัติ
3). ประเมินผลการเรียนรู้จากงานที่มอบหมาย
3.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆเพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
3.2 สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ ในสถานการณ์ต่างๆอย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
3.3 สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
 1). ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบจากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือ สถานการณ์จำลอง
2). วิธีการสอนโดยใช้การบรรยาย วิธีการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง วิธีการสอนโดยใช้การสาธิต 
3). ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบจากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือ สถานการณ์จำลอง
4). มอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้า รายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็น
1). ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือ สถานการณ์จำลองที่ได้รับมอบหมาย
2). ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญา
4.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
4.3 มีความคิดริเร่ิมสร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำและในบทบาทของผู้ร่วมงาน4.4 มีความรับผิดชอบในการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
4.4 มีความรับผิดชอบในการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
 1).  มอบหมายการทำงานแบบกลุ่มย่อยโดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่มและผลัดกันเป็นผู้รายงาน 
 2).  มอบหมายงานการค้นคว้า หาข้อมูล ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ
1). ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
2). ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยเวลาในการส่งงาน
3). สังเกตุพฤติกรรมในชั้นเรียน
5.1 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
1). มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวนเชิงตัวเลข 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1'3 1.4 2.1 2.2 2.3 2.4 3.1 3.2 3.3 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1
1 BACAC130 การบัญชีชั้นสูง 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1,2.2,2.3, 3.2 สอบย่อย 3,4,6,8,11,13,14,15 20
2 2.1,2.2,2.3,3.2 สอบวัดความรู้ midtermบทที่1-5 และfinalบทที่ 6-9 9,18 60
3 1.4,2.4,3.3,4.1,4.2 รายงานการบัญชีกอบทุนและกิจการไม่หวังผลกำไร 17 5
4 2.1,2.2,2.3,2.4 3.1,3.2,4.1,4.2,4.3,4.4,5.1 งานที่มอบหมายและแบบฝึกหัด 1-16 10
5 1.1,1.2,1.3,1.4 4.2 การเช็คชื่อเข้าเรียน การสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน การสังเกตจากงานที่มอบหมาย 1-16 5
กัญนิภัทธิ์ นิธิโรจน์ธนัท, ศิริรัตน์ พ่วงแสงสุข, และ นันทนา แจ้งสว่าง. (2560). การบัญชีชั้นสูง 1. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
ดลกณิศ เต็งอำนวย. (2558). รู้บัญชีขั้นสูง (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ภาควิชาบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นุชจรี พิเชฐกุล.(2563).การบัญชีชั้นสูง1.ปทุมธานี:สาขาวิชาการบัญชีและการเงิน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วรศักดิ์ ทุมมานนท์ และ ณัฐวุฒิ  สุวรรณยั่งยืน. (2557). การบัญชีขั้นสูง 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิศรุต ศรีบุญนาค, พิมพ์พนา ปีตธวัชชัย, และ ณัฐชานนท์ โกมุทพุฒิพงศ์. (2554). ตราสารอนุพันธ์ : การวัด มูลค่า การรับรู้และการบัญชีป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิลปพร  ศรีจั่นเพชร และ อนุวัฒน์  ภักดี. (2562). การบัญชีชั้นสูง. กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วน ทีพีเอ็น เพรส.
 มาตราฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9     การวัดมูลค่าและการรับรู้รายการเครื่องมือทางการเงิน
  มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15     รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า
  มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 16 สัญญาเช่า
        ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางวิชาชีพบัญชี ประกาศเกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน  และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องซึ่งได้จากเว็ปไซต์ต่อไปนี้
           www.tfac.or.th
           www.set.or.th
  ให้นักศึกษาประเมินผลการสอนอาจารย์ผู้สอน ตามแบบประเมินของมหาวิทยาลัย
 1. พิจารณาจากผลคะแนนการสอบ ได้แก่ สอบย่อย สอบวัดความรู้
    2. พิจารณาจากงานที่มอบหมายให้ ได้แก่ ใบงาน แบบฝึกหัด รายงาน
    3. พิจารณาจากพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
    1. นำผลการประเมินประสิทธิผลรายวิชาโดยนักศึกษา มาพิจารณาปรับปรุงการสอน
           2. ผู้สอนควรศึกษาหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา เพื่อนำมาใช้ปรับเนื้อหาการสอนให้เป็นข้อมูล เนื้อหา ที่ทันสมัย
          ให้กรรมการทวนสอบของสาขาการบัญชี เป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจาก มคอ.3 ข้อสอบ ใบงาน และ การตัดเกรด 
          นำเสนอข้อสอบ และการตัดเกรด  ก่อนที่จะมีการสอบและการประกาศผล นำผลการประเมินในข้อ 1 และข้อ 2  ประกอบการพิจารณาข้อบกพร่องของวิธีการสอน  วิธีการประเมินและเนื้อหารายวิชา