เกษตรทั่วไป

General Agriculture

1.1 เข้าใจประเภทของฟาร์มการเกษตรทั่วๆไป แบ่งได้เป็นการผลิตพืช การผลิตสัตว์เศรษฐกิจ และการผลิตสัตว์น้ำ
1.2 เข้าใจระบบและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการผลิตพืช สัตว์เศรษฐกิจ และการผลิตสัตว์น้ำ
1.3 มีทักษะเบื้องต้นในการผลิตพืช การผลิตสัตว์เศรษฐกิจ และการผลิตสัตว์น้ำ
1.4 นำความรู้ ทักษะเบื้องต้นในการดูแลรักษาและการจัดการศัตรูทางการเกษตร ไปประยุกต์ใช้ในการผลิตเกษตรต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
1.5 นำความรู้ ทักษะเบื้องต้นในด้านการตลาดเกษตร ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการสินค้าเกษตรที่ผลิตได้ ในชีวิตประจำวัน
1.6 มีเจตคติที่ดีต่อวิชาเกษตรทั่วไป
เพื่อประยุกต์ความรู้พื้นฐานด้านการผลิตพืช สัตว์ และการเพาะเลี้ยงสัตว์นําในปัจจุบันที่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอยู่ ตลอดเวลา ซึ่งก้าวหน้ากว่าการเรียนการสอนตามหลักสูตรเก่า ดังนัน นักศึกษาในปัจจุบันนอกจากต้องมีความรู้การเกษตรทั่วๆไปแล้ว จะต้องตามทันความรู้วิทยาการเทคโนโลยีใหม่ๆที่เกิดขึ้นในวงการการเกษตร ส่วนในด้านการเรียนการสอนก็มีการปรับปรุงให้มีการพัฒนามีความทันสมัยสอดคล้องกับความรู้วิทยาการเทคโนโลยีใหม่ๆตามไปด้วย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มผลผลิต หาทางป้องกัน และแก้ปัญหาการเกษตรต่อไป
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับระบบการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการฟาร์ม การดูแลรักษาและการจัดการศัตรูทางการเกษตร และการตลาดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตร
ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 13:00-16:00 น. ห้องสำนักงานสาขาสัตวศาสตร์และประมง ตึกสัตวศาสตร์ 
โทร 082-2738334 email: Petnamnueng.dttp@gmail.com
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมเกิดขึ้น เช่นเดียวกับการประกอบอาชีพในสาขาอื่น ๆ ดังนี้
1. มีคุณธรรมและจริยธรรม หมายถึงศรัทธาในความดี มีหลักคิด และแนวปฏิบัติในทางส่งเสริมความดีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบมีศีลธรรมซื่อสัตย์สุจริต และสามารถอยู่กับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ
2. มีจรรยาบรรณ หมายถึง มีระเบียบวินัยและเคารพกฎกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
 
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบ โดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดีทำประโยชน์แก่ส่วนรวมและเสียสละ เป็นต้น
1. ประเมินการมีวินัยจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรมที่กำหนด 
2. ประเมินความพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร 
3. ประเมินความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
4. ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
5. ประเมินจากผลงานที่ไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น หรือมีการอ้างอิงเอกสารทางวิชาการเพื่อให้เกียรติแก่เจ้าของผลงาน 
6. ประเมินจากพฤติกรรมการทำงานในชั้นเรียน ที่ไม่เลือกปฏิบัติและการไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพทางการเกษตรและช่วยพัฒนาสังคม ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
1.มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจ ในสาขาวิชาชีพ (พืชศาสตร์/สัตวศาสตร์/ประมง) ที่เรียนอย่างถ่องแท้และเป็นระบบทั้งหลักการ ทฤษฎี และการประยุกต์ให้มีความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
2.มีความรู้ หมายถึง มีความรู้ในหลายสาขาวิชา และสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีพ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลานรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ นอกจากนี้ควร จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยมีการศึกษาดูงาน หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษ เฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกปฎิบัติงานในสถานประกอบการ
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ คือ
1. การทดสอบย่อย
2. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
3. ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทํา
4. ประเมินจากแผนงานหรือโครงการที่นําเสนอ
5. ประเมินจากการนําเสนอรายงานในชั้นเรียน
6. ประเมินจากรายวิชาฝึกงานหรือสหกิจศึกษา
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาแล้ว ดังนั้นนักศึกษาจําเป็นต้องได้ รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรมจริยธรรม และความรู้ในขณะที่สอนนักศึกษา อาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษา คิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ จากการสอนให้เกิดทักษะทางปัญญา ดังนี้
1. สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ หมายถึง มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดแบบองค์รวม
2. สามารถคิดริเริมสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการคิดริเริมสร้างสรรค์จากพื้นฐานของ ความรู้ที่เรียน นํามาพัฒนานวัตกรรมหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่
3.ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ หมายถึง แสวงหาความรู้เพิ่มเติม จากแหล่งต่าง ๆ อย่างสมําเสมอ และรู้จักเทคนิควิธีและกระบวนการในการเรียนรู้และสามารถนําไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม
กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
1. บทบาทสมมติสถานการณ์จําลอง และกรณีศึกษาทางการเกษตรเพื่อค้นหาข้อเท็จจริง ทําความเข้าใจประเมินข้อมูลและหลักฐานใหม่ ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
2. การอภิปรายกลุ่มเพื่อระดมความคิดวิเคราะห์ข้อมูลและประยุกต์ใช้ข้อมูลทีได้มาหรือเลือกใช้ความรู้ที่เรียนมาแก้ไขโจทย์ปัญหาที่กําหนด
3. ให้นักศึกษาปฏิบัติจริงเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์เฉพาะหน้า
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น
1 ประเมินจากผลงานการนําเสนอรายงานในชั้นเรียน
2 สัมภาษณ์หรือสอบปากเปล่า
3 การทดลองโดยใช้แบบทดสอบหรือข้อสอบ
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึงส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่าง ๆ เป็นเรื่องจําเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นอาจารย์ต้องสอดแทรกการสอนที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางสังคมดังต่อไปนี้
1. ภาวะผู้นํา หมายถึง กล้าแสดงออก กล้าหาญ อดทน หนักแน่น รู้จักเสียสละ ให้อภัย และรับฟัง ความคิดเห็นของผู้อื่น สุภาพ สามารถประสานความ คิดและประโยชน์ด้วยหลักแห่งเหตุผลและความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม รักองค์กร เป็นผู้นํากลุ่มกิจกรรมได้ทุกระดับ และสถานการณ์ทีเหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองในฐานะผู้นําและผู้ตาม
2. มีจิตอาสาและสํานึก สาธารณะ หมายถึง มีจิตสํานึกห่วงใยต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสมบัติมีจิตอาสา ไม่ดูดาย มุ่งทําประโยชน์ให้สังคม
กลยุทธ์การสอนทีใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ใช้การสอนที่มีการกําหนดกิจกรรมให้มีการทํางานเป็นกลุ่มการทํางานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นหรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจาก การสัมภาษณ์บุคคลอื่นหรือผู้มีประสบการณ์ ดังนี้
1. สามารถทํางานร่วมกับผู้อื่นได้
2. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
3. สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้
4. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับโรงงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
5. มีภาวะผู้นําและผู้ตามในการยอมรับฟัง ความคิดเห็นของผู้อื่น
6. สามารถวางตนได้เหมาะสมกับกาลเทศะ ขนบธรรมเนียมและแนวทางปฏิบัติเฉพาะของแต่ละวัฒนธรรม
กลยุทธการประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนําเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสําคัญในชีวิตประจําวันและการประกอบอาชีพนักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะในการ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานการติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้น นักศึกษาจําเป็นต้อง ได้รับการพัฒนาทักษะทีเกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรม และความรู้ด้านเกษตรศาสตร์ ดังนี้ 
1. มีทักษะการสื่อสารหมายถึง ความสามารถในการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียนเพื่อการสื่อสารให้เหมาะสมกับ สถานะการณ์และการใช้ภาษาอังกฤษในการอ่าน พูด ฟัง และเขียน 
2. มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาเกษตรทั่วไป ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณืจําลอง สถานการณ์เหมือนจริง หรือแก้ไขปัญหาจากกรณีศึกษา หรือในการปฏิบัติงานจริงแล้วนําเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลายสถานการณ์
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ประเมินจากเทคนิคการนําเสนอและการเลือกใช้ข้อมูลทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขที่เกี่ยวข้อง ในการนําเสนอข้อมูล
2. ประเมินจากความสามารถจากการอธิบายถึงขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลข้อจํากัดเหตุผลในการเลือกใช้เครืองมือต่าง ๆ ประมวลผลและแปลความหมาย
3. การนําเสนอโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย นักศึกษาต้องมีทักษะทางวิชาชีพคือมีทักษะและความเชี่ยววชาญในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพสามารถแก้ปัญหาได้ อย่างเปนระบบโดยประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมาและพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทางวิชาชีพ
กลยุทธการสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการปฏิบัติ ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการปฏิบัติในรายวิชาเกษตรทั่วไปให้ นักศึกษาได้ปฏิบัติอย่างสมําเสมอ
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการปฏิบัติ การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงานและทักษะการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้ 
1. ประสิทธิภาพในทักษะการปฏิบัติอย่างถูกต้อง
2. ความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
3. ความสําเร็จและคุณภาพของผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. มีคุณธรรม และจริยธรรม หมายถึง ศรัทธาในความดี มีหลักคิด และแนวปฏิบัติในทางส่งเสริมความดี และคุณค่าความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ 2. มีจรรยาบรรณ หมายถึง มีระเบียบ วินัย และเคารพกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ 1. มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจ ในสาชาวิชาชีพ(พืชศาสตร์/ สัตวศาสตร์/ ประมง) ที่เรียนอย่างถ่องแท้ และเป็นระบบ ทั้งหลักการ ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง 2. มีความรอบรู้ หมายถึง มีความรู้ ในหลายสาขาวิชา และสามารถประยุกต์ใช้ในการดํารงชีพ รู้เท่าทันการ เปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม 1. สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ หมายถึง มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล และคิดแบบองค์รวม 2. สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์จากพื้นฐานของความรู้ที่เรียน นํามาพัฒนานวัตกรรม หรือสร้างองค์ความ รู้ใหม่ 3. ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ หมายถึง แสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่าง ๆ อย่างสมําเสมอ รู้จักเทคนิควิธี และกระบวนการในการเรียนรู้ และสามารถนําไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม 1. ภาวะผู้นํา หมายถึง กล้าแสดงออก กล้าหาญ อดทน หนักแน่น รู้จักเสียสละ ให้อภัย และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สุภาพ สามารถประสานความคิด และประโยชน์ด้วยหลักแห่งเหตุผล และความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม รักองค์กร เป็นผู้นํากิจกรรมได้ทุกระดับ และสถานการณ์ที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองทั้งในฐานะผู้นํา และผู้ตาม 2ิ.จิตอาสาและสํานึกสาธารณะ หมายถึง มีจิตสํานึกห่วงใยต่อสังคมสิ่งแวดล้อม และสาธารณสมบัติมีจิตอาสาไม่ดูดายมุ่งทําประโยชน์ให้สังคม
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 1 1 1 1 1 1 1 1
1 BSCAG001 เกษตรทั่วไป
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
สุวิทย์เฑียรทอง.2536. หลักการเลี้ยงสัตว(์ฉบับปรับปรุง).พิมพ์ครั้งที2. กรุงเทพฯ: โอ เอส พรินติง เฮ้าส์. 168 น. เกรียงศักดิเม่งอาพัน.2548.หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า.ภาควิชาเทคโนโลยีการประมง คณะผลิต กรรมการ เกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้.เชียงใหม่.238หน้า. อภิพรรณ พุกภักดี เอ็จ สโรบล จินดารัฐ วีระวุฒิ พร รุ่งแจ้ง เจริญศักดิโรจนฤทธิพิเชษฐ์อัมพร สุวรรณเมฆ อิสรา สุขสถาน และจวงจันทร์ดวงพัตรา.2541.หลักการผลิตพืช.Ag-eBook –มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ลร์.269.หน้า
วารสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับด้านการผลิตพืช สัตว์และการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า ได้แก่ วารสารสัตวบาล เป็นต้น
เว็บไซต์ด้านการเกษตรต่างๆ E-learning ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เกียวข้องกับหัวข้อในประมวลรายวิชาโดยสืบค้นหาจากคํา สําคัญในเนื้อหารายวิชาเช่น www.doa.go.th www.fao.org/agris/default32.htm www.dld.go.th www.hydroponics.th.com www.kasetsiam.com www.doae.go.th/plant/
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทําโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนําแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ดของมหาวิทยาลัยฯ
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมิน การเรียนเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ2. จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน โดยสาขาวิชาจัดการสัมมนาการจัดการเรียนการสอนและหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและ ร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
สาขาวิชามีคณะกรรมการประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนนและระดับขั้นคะแนน โดยการสุ่มรายวิชา
อาจารย์ผู้สอนรวบรวมผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา คะแนนสอบ พฤติกรรมของนักศึกษา รวมทั้งข้อคิดเห็น เพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้ร่วมสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติการ เพื่อประกอบการวิเคราะห์ปัญหา ทบทวนเนื้อหาที่สอนและ กลยุทธ์การสอนที่ใช้นําเสนอข้อมูลตามลําดับ และหากมีการเปลียนแปลงการดําเนินการในรายละเอียดที่จําเป็น จะมีการนําเสนอ ในที่ประชุมสาขาวิชาฯ เพื่อพิจารณาร่วมกันต่อไป จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อ ให้เกิดคุณภาพมากขึนดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปีหรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิตามข้อ4. 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัย ของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ