อิเล็กทรอนิกส์วิศวกรรม

Engineering Electronics

1.1  เข้าใจเกี่ยวกับอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์
1.2  เข้าใจการวิเคราะห์และออกแบบวงจรไดโอด
1.3  เข้าใจการวิเคราะห์และออกแบบวงจรทรานซิสเตอร์
1.4  การประยุกต์ใช้งานวงจรไดโอดและทรานซิสเตอร์
1.5  การประยุกต์ใช้งานโมดูลแหล่งจ่ายไฟ
ศึกษาและปฎิบัติเกี่ยวกับอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ คุณลักษณะทางกระแส - แรงดัน และคุณลักษณะทางความถี่ การวิเคราะห์และออกแบบวงจรไดโอด การวิเคราะห์และการออกแบบของวงจรทรานซิสเตอร์ บีเจที , MOS , CMOS และ BiCOMS , OPAMP และการประยุกต์ใช้งาน โมดูลแหล่งจ่ายไฟ
จำนวน  3  ชั่วโมง / สัปดาห์ 
1.มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 2.มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 3.มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 4.เคารพสิทธิในคุณค่าและและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม 2.ปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพ 3.ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา   การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1.สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆอย่างต่อเนื่อง 2.ประเมินปริมาณการทุจริตในการสอบ 3.การขานชื่อ   การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงเวลา
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
1.มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาสาขาวิชวิศวกรรมไฟฟ้า 2.สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีใหม่ๆของสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า 3.สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้ากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.ใช้การสอนหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักทางทฤษฎีและการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ 2.มอบหมายให้ทำรายงานเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่และนำเสนอหน้าชั้นเรียน 3.จัดศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อเสริมการเรียนรู้
1.ประเมินจากแบบทดสอบด้านทฤษฎี สำหรับการปฏิบัติประเมินจากผลงานและการปฏิบัติการ 2.พิจารณาจากรายงานที่มอบหมาย 3.สังเกตพฤติกรรมและจำนวนนักศึกษาที่เข้าศูนย์การเรียนรู้
1.มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 2.มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
1.ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา ( Problem Based Instruction) 2.มอบหมายงานที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์และสังเคราะห์
1.ประเมินจากการรายงานผลการดำเนินงานและการแก้ปัญหา 2.ประเมินจากผลงานที่มอบหมาย
1.มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
2.มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1.ให้คำแนะนำในการเข้าร่วมกิจกรรมสโมสร กิจกรรมของมหาวิทยาลัยฯเพื่อส่งเสริมทักษะการอยู่ในสังคม
2.กำหนดการทำงานกลุ่มโดยให้หมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่มและผลัดกันเป็นผู้รายงาน
3.ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
4.ส่งเสริมให้นักศึกษากล้าแสดงออกและเสนอความคิดเห็นโดยการจัดอภิปรายและเสวนางานที่มอบหมายที่ให้ค้นคว้า
1.พิจารณาจากการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
2.ประเมินพฤติกรรมภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
3.ประเมินผลจากแบบประเมินตนเองและกิจกรรมกลุ่ม
4.สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง
1.สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
2.สามารถสืบค้นศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
3.สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมาย
2.การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมาย 3.ส่งเสริมการค้นคว้า  เรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง  และให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
1.ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงาน
1.มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลาเครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.มีทักษะในการปฎิบัติงานกลุ่มมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
1.มอบหมายงานปฏิบัติเพื่อฝึกทักษะตามใบงาน 2.แบ่งกลุ่มปฏิบัติตามใบงานที่ได้รับมอบหมาย
1.สังเกตพฤติกรรมขณะทำใบงาน และการใช้เครื่องมือในการทำงานอย่างถูกต้องและปลอดภัย
2.สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบขณะทำใบงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGEL105 อิเล็กทรอนิกส์วิศวกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.6,1.7,2.1,2.4-2.6,3.2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1,สอบกลางภาค,ทดสอบย่อยครั้งที่ 2,สอบปลายภาค 4,7,12,17 10%,25%,10%,25%
2 1.1,1.6,1.7,2.1,2.4-2.6,3.2,4.1-4.6,5.3-5.4 วิเคราห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ,รายงาน,การทำงานกลุ่มและผลงาน,การอ่านและสรุปความ ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1-1.7,3.1 การส่งงานตามที่มอบหมาย,การเข้าชั้นเรียน,การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
รศ.บุญเรือง วังศิลาบัตร. อิเล็กทรอนิกส์วิศวกรรมและการออกแบบวงจร กรุงเทพมหานคร บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่นจำกัด 2558
Richard H. Rerube. Computer Simulated Experiments for Electronic Device Using Electronics Workbench Multisim. PEARSON Prentice Hall, 2004
Thoms L. Floyd. Electronic Device Ninth Edition. PEARSON Prentice Hall, 2012
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ