การอ่านเพื่อความเข้าใจ

Reading for Comprehension

1. เพื่อศึกษากลวิธีการอ่าน เน้นการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญและรายละเอียดของเรื่องที่อ่าน 
2. ประยุกต์ใช้กลวิธีการอ่านกับงานเขียนประเภทต่างๆ
เพื่อปรับปรุงเนื้อหาวิชาให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงโดยเน้นโดยเน้นทักษะการอ่าน ฝึกทักษะการใช้กลวิธีในการอ่านแบบต่างๆ เพื่ออ่านงานเขียนที่หลากหลาย รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบและแนวปฏิบัติ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ของกระทรวงศึกษาธิการและสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2552) และการจัดการ เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
ศึกษาและฝึกทักษะการอ่านด้วยกลวิธีต่างๆ และประยุกต์ใช้วิธีการอ่านที่เหมาะสมกับงานเขียนที่หลากหลาย
Study and practice reading skills and apply appropriate reading skill to various writing materials
      -    จัดเวลาให้คําปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ 1 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ 
      -    ติดต่อทางโทรศัพท์
มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ให้ความรู้โดยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในเนื้อหาของบทเรียนต่างๆ กำหนดให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ให้นักศึกษานำความรู้ที่ค้นคว้ามาแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่มในช่วงการอภิปรายระดมสมอง ให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นและช่วยกันระดมสมองเพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด
การเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอและตรงต่อเวลา การส่งงานมอบหมายตามเวลาที่กำหนด การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน การเข้าร่วมกิจกรรมซึ่งมหาวิทยาลัยฯ คณะฯ สโมสรนักศึกษาฯ สาขาฯ หลักสูตรฯ และชมรมได้จัดขึ้น
       (1) มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 
       (2) มีความรู้ความสามารถในใช้ทักษะด้านการอ่าน เขียน และพูด
       (3) มีความรู้และความเข้าใจในการใช้สื่อต่าง ๆ ช่วยในการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
       (4) สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 
     ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย

ศึกษาความรู้จากเนื้อหาในบทเรียนต่างๆ แล้วทำกิจกรรมประกอบเนื้อหาตามที่กำหนดในบทเรียน ระดมสมองและรวมกลุ่มอภิปรายคำตอบและระดมสมองเพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด การทํางานที่ได้รับมอบหมายนอกชั้นเรียน นักศึกษาฝึกปฏิบัติทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
 

การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน การทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมด้วยตนเอง การพิจารณาจากงานที่มอบหมาย ทดสอบกลางภาคและปลายภาค
ทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการ โดยนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาในบทเรียน และจากการค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน มาใช้ในสถานการณ์ที่กำหนด การใช้งานภาษาอังกฤษผ่านทักษะต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ทางวิชาการ
(1) ให้นักศึกษาฝึกทักษะเกี่ยวกับทางวิชาการโดยเน้นผู้เรียนค้นคว้าด้วยตัวเองทั้งในและนอกห้องเรียน
(2) นําความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้เพื่อจุดประสงค์ทางวิชาการ
การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน การพิจารณาจากงานที่มอบหมาย การสรุปความคิดรวบยอดของแต่ละหน่วยเรียน การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
        พัฒนาผู้เรียนให้มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี ทั้งต่ออาจารย์ผู้สอน เพื่อนร่วมชั้นเรียน สังคมภายนอกชั้นเรียน และกลุ่มสังคมอื่นๆ รวมถึงส่งเสริมการนำความรู้นั้นมาช่วยเหลือสังคมในสถานการณ์การสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
ให้ความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีตามมารยาทสังคมของกลุ่มสังคมเฉพาะต่างๆ จัดกิจกรรมแบบกลุ่มย่อยในชั้นเรียนและกระตุ้นให้นักศึกษาเข้าร่วมกลุ่มอย่างสร้างสรรค์ ทำแบบฝึกหัดนอกชั้นเรียน โดยกำหนดให้นักศึกษาแสวงหาความรู้จากการค้นคว้าหรือสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มสังคมต่างๆ และนําเสนอผลงานกลุ่ม 
การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน การพิจารณาจากพฤติกรรมการทํางานภายในกลุ่มของนักศึกษา การพิจารณาจากผลงานที่มอบหมาย
พัฒนาผู้เรียนให้สามารถอ่านและทำความเข้าใจบทอ่านในภาษาอังกฤษเพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศและสอดคล้องกับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
นักศึกษาฝึกฝนการอ่านเรื่องสั้นในบริบทต่างๆ ในชั้นเรียน ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติในชั้นเรียนตามสถานการณ์ที่กําหนด ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติเพิ่มเติมด้วยตนเองนอกชั้นเรียนผ่านการหาข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.5 1.6 1. คุณธรรมจริยธรรม 1.1 2.2 3. ทักษะทางปัญญา 3.1 3.3 4.3 5.2 5.6
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา ส่งเสริมให้นักศึกษาเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำและการเป็นสมาชิกของกลุ่ม ยกย่องและเชิดชูผู้ที่ทำความดีและเสียสละ สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชาและเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติ และมอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนร่่วมชั้นเรียน จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติในห้องเรียน จัดกิจกรรมส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม มีหน้าที่บทบาทในกลุ่มชัดเจน จัดให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารในสถานการณ์ วัฒนธรรมที่หลากหลายหรือในการนำเสนอ ให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นน ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ
1 BOAEC109 การอ่านเพื่อความเข้าใจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 Short story quizzes นักศึกษาสอบเก็บคะแนนความเข้าใจจากเรื่องสั้นที่มอบหมายให้อ่าน สัปดาห์ที่ 4, 8, 11, 16 10 คะแนน
2 Extensive Reading Report นักศึกษาเลือกเรื่องสั้นอ่านนอกเวลา สัปดาห์ที่ 3, 5, 7, 10, 12, 14 30 คะแนน
3 สอบกลางภาค สัปดาห์ที่ 9 25 คะแนน
4 สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 16 25 คะแนน
5 จิตพิสัย การเข้าชั้นเรียน สัปดาห์ที่ 15 10 คะแนน
Reading Power 2 ( 4th Edition) ผู้แต่ง Linda Jeffries & Beatrice S. Mikulecky (2009) สำนักพิมพ์ Pearson Longman
หนังสือเรื่องสั้นอ่านนอกเวลา