ศิลปะนิพนธ์สำหรับประติมากรรม

Art Thesis for Sculpture

1.รู้ลำดับวิธีการค้นคว้าหาข้อมูล,รวบรวมและเรียบเรียงเพื่อถ่ายทอดแบบร่างผลงานการสร้างสรรค์ผลงานเฉพาะตนในรูปแบบการนำเสนอหัวข้อโครงงานศิลปนิพนธ์ประติมากรรม 2.เข้าใจกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานเฉพาะตนด้วยการถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานสร้างสรรค์ในลักษณะต่างๆตามที่ได้นำเสนอ เพื่อนำมาใช้ศึกษากระบวนการทางความคิดทฤษฏีต่างอันสัมพันธ์กับโครงงานศิลปนิพนธ์โดยการค้นคว้า วิเคราะห์ แก้ปัญหาทั้งแนวความคิดและรูปแบบวิธีการทำงาน 3.รู้แบบอย่าง ขั้นตอนในการติดตั้งแสดงนิทรรศการผลงานสร้างสรรค์เฉพาะตนในรูปแบบการนำเสนอหัวข้อโครงงานศิลปนิพนธ์ประติมากรรม 4.ามารถเรียบเรียงและการถ่ายทอดเนื้อหาข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาจากผลงานในลักษณะเฉพาะตนเป็นรูปเล่มศิลปนิพนธ์ประติมากรรมที่สมบูรณ์ได้     
วิชาศิลปนิพนธ์สำหรับประติมากรรม  ซึ่งมีการเรียนการสอนโดยมีนักศึกษาเป็นผู้สรุปรวบรวมองค์ความรู้การจัดการต่างๆทางทัศนศิลป์ของผู้เรียนเองตลอด4ปี  ออกมาในรูปแบบของการสร้างสรรค์ผลงานเฉพาะตนสำหรับหลักสูตรศิลปบัณฑิตสาขาวิชาทัศนศิลป์ประติมากรรม ซึ่งมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับศึกษากระบวนการทางเทคนิคต่างๆทางประติมากรรม เช่นการปั้นดิน การหล่อรูปปั้น การแกะสลัก การเชื่อมโลหะหรือการประกอยประสมวัสดุต่างๆแล้ว      การนำเสนอผลงานแสดงนิทรรศการศิลปะนิพนธ์ประติมากรรมก็เป็นอีกลักษณะหนึ่งเพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงสัมฤทธิผลของการปฏิบัติงานทางศิลปะ  การเขียนรูปเล่มศิลปนิพนธ์ก็เป็นการเรียนรู้ที่จะปรับใช้หลักการวิเคราะห์เหตุที่มาต่างๆของแรงบันดาลใจมีผลต่อ แนวคิด เนื้อหา รูปแบบ และเทคนิคในการแสดงออกจากการค้นคว้าและสังเคราะห์ข้อมูลเพื่ออธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานของตนเองอันแสดงสามารถสรุปถึงสัมฤทธิผลทางการศึกษาของบัณฑิตที่จะจบออกไปเป็นผู้รู้ที่ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
          สร้างสรรค์โครงงานศิลปนิพนธ์โดยการค้นคว้า วิเคราะห์ แก้ปัญหาทั้งแนวความคิด กระบวนการและการนำเสนอให้สอดคล้องสัมพันธ์กันโดยแสดงออกถึงประติมากรรมที่มีลักษณะเฉพาะตน  ซึ่งประกอบด้วยผลงานและเอกสารประกอบการสร้างสรรค์รวมถึงการจัดนิทรรศการผลงานศิลปนิพนธ์
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  มีความซื่อสัตย์ในการสร้างสรรค์ประติมากรรมอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ทั้งตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่ได้จากการสร้างสรรค์งานประติมากรรมต่อบุคคลองค์กรและสังคม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการแก้ไขและพัฒนา

1.1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 1.2.2 ศึกษา และอ้างอิงข้อมูลที่ได้นำมาเป็นแนวทางการสร้างสรรค์ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 1.2.3 ประเมินผลการศึกษาจากผลงานการสร้างสรรค์ พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลงานเป็นกรณีศึกษา 1.2.4 ประเมินผลจากการนำเสนอผลงานที่มอบหมาย
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   ประเมินผลการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้สมบูรณ์ อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3   ประเมินผลการเก็บรวบรวมข้อมูลการปฏิบัติงานมาวิเคราะห์เป็นกรณีศึกษา
1.3.4   ประเมินผลการปฏิบัติงานกลุ่มที่สำเร็จและนำเสนอเป็นรายงานตามที่มอบหมาย
ความรู้ในหลักการสร้างสรรค์ และความสำคัญของประติมากรรมร่วมสมัยที่มี         แนวทางในการสร้างผลงานที่มีความหลากหลายในแต่ละเทคนิควิธีการสร้างผลงาน       
ประติมากรรม เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานในการสร้างสรรค์
ประติมากรรมที่เกิดจากการใช้วัสดุประเภทต่างๆ  รวมทั้งนักศึกษาได้ฝึกฝนการคิด ค้นคว้าหา
ข้อมูลก่อนนำไปสู่ปฏิบัติงานจากแบบร่าง-แบบจำลองที่ไปสู่การขยายจนเกิดทักษะที่ชำนาญ
สามารถใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผลงานประติมากรรมของตนและเอกสารประกอบการ
        สร้างสรรค์รวมถึงการจัดนิทรรศการผลงานศิลปนิพนธ์ต่อไปได้
2.2.1   ทดสอบบรรยายลักษณะความเป็นมาประติมากรรมร่วมสมัยที่มี แนวทางในการสร้างผลงานที่มีความหลากหลายเทคนิควิธีการ การใช้วัสดุอุปกรณ์  การศึกษาประเด็นทางการสร้างสรรค์ประติมากรรมของตนเองผ่าน การทำแบบร่างและแบบจำลองก่อนการดำเนินการขยายงาน
     2.2.2   สอนทักษะวิธีการในการมองเห็น ความเข้าใจในเรื่องการสร้างสรรค์องค์ประกอบ
     ทางประติมากรรมทั้งในวัตถุสิ่งของ  เทคนิควิธีการทางวัสดุศาสตร์ และหลักทางสุนทรีย
      วิทยา เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจการการศึกษาหาความเป็นไปได้จากการสร้างภาพร่าง-
      แบบจำลองที่นำไปสู่การขยายงานประติมากรรมในเทคนิคกระบวนการต่าง ได้ใกล้เคียง
     ตามความเป็นจริง
2.2.3   กำหนดให้นักศึกษาสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมจากการศึกษาเนื้อหาเรื่องราวแนวความคิด ทัศนคติที่ใช้ทำการศึกษารูปแบบ วิธีการสร้าง พร้อมขยายผลงานให้มีความสมบูรณ์  และทำรายงานวิเคราะห์ชิ้นงานประกอบเอกสารการสร้างสรรค์รวมถึงการจัดนิทรรศการผลงานศิลปนิพนธ์
2.1 ความรู้ ที่ต้องได้รับ
              มีความรู้ในหลักการสร้างสรรค์ และความสำคัญของประติมากรรมร่วมสมัยที่มี         แนวทางในการสร้างผลงานที่มีความหลากหลายในแต่ละเทคนิควิธีการสร้างผลงาน       
ประติมากรรม เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานในการสร้างสรรค์
ประติมากรรมที่เกิดจากการใช้วัสดุประเภทต่างๆ  รวมทั้งนักศึกษาได้ฝึกฝนการคิด ค้นคว้าหา
ข้อมูลก่อนนำไปสู่ปฏิบัติงานจากแบบร่าง-แบบจำลองที่ไปสู่การขยายจนเกิดทักษะที่ชำนาญ
สามารถใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผลงานประติมากรรมของตนและเอกสารประกอบการ
        สร้างสรรค์รวมถึงการจัดนิทรรศการผลงานศิลปนิพนธ์ต่อไปได้
2.2 วิธีการสอน
2.2.1   ทดสอบบรรยายลักษณะความเป็นมาประติมากรรมร่วมสมัยที่มี แนวทางในการสร้างผลงานที่มีความหลากหลายเทคนิควิธีการ การใช้วัสดุอุปกรณ์  การศึกษาประเด็นทางการสร้างสรรค์ประติมากรรมของตนเองผ่าน การทำแบบร่างและแบบจำลองก่อนการดำเนินการขยายงาน
     2.2.2   สอนทักษะวิธีการในการมองเห็น ความเข้าใจในเรื่องการสร้างสรรค์องค์ประกอบ
     ทางประติมากรรมทั้งในวัตถุสิ่งของ  เทคนิควิธีการทางวัสดุศาสตร์ และหลักทางสุนทรีย
      วิทยา เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจการการศึกษาหาความเป็นไปได้จากการสร้างภาพร่าง-
      แบบจำลองที่นำไปสู่การขยายงานประติมากรรมในเทคนิคกระบวนการต่าง ได้ใกล้เคียง
     ตามความเป็นจริง
2.2.3   กำหนดให้นักศึกษาสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมจากการศึกษาเนื้อหาเรื่องราวแนวความคิด ทัศนคติที่ใช้ทำการศึกษารูปแบบ วิธีการสร้าง พร้อมขยายผลงานให้มีความสมบูรณ์  และทำรายงานวิเคราะห์ชิ้นงานประกอบเอกสารการสร้างสรรค์รวมถึงการจัดนิทรรศการผลงานศิลปนิพนธ์
 
2.3 วิธีการประเมินผล
2.3.1   ทดสอบย่อยตลอดภาค ด้วยหัวข้อการปฏิบัติงานที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏีปฏิบัติในชิ้นผลงานทั้งสามชิ้นผลงานศิลปนิพนธ์
2.3.2   ประเมินสรุปปลายภาค จากการจัดนิทรรศการนำเสนอผลงานประติมากรรม ที่เสร็จสมบูรณ์ทั้งสามชิ้นจากการค้นคว้าข้อมูล  กรณีศึกษา จากผลงานประติมากรรมของตนเอง พร้อมทั้งเอกสารประกอบการสร้างสรรค์รวมถึงการจัดนิทรรศการผลงานศิลปนิพนธ์


 
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบสามารถเรียนรู้และวางแผนในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ได้      มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานจากการใช้เครื่องมือวัสดุทางการขึ้นรูปประติมากรรม
    3.2.1   การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนตน โดยฝึกให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางด้านการมอง การสร้างรูปทรงที่สัมพันธ์กับแนวความคิดเนื้อหาเรื่องราวจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ    นำมาสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม
       3.2.2   การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงาน โดยฝึกให้ค้นคว้าหาข้อมูลก่อนนำไปสู่ปฏิบัติงานจากแบบร่าง-แบบจำลองที่ไปสู่การขยายจนเกิดทักษะที่ชำนาญสามารถใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผลงานประติมากรรมของตนและแก้ไขปัญหาทางด้านสร้างสรรค์และกรรมวิธีต่างๆได้จากการ วิเคราะห์กรณีศึกษา 
   3.2.3   ค้นคว้าหาข้อมูล ในการนำเสนอรูปแบบประติมากรรมในรูปแบบส่วนตน มาศึกษาอย่างเหมาะสมและเขียนเอกสารประกอบการสร้างสรรค์รวมถึงการจัดนิทรรศการผลงานศิลปนิพนธ์ได้
   3.2.4   การสะท้อนแนวคิดจากการสร้างสรรค์งานและปฏิบัติงานร่วมกัน
3.3.1   ทดสอบย่อยตลอดภาค ด้วยหัวข้อการปฏิบัติงานที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏีปฏิบัติ
3.3.2   ประเมินสรุปปลายภาค จากการจัดนิทรรศการนำเสนอผลงานประติมากรรม ที่เสร็จสมบูรณ์ทั้งสามชิ้นจากการค้นคว้าข้อมูล การออกแบบภาพร่างแบบจำลอง กรณีศึกษา จากผลงานประติมากรรมของตนเอง พร้อมทั้งเล่มรายงาน
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีมในการจัดห้องตรวจงานและการทำความสะอาดห้องเรียนปฏิบัติงาน
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1   การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนตน โดยฝึกให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางด้านการมอง จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว    นำมาสร้างผลงานประติมากรรมรูปแบบต่างๆ
4.2.2   การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานที่ตนรับผิดชอบ  โดยฝึกให้มีการวางแผนงานและแก้ไขปัญหาทางด้านการมองการสร้างสรรค์ผลงานจากแบบงานประติมากรรมรูปแบบต่างๆ
4.2.3   ค้นคว้าหาข้อมูลที่นักศึกษาสนใจ ฝึกการแลกเปลี่ยนแนวคิดในการนำรูปแบบประติมากรรมร่วมสมัยมาศึกษาอย่างเหมาะสมเพื่อตรวจทานจากการปฏิบัติงานร่วมกัน
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยการค้นคว้า ศึกษาแบบร่างผลงานที่ผ่านการเสนอหัวข้อศิลปนิพนธ์จากคณาจารย์ภายในสาขาวิชา
            4.3.2  ประเมินจากผลงานศิลปนิพนธ์ประติมากรรม 3ชิ้นงานรวมถึงการจัดนิทรรศการผลงานศิลปนิพนธ์
4.3.3   ประเมินจากการวิเคราะห์การสร้างสรรค์ผลงานของตนเอง เอกสารศิลปนิพนธ์ประกอบการสร้างสรรค์
5.1.1   ทักษะการคิดวิเคราะห์  หามูลเหตุที่เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์รูปทรง
5.1.2   พัฒนาทักษะในการขยายชิ้นงานจากแบบร่าง สู่แบบจำลอง ไปสู่การขยายสัดส่วนชิ้นงานในแต่ละเทคนิควิธีการ  และมีความงามตามหลักทางสุนทรียวิทยา
5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษาและปฏิบัติงานสร้างสรรค์
5.1.4   พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5  ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1   การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนตน โดยฝึกให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางด้านการออกแบบรูปทรง จากแรงบันดาลใจต่างๆ  
5.2.2   การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงาน โดยฝึกให้แก้ไขปัญหาทางด้านสร้างรูปทรงจากเทคนิควิธีการที่แตกต่างกันในทางประติมากรรม วิเคราะห์กรณีศึกษาเพื่อวางแผนแก้ไขปัญหา 
5.2.3  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากหนังสือ หรือเว็บไซต์ที่มีข้อมูลทางศิลปะ จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.4  เก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอผลงาน,ขั้นตอนการปฏิบัติงานโดยใช้รูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยผลงานประติมากรรมที่กำหนด
5.3.2   ประเมินจากผลงานประติมากรรมสรุปที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานในชั้นเรียน
5.3.3   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี ที่เหมาะสม
6.1.1 มีทักษะในการใช้วัสดุอุปกรณ์ ในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย 6.1.2 มีทักษะในการร่างและทำต้นแบบผลงานตามที่แต่ละคนถนัด 6.1.3 สามารถสร้างสรรค์ผลงาน โดยใช้เทคนิคต่างๆได้อย่างเหมาะสม 6.1.4 สามารถวิเคราะห์ปัญหาในการสร้างสรรค์ผลงาน 6.1.5 มีทักษะในการสร้างสรรค์ที่แสดงเอกลักษณ์เฉพาะตนได้อย่างชัดเจน
แนะนำการศึกษาค้นคว้ากระบวนการสร้างสรรค์ผลงานเฉพาะตนในเทคนิควิธีการทางประติมากรรมและฝึกแก้ปัญหาการสร้างสรรค์โดยการจดบันทึก
สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพและวิเคราะห์ วิจารณ์ และสามารถนำเสนอข้อคิดเห็นหรือแสดงทัศนคติต่อผลการค้นคว้าในเชิงอภิปรายในชั้นเรียนโดยมีส่วนร่วมได้
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ๑. คุณธรรม จริยธรรม ๒. ความรู้ ๓. ทักษะทางปัญญา ๔. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ๕. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ๖. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 5
1 41012407 ศิลปะนิพนธ์สำหรับประติมากรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1- 5, 6-10 11-15 16 1- 5,ทดสอบย่อย วิชาศิลปนิพนธ์สำหรับประติมากรรมชิ้นที่1 สอบกลางภาค 6-10ทดสอบย่อย วิชาศิลปนิพนธ์สำหรับประติมากรรมชิ้นที่2 11-15ทดสอบย่อย วิชาศิลปนิพนธ์สำหรับประติมากรรมชิ้นที่3 สอบปลายภาค 16ทดสอบสรุปวิชาศิลปนิพนธ์สำหรับประติมากรรมสำเร็จ 3 ชิ้นงานและเล่มสรุปศิลปนิพนธ์ (งานที่ส่งแล้วมีคุณภาพที่ดีจะนำไปแสดงผลงานในโครงการแสดงนิทรรศการผลงานของนักศึกษาวิชาเอกประติมากรรม 1-5 - 6-10 11-15 - 16 20% - 20% 20% - 20%
2 1-16 1-16 1-16 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า ในแต่ละเทคนิควิธีการ นำเสนอการปฏิบัติงานศิลปนิพนธ์ การศึกษาและขยายผลงานศิลปนิพนธ์ การส่งงานตามที่มอบหมายพร้อมเล่มสรุปศิลปนิพนธ์ ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 1-16 1-16 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียนและตอนตรวจชิ้นงานทั้งเล่มศิลปนิพนธ์3ชิ้นปลายภาคการศึกษา ตลอดภาคการศึกษา 10%
กำจร สุนพงษ์ศรี, สุนทรียศาสตร์ หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปวิจารณ์. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ.2557.        เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, การคิดเชิงวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ ซัคเซส มีเดีย บจก., พ.ศ.2553. จิระพัฒน์  พิตรปรีชา, โลกศิลปะศตวรรษที่ 20 .พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ,พ.ศ.2545  จักรพันธ์ วิลาสินีกุล และสายัณห์ แดงกลม, การวิจารณ์ทัศนศิลป์ ข้อคิดของนักวิชาการไทย.พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ชมนาด,พ.ศ.2549 ชะลูด นิ่มเสมอ ,องค์ประกอบของศิลปะ.กรุงเทพฯ.พิมพ์ครั้งที่5  :บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด ,พ.ศ.2542 เดวิด คอตติงตัน ,ศิลปะสมัยใหม่:ความรู้ฉบับพกพา. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์ openworlds ,พ.ศ.2554 รื่นฤทัย  สัจจพันธุ์และคณะ, ทฤษฎีกับการวิจารณ์ศิลปะ ทัศนะของนักวิชาการไทย.พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์: นาคร,พ.ศ.2560  สุธี  คุณาวิชยานนท์  ,“จากสยามเก่าสู่ไทยใหม่” ว่าด้วยความพลิกผันของศิลปะ จากประเพณี สู่สมัยใหม่และร่วมสมัย .พิมพ์ครั้งแรก. บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน),พ.ศ.2545 ศุภชัย อารีรุ่งเรือง,ทวิวัจน์แห่งการวิจารณ์ทัศนศิลป์ (ภาค ๑).กรุงเทพฯ.พิมพ์ครั้งที่1  :โครงการวิจัยเครือข่ายการวิจารณ์ศิลปะ: การวิจัยและพัฒนา,พ.ศ.2560 Charles  Wentinck.  MASTERPIECES  OF  ART 450  Treasures  of  Europe. New  York: The Netherlands  at  Royal Smeets  Offset bv. Weert. , 1974 Claire Waite brown.  The Sculpting Techniques Bible.  Chartwell Book, inc ; New York., 2006. George M. Beylerian and Andrew Dent.  Material Connection: The Global Resource of New and Innovative Materials for Aristech, Artists and Designers.  First published in the United Kingdom; Thames & Hudson,Ltd., 2005. Louis Slobodkin.  Sculpture Principles and Practice.  Dover Publications, inc.  New York,1973       Mamfred Schneckenburger and  The Other ,ART OF THE 20th CENTURY 1-2.Original Edition 1988 TESCHEN Paul Zelanski and Mary Pat Fisher, THE ART OF SEEING. Edition First published 1988 By Prentice-Hall, Inc., Englewood Cliffs, New Jerssy Oliver Andrews.  LIVING MATERRIALS: A Sculptor’s Handbook.  First Paperback printing in the United States of America; University of California Press., 1988.
เอกสาร แบบอย่างวิธีการวิเคราะห์กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในลักษณะต่างๆ
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษาสามรถปรึกษาอาจารย์ ได้ทุกเวลา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมความคิด และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก3ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือจากการแสดงนิทรรศการศิลปกรรมต่าง ๆ