ประติมากรรม 4

Sculpture 4

1. รู้ลำดับชั้นตอนการแก้ปัญหาการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมใน ลักษณะ
เหมือนจริงและสร้างสรรค์รูปแบบเฉพาะตน
2. วางแผนและออกแบบการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมรูปแบบเฉพาะตน
3. ปฏิบัติงานประติมากรรมสร้างสรรค์เฉพาะตนตรวจและแก้ไขด้วยตนเอง
4. เห็นคุณค่างานประติมากรรม รับผิดชอบและปฏิบัติงานตรงเวลา
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานทางประติมากรรม เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจในการสร้างสรรค์ประติมากรรมที่เกิดจากการใช้วัสดุที่มีความหลากหลาย และมีประบวนการสร้างที่แตกต่างกันในแต่ละเทคนิค เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาประติมากรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคนิควิธีการที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมที่มีรูปแบบเฉพาะตน โดยการทดลองค้นคว้าหาแนวคิด จากขบวนการสร้างรูปทรง และวัสดุในเทคนิควิธีการแกะสลัก, งานโลหะและการประกอบวัสดุ เพื่อสอดคล้องกับแนวทางการสร้างสรรค์ประติมากรรมร่วมสมัย
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1  ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม
 1.1.1มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม  จริยธรรม
1.1.2มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.1.3  มีวินัย  ขยัน  อดทน ตรงต่อเวลา  และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคมและ สิ่งแวดล้อม
1.2  กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม
   สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม    สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ในรายวิชา  สอนให้มีระเบียบวินัย  ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม
       ประเมินจากการตรวจสอบแผนการสอนในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ในทุกวิชา  ประเมินจากผลการดำเนินงานตามแผนการสอน และ ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม
2.1  ผลการเรียนรู้ด้านความรู้
2.1.1มีความรู้และความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษสามารถ
2.1.2ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาที่ศึกษา
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง         
2.2  กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้
   ใช้การเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ในการปฎิบัติงาน โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ นอกจากนี้อาจจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกประสบการณ์หรือฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
2.3  กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้
    ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา ในด้านต่าง ๆ คือ
             2.3.1    การทดสอบย่อย
                    2.3.2    การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
            2.3.3    ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
            2.3.4    ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
            2.3.5    ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
            2.3.6    ประเมินจากแผนการดำเนินงาน โครงงานหรือศิลปนิพนธ์ที่นำเสนอ
          2.3.7    ประเมินจากการฝึกประสบการณ์หรือฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
 
3.1  ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา 
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2  มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
                   ใช้กรณีศึกษา  การจัดทำโครงงานหรือศิลปนิพนธ์ การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูล   การนำเสนองาน โดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น
 
 
3.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
 ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน  การปฏิบัติงานของนักศึกษา  และการนำเสนองาน
4.1  ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ

 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ  สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
 สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม  มอบหมายงานหรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตาม   การเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น   การประสานงานกับบุคคลภายนอก   การแสดงความคิดเห็น และการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น
4.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
                ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน และผลงานกลุ่มในชั้นเรียนและประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ 
 
5.1  ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศ
2.5.1.1  สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
2.5.1.2  สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่าง
เหมาะสม
2.5.1.3  สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2  กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ    ให้นักศึกษาค้นคว้างานที่ต้องอาศัยการประมวลผล  โดยการใช้ตัวเลขเพื่อการจัดการข้อมูล   การนำเสนอที่เหมาะสมกับสภาพของผู้สื่อสาร 
5.3  กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ประเมินจากความถูกต้องในการใช้ข้อมูลและตัวเลข  การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม   ประเมินจากการอธิบาย  การนำเสนอ
6.1  ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย            
                       6.1.1 มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
                       6.1.2 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
                       6.1.3 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
6.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
                            ใช้วิธีการสอน ด้วยวิธีคัดลอกแบบ ทำตามแบบและใบงาน การใช้กรณีศึกษาและโครงงาน   สร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
6.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
          ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 คุณธรรมจริยธรรม 2 ความรู้ 3 ทักษะทางปัญญา 4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6 .ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา ซื่อสัตย์สุจริตมีวินัยและมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีทัศนคติที่เปิดกว้างยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น มีจิตอาสาจิตสำนึกสาธารณะ รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตรอื่นที่เกี่ยวข้อง มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหาและพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคมภูมิปัญญาและวัฒนธรรม มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรมศาสตรในสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาน สามารถวิเคราะห์สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้ มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความรับผิดชอบต่องานของตนเองและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลตรงไปตรงมาและเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไปตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรมและนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
1 BFAVA130 ประติมากรรม 4
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
 
 



1. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก 
 คมสันต์  คำสิงหา, 2550.  ประติมากรรมคนเหมือน. กรุงเทพมหานคร : บริษัทวาดศิลป์ จำกัด. มัย  ตะติยะ,  2549. ประติมากรรมพื้นฐาน.  กรุงเทพมหานคร:  สำนักพิมพ์สิปประภา.  มหาวิทยาลัยศิลปากร,2525.สมุดภาพประติมากรรมกรุงรัตนโกสินทร์.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ กราฟิคอาร์ต.  สมคิด  อินท์นุพัฒน์, 2539. กายวิภาคสำหรับผู้ศึกษาศิลปะ.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์” Charles  Wentinck, 1974.  MASTERPIECES  OF  ART 450  Treasures  of  Europe. New  York: The Netherlands  at  Royal Smeets  Offset bv. Weert.  Friz  Schider, 1957. AN ATLAS OF ANATOMY FOR ARTISIS. New York: Dover     Publications,inc. Irene  Korn, 1997. AUGUSTE  RODIN  Master of Sculpture. New York: Todtri Productions Limited. Claire Waite brown.  The Sculpting Techniques Bible.  Chartwell Book, inc ; New York., 2006. George M. Beylerian and Andrew Dent.  Material Connection: The Global Resource of New and Innovative Materials for Aristech, Artists and Designers.  First published in the United Kingdom; Thames & Hudson,Ltd., 2005. Louis Slobodkin.  Sculpture Principles and Practice.  Dover Publications, inc.  New York,1973       Oliver Andrews.  LIVING MATERRIALS: A Sculptor’s Handbook.  First Paperback printing in the United States of America; University of California Press., 1988.
 
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษาสามรถปรึกษาอาจารย์

ได้ทุกเวลา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือจากการแสดงนิทรรศการศิลปกรรมต่าง ๆ