การจัดการและบริหารธุรกิจออกแบบสื่อ

Management and Administration for Media Design Business

1.1 นักศึกษามีจิตอาสา มีจิตสำนึกสาธารณะ และมีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.2 เพื่อให้นักศึกษามีความรอบรู้ในศาสตร์ทางออกแบบสื่อสารและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
1.3 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน หรือธรรมเนียมปฎิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรมในสาขาวิชาที่ศึกษา
1.4 นักศึกษาสามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ
1.5 นักศึกษามีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทของตนเอง รับฟังความเห็นของผู้อื่นและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
1.6 นักศึกษาสามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่มี เนื่องจากเป็นวิชาใหม่
ศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจการออกแบบ กระบวนการดำเนินการธุรกิจการออกแบบ การบริหารจัดการ การบริหารงานลูกค้า กฎหมายธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อาทิ สัญญาว่าจ้างการคิดค่าบริการวิชาชีพ การควบคุมงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป้าหมายตลอดจนการประเมินผล จรรยาบรรณวิชาชีพนักออกแบบและผู้ประกอบการ Study of business design, Management, Customer management. Laws related to the Media design Business : client contracting, business law, Costing, project controls and evaluation and ethics.
๑) อาจารย์ประจำรายวิชาให้คำปรึกษาและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับงานเขียนของนักศึกษาผ่านทางเว็บไซต์และเครือข่ายสังคมออนไลน์
๒) อาจารย์ประจำรายวิชาให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล (เฉพาะรายที่ต้องการและนัดหมายล่วงหน้า)
1. มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ
2. ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
ทำการสอนนักศึกษาให้มีระเบียบวินัย ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยใช้การบรรยาย สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษากิจกรรมจิตอาสา และการมีจิตสำนึกสาธารณะ
ประเมินจากการเข้าชั้นเรียน ความมีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบ
ประเมินจากความตรงต่อเวลาในการส่งงานและประสิทธิผลของงานที่ได้รับมอบหมาย
ประเมินจากการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
ประเมินจากผลงาน และการรายงานหน้าห้อง
รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรม ศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา
บรรยาย อภิปรายในชั้นเรียน โดยใช้ powerpoint และการถามตอบกับนักศึกษา ใช้การเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี มีการมอบหมายงานโดยการสร้างโจทย์ให้เรียนรู้จากสถานการณ์จริง เช่น ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม, ประสบการณ์ที่เกี่ยวกับสายงานวิชาชีพออกแบบสื่อสาร
ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
ประเมินจากการสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
ประเมินจากการสอบย่อย
ประเมินจากประสิทธิผลจากการค้นคว้า และการรายงานหน้าห้อง
สามารถค้นคว้า รวบรวม และประเมินข้อมูล จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย อย่างมีวิจารณญาณ
ใช้การมอบหมายงานโดยใช้กรณีศึกษา และมอบหมายงานให้สืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูล การนำเสนองาน โดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม จากนั้นให้นักศึกษาร่วมแสดงความคิดเห็นจากผลงานของเพื่อนในชั้นเรียน
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน
รายงานสรุปผลการปฏิบัติงานพร้อมข้อเสนอแนะ
กระบวนการปฏิบัติงานกลุ่ม
ประเมินจากการนำเสนองาน
การถามตอบข้อซักถามจากอาจารย์และเพื่อนในห้อง
มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม มอบหมายงานหรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตาม และจัดให้มีการประสานงานกับองค์กรหรือบุคคลภายนอก โดยมีการรายงานผลการประชุมและผลการดำเนินงานเป็นระยะ เพื่อเป็นสอบถามความก้าวหน้า และทราบปัญหาการทำงาน จากนั้นนักศึกษาอภิปรายผลการปฏิบัติงาน ปัญหาอุปสรรคในการทำงานทีละกลุ่ม และเปิดโอกาสในเพื่อนในห้อง การวิพากษ์วิจารณ์ ซักถามตอบและเสนอข้อคิดเห็นในการทำงาน
การประเมินตนเองและเพื่อนในการปฏิบัติงาน
พฤติกรรมในชั้น และการทำกิจกรรมจากภาพเบื้องหลังการทำงาน
พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และงานกิจกรรมของหลักสูตร คณะฯ มหาวิทยาลัย
ประสิทธิภาพผลงานกลุ่ม
การถามตอบ แสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียน ในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้นักศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์จำลอง หรือ สถานการณ์จริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้สามารถจัดการข้อมูลการนำเสนองานให้เหมาะสม
ประเมินจากการเลือกใช้ภาษาในการอธิบายและนำเสนอผลงาน
ประเมินจากการถามตอบ และแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
ประเมินจากความถูกต้องในการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BAACD109 การจัดการและบริหารธุรกิจออกแบบสื่อ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ๑(๑), ๑(๓) การเข้าเรียน การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน การแสดงพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน การส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด ความซื่อสัตย์ในการทำงานและการอ้างอิงข้อมูล ๑-๑๘ ๑๐
2 ๑(๑), ๑(๓), ๒(๑), ๒(๔), ๓(๑), ๔(๑), ๕(๑) การทำรายงาน (Media Design Planning Project) ๒-๑๕ ๓๐
3 ๑(๑), ๑(๓), ๒(๑), ๒(๔), ๓(๑), ๔(๑), ๕(๑) ผลงานกลุ่ม (คลิปวิดีโอ) ๑๐
4 ๑(๓), ๒(๑), ๓(๑), ๔(๑), ๕(๑) การนำเสนอ ๑๕-๑๖ ๑๐
5 ๑(๑), ๑(๓), ๒(๑), ๒(๔), ๓(๑), ๕(๑) การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค การสอบย่อย ๙ ๑๘ ๒๐ ๒๐
• การโฆษณาเบื้องต้น. กัลป์ยกร วรกุลลัฎฐานีย์ และ พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
• หลักการโฆษณา. นธกฤต วันต๊ะเมล์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
• การโฆษณา. องอาจ ปทะวานิช. สำนักพิมพ์แสงดาว
• Belch, G. E. and Michael A. Belch (2003), Advertising and Promotion: an integrated marketing communications perspective
• Shimp T. and J. Craig Andrews (2013), Advertising, Promotion, and other aspects of Integrated Marketing Communications
• นธกฤต วันต๊ะเมล์, การสื่อสารการตลาด
• อรรถการ สัตยพาณิช, การสื่อสารการตลาดครบไลน์
-
Online resources:
• https://www.marketingoops.com/
• https://adaddictth.com/
• https://www.planbmedia.co.th
ให้นักศึกษาประเมินเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในประเด็นต่อไปนี้
๑.๑ ให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอนในประเด็นต่อไปนี้
• ความตรงต่อเวลา
• การแต่งกาย บุคลิกภาพ
• คำพูดและวาจาสุภาพ เหมาะสม
• การเป็นแบบอย่างที่ดี สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมระหว่างการสอน
• ความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาให้เข้าใจและกระตุ้นการเรียนรู้
• แจ้งและสรุปวัตถุประสงค์การศึกษาหัวข้อที่สอน
• จัดการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์การศึกษา
• การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม แสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน
๑.๒ ให้นักศึกษาประเมินภาพรวมของรายวิชาในประเด็นต่อไปนี้
• ความรู้ความสามารถโดยรวม และประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรายวิชานี้
• ความพึงพอใจต่อการเรียนรายวิชานี้
ให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหรืออาจารย์ที่ได้รับมอบหมาย ดำเนินการดังต่อไปนี้ ๒.๑ ให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอนและภาพรวมของรายวิชาตาม ข้อ ๑
๒.๒ สุ่มสังเกตการสอนและประเมินการจัดการเรียนการสอน ในประเด็นต่อไปนี้
• ความตรงต่อเวลา
• การแต่งกาย บุคลิกภาพ
• คำพูดและวาจาสุภาพ เหมาะสม
• การเป็นแบบอย่างที่ดี สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมระหว่างการสอน
• ความรู้ความสามารถทางวิชาการในหัวข้อที่สอน
• ความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาให้เข้าใจและกระตุ้นการเรียนรู้
• แจ้งและสรุปวัตถุประสงค์การศึกษาหัวข้อที่สอน
• จัดการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์การศึกษา
• การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม แสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน
๒.๓ ให้อาจารย์ผู้สอนประเมินตนเองในประเด็นต่อไปนี้
• ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการเตรียมสอน
• ความพึงพอใจของผู้สอนต่อผลการสอน
• ข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาตนเองในการสอนครั้งต่อไป
สาขาวิชาออกแบบสื่อสาร มีกระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ดังนี้ ๓.๑ ให้อาจารย์ผู้สอนแต่ละหัวข้อบันทึกเหตุการณ์ระหว่างการสอนที่สมควรนำเสนอให้พิจารณารวมทั้งสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขในแต่ละคาบการสอน
๓.๒ ประชุม / สัมมนาอาจารย์ผู้สอนเพื่อพิจารณาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนสำหรับปีการศึกษาต่อไปโดยอาศัยข้อมูลดังต่อไปนี้
• ผลการศึกษาของนักศึกษา
• ผลการประเมินประสิทธผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
• ผลการประเมินการสอน
• บันทึกของกลุ่มอาจารย์ผู้สอน
สาขาวิชาออกแบบสื่อสาร มีกระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ดังนี้ • การสุ่มสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการทวนสอบระดับหลักสูตร
• การประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายใน/ภายนอก
เมื่อสิ้นสุดทุกปีการศึกษา อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาจะจัดประชุม / ติดต่อขอความคิดเห็นจากอาจารย์ที่ร่วมสอน
รวมทั้งพิจารณาสรุปผลการประเมินการสอน
ผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา เพื่อกำหนดประเด็นที่เห็นสมควรจัดให้มีการปรับปรุงในการศึกษาต่อไป ทั้งเนื้อหา ลำดับการสอน วิธีการสอนและการประเมินผล