ภาษาอังกฤษสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ

English for Professional

1. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาอังกฤษที่ใช้ในการประกอบวิชาชีพ
2. ตระหนักในความสำคัญของการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อเป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ
3. มีเจตคติที่ดีต่อการใช้ภาษาอังกฤษในงานอาชีพต่างๆ
เพื่อปรับปรุงเนื้อหาวิชาให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงโดยเน้นให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมในการประยุกต์ใช้ภาษาอังกฤษสำหรับการศึกษาด้วยตนเอง วิชาชีพ และเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบและแนวปฏิบัติ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2552) และการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ศึกษาคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างภาษาอังกฤษที่ใช้ในงานอาชีพ และฝึกปฏิบัติทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในสาขาวิชาชีพ รวมถึงการนำเสนอโครงงาน
Study English vocabulary, expression, and structure in profession; practice English listening, speaking, reading, and writing skills for communication in professional context and giving project presentation
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ 1 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์  ติดต่อทาง e-mail address และ facebook
มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.2.1 ให้ความรู้โดยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในเนื้อหาของบทเรียนต่าง ๆ
1.2.2 ให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน และส่งภายในเวลาที่กำหนด โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆ และมีการอ้างอิงแหล่งที่มาโดยไม่มีการคัดลอกหรือแอบอ้างผลงานผู้อื่นมาเป็นของตน
1.2.4 ให้นักศึกษานำความรู้ที่ค้นคว้ามาแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่มและนำเสนอผลงานเขียนที่สร้างสรรค์และไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อสังคมหรือชุมชน
1.3.1 การเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอและตรงต่อเวลา
1.3.2 การสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
1.3.3 การส่งงานที่มอบหมายตามเวลาที่กำหนดทุกครั้ง
1.3.4 การพิจารณาจากผลงานของนักศึกษาที่ไม่ส่งผลในแง่ลบต่อสังคมหรือชุมชน
มีความรู้และความเข้าใจทั้งในด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษาเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษในงานอาชีพต่างๆ และสามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย
2.2.1 บรรยายแบบ Active learning และใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Co-operative learning)
ประกอบการสอนโดยให้นักศึกษาศึกษาความรู้จากเนื้อหาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วทำกิจกรรม
ประกอบเนื้อหาตามที่กำหนดในบทเรียน
2.2.2 อภิปรายกลุ่มและระดมสมองเพื่อสรุปเนื้อหาที่เรียนเมื่อจบแต่ละบทเรียน
2.2.3 ให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อประกอบการสอน เช่น แบบฝึกหัดออนไลน์จากเว็บไซต์ต่าง ๆ เช่น British Council และ BBC Learn English Teens
2.3.1 การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน
2.3.2 การพิจารณาจากงานที่มอบหมาย
2.3.3 การทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมด้วยตนเอง
2.3.4 การฝึกปฏิบัติในบทเรียนออนไลน์
2.3.5 การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
3.1.1 ทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการ โดยนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาในบทเรียน และจากการค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียนมาใช้ในงานอาชีพต่างๆ
3.1.2 ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบเพื่อพัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษในงานอาชีพ
3.2.1 ให้นักศึกษาระดมสมองและแสดงความคิดเห็นทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มย่อย
3.2.2 ให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อประกอบการสอน เช่น แบบฝึกหัดออนไลน์จากเว็บไซต์ต่าง ๆ เช่น British Council และ BBC Learn English Teens
 
3.3.1 การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน
3.3.2 การพิจารณาจากงานที่มอบหมาย
3.3.3 การสรุปความคิดรวบยอดของแต่ละหน่วยเรียน
3.3.4 การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
พัฒนาผู้เรียนให้มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี ทั้งต่ออาจารย์ผู้สอน เพื่อนร่วมชั้นเรียน สังคม
ภายนอกชั้นเรียน และกลุ่มสังคมอื่นๆ รวมถึงส่งเสริมการเขียนเพื่อสร้างสรรค์สังคมได้อย่างเหมาะสม
4.2.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการใช้ภาษาอังกฤษในงานอาชีพต่างๆตามมารยาทสังคมของกลุ่ม สังคมเฉพาะต่าง ๆ
4.2.2 จัดกิจกรรมแบบกลุ่มย่อยในชั้นเรียนและกระตุ้นให้นักศึกษาร่วมกิจกรรม
4.2.3 ทำแบบฝึกหัดนอกชั้นเรียน โดยกำหนดให้นักศึกษาแสวงหาความรู้จากการค้นคว้าหรือสังเกต
พฤติกรรมของกลุ่มสังคมต่าง ๆและนำเสนอผลงานกลุ่ม
4.3.1 การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน
4.3.2 การพิจารณาจากพฤติกรรมการทำงานภายในกลุ่มของนักศึกษา
4.3.3 การพิจารณาจากผลงานที่มอบหมาย
พัฒนาผู้เรียนให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานอาชีพต่างๆได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
5.2.1 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติใช้ภาษาอังกฤษในชั้นเรียนตามสถานการณ์ที่กำหนด
5.2.2 ให้นักศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเองนอกชั้นเรียนผ่านทางบทเรียนออนไลน์และเว็บไซต์
ที่กำหนด
5.3.1 การส่งงานที่ได้รับมอบหมาย
5.3.2 การนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ผลการเรียนรู้ - 2.1 - 2.1 - 1.3.1 - 1.3 - ทดสอบกลางภาค - ทดสอบปลายภาค - ทดสอบย่อย กิจกรรม งานมอบหมาย - จิตพิสัย - สัปดาห์ที่ 8 - สัปดาห์ที่ 17 - ตลอดภาคการศึกษา - ตลอดภาคการศึกษา - 20% - 30% - 40% - 10%
1. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก
English for Professional GEBLC104
1. https://www.futurelearn.com/courses/workplace-english
2. http://www.breakingnewsenglish.com.
1. English for Job Hunters
https://www.mycourseville.com/?q=onlinecourse%2Fcourse%2F13217&fbclid=IwAR3BvmfAgRpCD8-ZllCURFZy21FQAezqUfaMOzErIbOSJDEYDy0F2mg8A58
2. BBC Learn English Teens
https://learnenglishteens.britishcouncil.org/
การประเมินผลของรายวิชาโดยนักศึกษากระทำโดย
- การประเมินผลการสอนโดยใช้แบบประเมินของฝ่ายวิชาการ กองการศึกษา
- ให้นักศึกษาเสนอแนะเนื้อหาในรายวิชาและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปปรับปรุง
- ประเมินการสอนโดยใช้ระบบออนไลน์
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้
- สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละหน่วยเรียน
- สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียน
- ประเมินจากคะแนนแบบฝึกหัดแต่ละบทเรียนและความเข้าใจในเนื้อหา
- ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา
การปรับปรุงการสอนในรายวิชา กระทำโดย
- ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยและมีระดับภาษาที่เหมาะสมกับกับระดับของผู้เรียน
- สำรวจรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนเรียน และปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสม
- สรุปผลการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้ง เพื่อนำมาปรับปรุงครั้งต่อ ๆ ไป
ในระหว่างการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่มโดยตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีการพัฒนาก้าวหน้าหรือไม่มี จากนั้นแก้ไขโดยการอธิบายทำความเข้าใจกับนักศึกษาทั้งชั้นหรือเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งแจ้งผลคะแนนจากแบบฝึกหัดและคะแนนสอบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
- ทบทวนเนื้อหาในบทเรียน โดยเลือกระดับของภาษาให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
- มีการปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามสภาวการณ์ใหม่ ๆ และตามความน่าสนใจ
- ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลาย และสนองตอบต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายของกลุ่มผู้เรียนหรือตามที่ได้ศึกษาวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
- ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะของนักศึกษาและของผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจสอบรายวิชาในการประเมิน คุณภาพการศึกษาประจำปี