ฝึกงานทางวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

Job Internship in Food Science and Technology

เมื่อนักศึกษาฝึกประสบการณ์ภาคสนามนี้แล้ว นักศึกษาจะสมรรถนะในด้านต่าง ๆ ได้แก่
1.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และ/หรือเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับงานในสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
1.2 นักศึกษาได้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างความรู้ทางทฤษฎีและการนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
1.3 นักศึกษาได้เรียนรู้และเข้าใจกระบวนการและวิธีการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารมาใช้ในการทำงาน
1.4 ฝึกความอดทน การมีวินัย และความซื่อสัตย์ในการปฎิบัติงาน
1.5 พัฒนาความสามารถในการปรับตัวให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เข้าใจชีวิตการทำงานและวัฒนธรรมองค์กร
2.1 เพื่อให้เป็นวิชาที่นักศึกษาได้บูรณาการความรู้ที่ได้ศึกษามาทั้งหมด ประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติจริงในสถานประกอบการ จะเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรง ทำงานเป็นทีม เป็นการเตรียมความพร้อมและปรับตัวให้สามารถทำงานได้จริงเมื่อสำเร็จการศึกษา ภายใต้การดูแลของพนักงานพี่เลี้ยงจากสถานประกอบการณ์และอาจารย์ที่ปรึกษา
2.2 เพื่อให้อาจารย์และนักศึกษาเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการฝึกงานในทิศทางเดียวกันและสอดคล้องกับภาวะการณ์ปัจจุบันให้มากที่สุด
ฝึกปฏิบัติงานการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร หรือหน่วยงานเอกชนและราชการที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ภายในหรือต่างประเทศโดยบูรณาการความรู้ที่ได้จากการศึกษาในหลักสูตรกับการปฏิบัติงานมีการจัดทำรายงานการฝึกงาน การนำเสนอและให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนางาน
On-the-job training program in food industrial factories, governmental or non-governmental organization in country or abroad; integrate knowledge into practice; report writing; internship presentation and recommendation for development.
3 ชั่วโมง
˜1.1 มีระเบียบวินัย อดทน ตรงต่อเวลาซื่อสัตย์สุจริต
˜1.2 นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการฝึกงานอย่างถูกต้อง โดยคำนึงถึงคุณธรรม และจริยธรรม
˜1.3 มีจรรยาบรรณวิชาชีพ คำนึงถึงความปลอดภัยส่วนบุคคล และส่วนรวม
˜1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1. การอบรมก่อนการฝึกงานให้นักศึกษาทราบถึงแนวการปฏิบัติตนในระหว่างการฝึกงานในเรื่องของการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลในระดับต่าง ๆ ของสถานประกอบการ การปฏิบัติตามกฏระเบียบของสถานประกอบการ
2. ขอความร่วมมือกับสถานที่ฝึกงานให้กำหนดตารางเวลาฝึกประสบการณ์ภาคสนาม กำหนดขอบเขตของงาน วิธีการประเมินผลงานให้นักศึกษาทราบ และมอบหมายงานและควบคุมให้นักศึกษาปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานประกอบการ เช่นเดียวกับพนักงานขององค์กร
3. มีสมุดคู่มือการฝึกงาน ที่สามารถบันทึกผลการปฏิบัติงานในแต่ละวัน
4) ประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
1. นักศึกษาประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้แบบสอบถามมาตรฐานที่วัดคุณธรรมจริยธรรม
2. ประเมินโดยพนักงานพี่เลี้ยง หรือพนักงานควบคุมการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม จากการสังเกตพฤติกรรมและการแสดงออกระหว่างฝึกประสบการณ์ภาคสนาม โดยมีการบันทึกผลการประเมิน และมีหลักฐานแจ้งให้นักศึกษาทราบด้วยทุกครั้ง
3. ประเมินความซื่อสัตย์จากการพูดคุย สัมภาษณ์เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน และผู้เกี่ยวข้องพร้อมมีรายงานผลการฝึกประสบการณ์ภาคสนามประกอบ
2.1 สามารถวิเคราะห์ปัญหา และประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือเกี่ยวกับ เทคโนโลยีการอาหารที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
2.2 มีความรู้/ความเข้าใจทางด้านเทคโนโลยีการผลิต การควบคุมคุณภาพ หรือระบบประกันคุณภาพ หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตามที่ได้รับการฝึกประสบการณ์
1. สถานประกอบการที่ฝึกประสบการณ์ภาคสนาม จัดพนักงานพี่เลี้ยงให้คำแนะนำเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ บอกถึงแหล่งข้อมูลเพื่อให้นักศึกษาได้ค้นคว้าข้อมูลเพื่อการทำงานได้ด้วยตนเอง
2. ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ที่มีในหน่วยงานเพื่อการปฏิบัติงานจริงภายใต้การดูแลของพนักงานพี่เลี้ยง
3. พนักงานพี่เลี้ยงมอบหมายให้นักศึกษาได้ทำงานวิจัยเพื่อหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการหรือพัฒนากระบวนการการผลิตให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
1. ประเมินจากผลการปฏิบัติงาน โดยผู้เกี่ยวข้อง เช่น พนักงานพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศ
2. ประเมินผลจากการตรงต่อเวลาในการทำงาน และความสมบูรณ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย โดยกำหนดแบบฟอร์มบันทึกการสั่งงาน
3. การนำเสนอผลการฝึกงานของนักศึกษา
3.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
3.2 สามารถนำความรู้ทางทฤษฎีมาอธิบายการทำงานในภาคปฏิบัติ
3.3 สามารถวิเคราะห์ประเด็นปัญหา และเสนอแนวทางการแก้ไขได้อย่างเหมาะสม
1. การมอบหมายโจทย์ปัญหา ให้ฝึกการค้นหาสาเหตุของปัญหา หรือมอบหมายโจทย์ปัญหาในรูปแบบของโครงงานวิจัย ให้ฝึกการออกแบบการทดลอง และวิเคราะห์ผลเชิงสถิติที่เหมาะสม รวมทั้งฝึกการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในสภาพแวดล้อมจริง
2. จัดทำรายงานผลวิเคราะห์และนำเสนอ
3. ประชุมร่วมกันระหว่างพนักงานพี่เลี้ยง อาจารย์ที่ปรึกษา และนักศึกษาฝึกประสบการณ์ภาคสนาม สม่ำเสมอและต่อเนื่อง
1. ประเมินผลจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย ตามหัวข้อที่กำหนด โดยอ้างอิงทฤษฎีในวิชาที่ เกี่ยวข้องและควรนำมาเป็นพื้นฐานในการทำงาน
2. การนำเสนอผลการฝึกงานของนักศึกษา
˜4.1 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในงานกลุ่ม
˜4.2 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
˜4.3 สามารถวางตัวในตำแหน่งงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างเหมาะสม
4.4 กล้าแสดงความคิดเห็นในขอบเขตของงานและภาระหน้าที่
4.5 พัฒนาตนเองจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง และจากการฝึกอบรม หรือการสอบถามเพื่อนร่วมงาน
4.6 สร้างความสัมพันธ์อันดี ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันในหน่วยงาน
1. สร้างกิจกรรมเพื่อพัฒนาทัศนคติให้เกิดความรู้รัก สามัคคี พร้อมทำงานเป็นทีม
2. ขอความร่วมมือจากสถานที่ฝึกงานให้มอบหมายงานที่ต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม มีการแบ่งงานกันอย่างชัดเจนมอบหมายงานที่ต้องไปพูดคุย สัมภาษณ์ เพื่อให้ได้ข้อมูล
3. ประชุมร่วมกัน เพื่อมอบหมายงาน ติดตามงาน ประเมินผล
1. ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม จากการสัมภาษณ์ผู้ร่วมงาน หรือผู้เกี่ยวข้อง
2. ประเมินจากข้อมูลที่ได้รับจากที่นักศึกษาไปสัมภาษณ์
3. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และการได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน หรือผู้เกี่ยวข้อง
5.1 สามารถใช้ความรู้ทางสถิติ คณิตศาสตร์ เทคนิคการคำนวณ เพื่อแก้ปัญหาโจทย์ที่ได้รับมอบหมาย อย่างเหมาะสม
˜5.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
5.3 สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารหรืออินเทอร์เน็ตในการค้นคว้า หาข้อมูลประกอบการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. มอบหมายงานที่ต้องใช้คณิตศาสตร์ ทักษะการคำนวณ หรือใช้สถิติเพื่อนำเสนอข้อมูล โดยผ่านการทำโครงงานวิจัย
2. กำหนดให้มีการนำเสนอผลการฝึกงานด้วยPower point
3. กำหนดให้นักศึกษาจัดทำรายงานสรุปผลการฝึกงาน
1. ประเมินจากรายงาน และการนำเสนอความครบถ้วนของข้อมูล และครอบคลุมเนื้อหาที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนความเข้าใจและความถูกต้องในเนื้อหาที่นำเสนอ มารยาทและบุคลิกภาพในการนำเสนอ
2. ประเมินจากผลการแก้ปัญหาโดยเน้นความถูกต้องและเหมาะสม
˜ 6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการรวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
1. จัดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม โดยให้ใช้เครื่อง อุปกรณ์และวิธีการให้ได้มาซึ่งขบวนการแก้ปัญหาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารอย่างเหมาะสม
1. ประเมินจากความประสบความสำเร็จของงานตามระยะเวลาที่กำหนด และการใช้อุปกรณ์เครื่องมือได้อย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 คุณธรรม จริยธรรม 2 ความรู้ 3 ทักษะทางปัญญา 4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5 ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7 1
1 BSCFT107 ฝึกงานทางวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ประเมินมาตรฐานผลการเรียนรู้ของนักศึกษาทั้ง 6 ด้าน เน้นความรับผิดชอบหลักในแต่ละด้านโดยใช้แบบประเมินของมหาวิทยาลัยหรือคณะหรือหลักสูตร พนักงานพี่เลี้ยงเป็นผู้ประเมินสองครั้งคือ ประเมินเมื่อฝึกงานผ่านไปได้ครึ่งหนึ่งของระยะเวลาฝึกงานทั้งหมด (คิดเป็นร้อยละ 40) และประเมินเมื่อสิ้นสุดการฝึกงาน (คิดเป็นร้อยละ 40) โดยมีแบบสอบถามประเด็นต่างๆ ตลอดการฝึกภาคสนาม พอใจ (S)
2 นำผลการประเมินนักศึกษาฝึกประสบการณ์ภาคสนาม จัดทำรายงานและสมุดบันทึกการฝึกงาน มานำเสนออภิปราย เพื่อวิเคราะห์รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นแนวทางในการฝึกประสบการณ์ภาคสนามต่อรุ่นต่อไป อาจารย์เป็นผู้ประเมินหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกงาน สรุปผลการประเมิน และรายงาน (คะแนนร้อยละ 20) หลังปฏิบัติฝึกงานภาคสนาม พอใจ (S)
นักศึกษาประเมินตนเอง และสถานประกอบการจากแบบสอบถาม
นักศึกษาประเมินผลการเรียนการสอนในระบบอินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัย
นำผลจากการประเมินผลการฝึกงานของนักศึกษา จากรายงานผลการฝึกงาน บันทึกการให้คำปรึกษา ผลการดำเนินงานของนักศึกษาหลังให้คำปรึกษาในแบบฟอร์ม รายงานผลการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม
2.1 อาจารย์ผู้รับผิดชอบประมวลผลการฝึกงานของนักศึกษา พร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากนักศึกษา พนักงานพี่เลี้ยง 
 
2.1 อาจารย์ผู้รับผิดชอบประมวลผลการฝึกงานของนักศึกษา พร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากนักศึกษา พนักงานพี่เลี้ยง และอาจารย์ที่เกี่ยวข้อง รายงานต่ออาจารย์รับผิดชอบหลักสูตร และประธานหลักสูตร หรือหัวหน้าภาควิชาเพื่อทราบ แล้วรายงานให้คณะฯทราบและพิจารณา
2.2 ประชุมหลักสูตร หรือภาควิชา ร่วมพิจารณานำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงสำหรับการใช้รอบปีการศึกษาถัดไป นำแสดงไว้ในรายงานผลการดำเนินการหลักสูตร