ปัญหาพิเศษทางพืชศาสตร์

Special Problems in Plant Science

การศึกษาวิจัยและค้นคว้าทดลอง เพื่อแก้ปัญหาทางพืชศาสตร์ โดยการเก็บข้อมูลนำมาประมวลผลการศึกษาเป็นเอกสารรายงานตามรูปแบบที่กำหนด
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการผลิต และปัญหาทางด้านพืชศาสตร์ แล้วเขียนรายงานที่
ถูกต้องตามหลักวิชาการ หรือ ศึกษาค้นคว้า ทดลอง และวิเคราะห์เพื่อให้ทราบถึง
คำตอบหรือสาเหตุข้อสงสัยจากสมมุติฐานที่ตั้งไว้
- มีวินัย ขยัน อดทน ความซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบในการทำงาน
- จะมีการสอดแทรกหรือยกตัวอย่างประกอบในขณะที่สอนเนื้อหา โดยสอดแทรกเรื่องคุณธรรม   
  จริยธรรม
- กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น ให้เข้าห้องเรียนตรงเวลาและเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ
- ให้มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย
- มีความซื่อสัตย์ในการสอบ
- ร้อยละ ๘๐ ของนิสิต เข้าเรียนตรงเวลา
- ร้อยละ ๘๕ ของนิสิต ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่อาจารย์ผู้สอนกำหนด
- ไม่มีการทุจริตในการสอบ
            - สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
- สามารถบูรณาการความรู้และทักษะทางด้านต่างๆที่ศึกษาเพื่อใช้ในการศึกษา ทดลองหรือ
  ปฏิบัติเกี่ยวกับการผลิตพืช
             - ให้มีการตั้งสมมุติฐาน ข้อสงสัย หรือ ปัญหาในการผลิตพืช  ค้นคว้าข้อมูลและเทคโนโลยีที่
   นำมาใช้ในการอ้างอิง  พร้อมทั้งเสนอโครงการ และให้ศึกษาและทดลองเพื่อหาข้อสรุปจาก
   สมมุติฐานตามโครงการ
             - การประเมินผลจากการรายงานผลการศึกษาหรือปฏิบัติที่ดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนดไว้
  ในโครงร่างปัญหาพิเศษ
- ประเมินจากการรายงานผลการปฏิบัติงานจากอาจารย์ที่ปรึกษาหรือควบคุมการปฏิบัติงาน
              - ความสามารถในการนำความรู้และประสบการณ์ในการปฏิบัติเกี่ยวกับการผลิตพืชหรือ 
   ศึกษาปัญหาในพืชมาประยุกต์ใช้ในการเรียนหรือการประกอบอาชีพเกี่ยวกับการผลิตพืช
            - ฝึกให้วิเคราะห์ปัญหาจากกรณีศึกษาที่มีผู้ศึกษาไว้แล้วโดยให้ไปค้นคว้าจากเอกสารต่าง ๆ รวม
             การค้นคว้าจากฐานข้อมูล และจากผลที่นักศึกษาได้ปฏิบัติและทดลอง
           - จากผลการปฏิบัติ ศึกษา  และทดลอง ที่สามารถวิเคราะห์เพื่อสรุปข้อสมมุติฐาน
           - จากรายงาน การนำเสนอรายงาน
           - มีความสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
           - สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
          - ให้นักศึกษาเสนอโครงการศึกษาหรือวิจัยที่เป็นกลุ่ม หรือเป็นโครงการเดี่ยว ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ที่เกี่ยวข้อง
          - ประเมินจากกระบวนการทำงาน พฤติกรรม และผลงานที่ทำเป็นกลุ่ม และจากอาจารย์ที่เกี่ยวข้อง
           - สามารถสืบค้น  ศึกษา  วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่าง
เหมาะสม
           - สามารถใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ให้มีการเสนอโครงการผลิตพืช  หรือศึกษา หรือวิจัย ในพืช และสรุปผลที่ได้จากการปฏิบัติ โดย
อาจใช้ตัวเลขทางสถิติ
           -  ในการค้นคว้านั้น ส่วนหนึ่ง นิสิตจะต้องค้นคว้าจาก หนังสือ เอกสาร วารสารหรือฐานข้อมูล
ทางด้านวิชาการ เพื่อนำมาใช้ในการอ้างอิง  และสรุปผลให้เป็นไปตามหลักวิชาการ
- ประเมินจากผลงานที่ต้องวิเคราะห์เชิงปริมาณ
           - ประเมินจากภาษาที่ใช้ในการเขียนรายงาน การดำเนินงาน การวิเคราะห์และสรุปผล
           - ประเมินจากการนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยอาจนำเสนอในรูปของตัวเลข กราฟหรือ             
             ตาราง
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 1. คุณธรรมจริยธรรม
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2 2 1 2 2 1 2
1 BSCAG115 ปัญหาพิเศษทางพืชศาสตร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ๑.๓ ๒.๒ ๒.๓ ๕.๑ ๕.๒ งานมอบหมาย ๑-๓ ๕%
2 ๑.๓ ๒.๒ ๒.๓ ๕.๑ ๕.๒ การนำเสนอโครงการ ๕%
3 ๑.๓ ๒.๒ ๒.๓ ๓.๑ ๔.๑ ๔.๓ ๕.๑ ๕.๒ ผลงานการปฏิบัติ / ศึกษา ๓-๑๖ ๗๐%
4 ๒.๒ ๒.๓ ๕.๑ ๕.๒ ๕.๓ การเขียนรายงาน ๑๖ ๒๐%
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร. มปป. คู่มือปัญหาพิเศษ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านลำปาง.
บัณฑิตวิทยาลัย. ๒๕๔๕. คู่มือวิทยานิพนธ์สายวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,
กรุงเทพฯ.
www.flas.ku.ac.th/agrmec/index.php
      http://www.flas.ku.ac.th/sci/filedata/special_problem_hb.pdf.
ให้นิสิตประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและ
    นอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้
    ที่ได้รับพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง
             ประเมินโดยภาควิชาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมิน หรือจากการสังเกตการสอนโดย
    อาจารย์ในสาขาชา
สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผล
 การประเมินประสิทธิภาพของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานเมื่อสอนจบภาคเรียน นอกจากนี้ควร
    กำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอนหรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียน
    การสอนควรมีการประชุมอาจารย์ทั้งภาควิชาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนิสิตและร่วมกันหา
     แนวทางแก้ไข
            สาขาวิชามีคณะกรรมการประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน โดย
    การสุ่มรายวิชา ภายในรอบเวลาหลักสูตร
            สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมิน
    การสอนโดยนิสิต ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินของภาควิชา การรายงานรายวิชา
   โดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการ
   ทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนา
   ในรายงานรายวิชา เสนอต่อที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุป
  วางแผนพัฒนาปรับปรุงพร้อมนำเสนอสาขาวิชา / คณะ เพื่อใช้ในการสอนครั้งต่อไป