มูลฐานของวิศวกรรมการผลิต

Fundamentals of Production Engineering

เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม วิทยาการทางวิศวกรรมร่วมกับวิทยาการการจัดการซึ่งเป็นการประสานความรู้เชิงกว้างในการปฏิบัติการทางวิศวกรรม และใช้ความรู้ทางด้านการจัดการที่ท้าทายต่อการผลิตให้มุ่งสู่เป้าหมายของความสำเร็จในการทำให้กระบวนการผลิตไม่สะดุด รอบคอบมากที่สุด และเป็นแนวทางที่ประหยัดที่สุด เพื่อนักศึกษาจะได้นําความรู้ ความสามารถไปใช้ในการประกอบอาชีพทางด้านวิศวกร
เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้พื้นฐานในด้านการผลิตและการจัดการด้านวิศวกรรมซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานของวิศวกร ทางอาจารย์ผู้สอนจึงได้ดําเนินการจัดทําแผนการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทุกหัวข้อของรายวิชา และเป็นแนวทางให้นักศึกษาได้มีการเตรียมความพร้อมในการศึกษาล่วงหน้าและทางผู้สอนเองก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้ทันต่อเทคโนโลยีการผลิตซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
เรียนรู้เกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม วิทยาการทางวิศวกรรมร่วมกับวิทยาการการจัดการซึ่งเป็นการประสานความรู้เชิงกว้างในการปฏิบัติการทางวิศวกรรม และใช้ความรู้ทางด้านการจัดการที่ท้าทายต่อการผลิตให้มุ่งสู่เป้าหมายของความสำเร็จในการทำให้กระบวนการผลิตไม่สะดุด รอบคอบมากที่สุด และเป็นแนวทางที่ประหยัดที่สุด
อาจารย์จัดเวลาให้คําปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ตองการ)
1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1. นักศึกษาต้องเข้าชั้นเรียน และส่งงานที่มอบหมายตามกําหนดเวลา
2. ชี้แจงวิธีการปฏิบัติในการเรียนการสอน และกฎระเบียบข้อบังคับ
3. บรรยายเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการจัดการด้านวิศวกรรมที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม
4. มอบหมายงานประจําวิชา ค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และรายงาน
1. พิจารณาพฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งผลงานที่ได้รับมอบหมายตรงตามกําหนดเวลา
2. มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทํารายงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม
3. การร่วมกิจกรรมระหว่างเรียน การร่วมอภิปรายที่มีเหตุผลถูกต้องเหมาะสมและสร้างสรรค์
2.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สําคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
1. บรรยาย อภิปราย ยกตัวอย่าง
2. มีกิจกรรม ประเด็นปัญหาเพื่อการถาม–ตอบในระหว่างการเรียนการสอน
3. การนําเสนอผลงานและรายงาน การวิเคราะห์ผลงานที่นักศึกษาทํา
1. ทดสอบกลางภาคและสอบปลายภาคด้วยข้อสอบที่เน้นวัดหลักการและทฤษฎี
2. ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย
3. นําเสนอสรุปผลจากรายงานที่มอบหมาย และการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
3.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
1. การบรรยาย อภิปราย/ซักถาม
2. ปฏิบัติงานและวิเคราะห์งานที่ได้ปฏิบัติ
3. การทํางานกลุ่ม การนําส่งผลงาน
4. การสรุปบทเรียน
1. ตรวจผลการสอบกลางภาคและสอบปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้เครื่องมือการผลิตในงานอุตสาหกรรม
2. วัดผลจากการทดสอบและการส่งผลงาน
3. สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานและการแก้ไขปัญหารวมถึงการทํางานกลุ่ม
4.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทํางานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทํางานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นําและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสมสามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
1. มอบหมายงานกลุ่ม และรายบุคคล
2. ปฏิบัติตามใบงานที่ได้รับมอบหมาย
3. การนําเสนอรายงาน
1. ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กําหนด
2. ประเมินจากรายงานที่นําเสนอ พฤติกรรมการทํางานเป็นทีม
3. ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
1. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทํารายงานโดยเน้นการนําการเขียน การใช้สัญลักษณ์ จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
2. นําเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1. ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนําเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
2. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและการวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 2.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สําคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม 3.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 3.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ 4.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทํางานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทํางานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นําและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสมสามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ 5.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
1 ENGMC119 มูลฐานของวิศวกรรมการผลิต
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1-2.1 2.2-2.4 2.1-2.6 5.1-5.4 6.1-6.6 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 3 สอบปลายภาค 4 6 9 14 17 10% 10% 15% 15% 20%
2 1.1-6.6 การส่งงานตามที่มอบหมาย ตรงต่อเวลา รายงาน ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1-1.6 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
ธนรัตน์ แต้วัฒนา และมณฑล แสงประไพทิพย์. กรรมวิธีการผลิต. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น,2546.
รชต ขำบุญ และคณะ. การจัดการการผลิตและการปฏิบัติการ. นนทบุรี: กรีนแอปเปิ้ลกราฟฟิค,2556.
ชลิตต์ มธุรสมนตรี และคณะ. กระบวนการผลิต. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ, 2544.
มานพ ตัณตระบัณฑิตย์. กรรมวิธีการผลิต. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย–ญี่ปุ่น), 2542.
สมศักดิ์ อิทธิโสภณกุล. อุตสาหกรรมการผลิตเหล็ก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย–ญี่ปุ่น), 2555.
สุมน มาลาสิทธิ์. การจัดการการผลิตและการดำเนินการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สามลดา,2552.
ภูษิต วงศ์หล่อสายชล. การจัดการดำเนินงาน. กรุงเทพฯ: ท้อป, 2555.
สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาลย์. การบริหารการผลิตและการดำเนินงาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.
บุญธรรม ภัทราจารุกุล. กรรมวิธีการผลิต. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2560.
เจริญ นาคะสรรค์. เทคโนโลยีเบื้องต้นทางพลาวสติก. กรุงเทพฯ: โฟร์เพช, 2546.
เจริญ นาคะสรรค์. กระบวนการแปรรูปพลาสติก. กรุงเทพฯ: นิติธรรม, 2542.
พงศ์ชนัน เหลืองไพบูลย์. การวิจัยดำเนินงาน. กรุงเทพฯ: ท้อป, 2553.
บุษบา พฤกษาพันธุ์รัตน์. การวางแผนและควบคุมการผลิต. กรุงเทพฯ: ท้อป, 2552.
พิภพ ลลิตาภรณ์. การบริหารพัสดุคงคลัง. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย–ญี่ปุ่น), 2552.
อัมพิกา ไกรฤทธิ์. การวิเคราะห์คุณค่า. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
พิชิต สุขเจริญพงษ์. การจัดการวิศวกรรมการผลิต. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2540.
ชุมพล ศฤงคารศิริ. การวางแผนและควบคุมการผลิต. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย–ญี่ปุ่น), 2551.
ธนรัตน์ แต้วัฒนา และมณฑล แสงประไพทิพย์. กรรมวิธีการผลิต. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น,2546.
รชต ขำบุญ และคณะ. การจัดการการผลิตและการปฏิบัติการ. นนทบุรี: กรีนแอปเปิ้ลกราฟฟิค,2556.
พิชิต สุขเจริญพงษ์. การจัดการวิศวกรรมการผลิต. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2540.
-เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คําอธิบายศัพท์
-เว็บไซต์ สําหรับการสืบค้นข้อมูลและรูปภาพ เช่น Google
-เว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้องกับสื่อวีดีโอเครื่องจักรและการใช้งาน เช่น Youtube
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทําโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนําแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทําเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารยประจําหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ