การสุขาภิบาลโรงงานอุตสาหกรรมอาหารและกฎหมายอาหาร

Food Industrial Plant Sanitation and Food Law

1.  รู้วิธีการออกแบบโรงงานและการติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์ในโรงงานอุตสาหกรรม
2.  รู้ความสำคัญของการสุขาภิบาลและสุขลักษณะในการผลิตอาหาร การเก็บรักษาและการขนส่งอาหาร
3.  เข้าใจหลักการกลไกการทำความสะอาดและสุขอนามัยส่วนบุคคล
4.  เข้าใจการกำจัดของเสียและการฆ่าเชื้อในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
5.  รู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสุขาภิบาลโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
6.  รู้มาตรฐานของอาหารระดับประเทศและระดับสากล
7.  มีเจตนาคติที่ดีต่อการศึกษาค้นคว้าและติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีใหม่ๆ ทางสุขาภิบาลโรงงานและการขอจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
เพื่อพัฒนาและปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศ เพื่อปรับปรุงรายละเอียดของวิชาให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ปัจจุบัน

 
การออกแบบโรงงาน และการติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์ในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารให้ถูกหลักสุขาภิบาล  สุขลักษณะในการผลิตอาหาร  การเก็บรักษา และการขนส่งอาหาร สุขลักษณะส่วนบุคคล กลไกการทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อ การควบคุมแมลงและสัตว์นำโรค การจัดการน้ำใช้ในโรงงาน การจัดการของเสีย และกฎหมายอาหาร
จัดให้นักศึกษาพบอาจารย์เพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำสัปดาห์ละ 1  ชั่วโมง และแจ้งให้นักศึกษาทราบในชั่วโมงแรกของการสอน
1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.2 แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต
1) บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
2) จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทาดีทาประโยชน์แก ส่วนรวมและเสียสละ มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่ กระทาการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้าน ของผู้อื่น เป็นต้น
3) ให้มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย และมีความซื่อสัตย์ในการสอบ
4) กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น ให้เข้าห้องเรียนตรงเวลาและเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอสามารถดูรายละเอียดวิธีการสอนแต่ละแบบได้ในเว็บไซค์งานพัฒนาหลักสูตร
1.พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
2) ประเมินจากพฤติกรรมการสอบที่ เป็นไปอย่างสุจริต หรือผลงานของ นักศึกษาไม่ลอกเลียนแบบคนอื่น
3) ประเมินจากพฤติกรรมของ นักศึกษา เช่น การตรงเวลาในการ เข้าชั้นเรียน การแต่งกายที่ถูก ระเบียบ การมีวินัยและพร้อมเพรียง ของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรม เสริมหลักสูตร
2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
2.4 รู้กฎระเบียบ ข้อกำหนดทางเทคนิค รวมถึงการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
1) บรรยายร่วมกับอภิปราย การทำงานกลุ่ม การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้อ่านและสรุปบท ความวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2) นักศึกษาไปค้นคว้าเพิ่มเติมและจัดทำเป็นรายงานตลอดจนนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
1) สอบกลางภาคและปลายภาคด้วยข้อสอบและสอบปากเปล่า
2) สังเกตจากผลงานที่ได้ทำ กระบวนการคิด การวางแผน การออกแบบและการสรุปผล สังเกต สังเกตการอภิปราย และสรุป สาระสำคัญ
3) การนำเสนอสรุปการอ่านบทความวิจัยที่เกี่ยวข้อง
4.1  มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเองเเละรับผิดชอบงานในกลุ่ม
1) มอบหมายงานกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา โดยการสอนแบบการอภิปรายกลุ่มใหญ่ (Whole – class Discussion) 
2) การสอนโดยใช้เทคนิคการระดมพลังสมอง (Brainstorming)  มอบหมายงานให้ค้นคว้าและศึกษาด้วยตนเอง มุ่งเน้นให้นักศึกษาค้นคว้า โดย ใช้เทคโนโลยี และนำข้อมูลมาวิเคราะห์งเช่น  ให้เลือกและอ่านบทความ วิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิชา
3) ฝึกให้นักศึกษามีความรับผิดชอบผ่านการทำงานกลุ่ม โดยเน้นให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำ กลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม และรับฟังความ คิดเห็นผู้อื่น
1) ประเมินจากกระบวนการทำงาน และผลงานที่ทำเป็นกลุ่มหรือโครงงาน
2) รายงานการศึกษาด้วยตนเอง (รายงานสรุปรวบความรู้)
3) พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4) ประเมินจากความรับผิดชอบใน หน้าที่ได้รับมอบหมาย จากการส่ง งานตามระยะเวลาที่ก าหนด ผลการ ประเมินตนเอง และสมาชิกกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมและจริยธรรม 2.ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7 1
1 BSCFT004 การสุขาภิบาลโรงงานอุตสาหกรรมอาหารและกฎหมายอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ความรู้และทักษะทางปัญญา สอบกลางภาค/สอบปลายภาค/สอบโดยใช้เทคโนโลยี 9/18/ทุกสัปดาห์ 30 % 30 % 10 %
2 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี การนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การมีส่วนร่วมอภิปราย เดียว และกลุ่ม การสรุปผลจากการบริการวิชาการ/ผลจากการศึกษาดูงานจากสถานประกอบการ ตลอดภาคการศึกษา 20 %
3 คุณธรรม จริยธรรม ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล - ประเมินจากการสังเกต รับผิดชอบต่อตนเอง และต่องานที่ได้รับมอบหมาย - เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน งานมอบหมาย และจิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 10 %
1. วราภา  มหากาญจนกุล  สิริพร  สธนเสาวภาคย์  สุดสาย  ตรีวานิช และ ปรียา  วิบูลย์เศรษฐ์. 2560. การจัดการความปลอดภัยอาหารสำหรับงานบริการอาหาร. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : กรุงเทพมหานคร 274 หน้า.
2. สุดสาย ตรีวานิช. 2560. การสุขาภิบาลโรงงานอาหาร. สำนักพิมพ์มาหวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : กรุงเทพมหานคร 623 หน้า.
3. สุวิมล กีระติพิมล. 2544 ระบบการประกันคุณภาพของอาหาร HACCP. สำนักพิมพ์ ส.ส.ท. : กรุงเทพมหานคร.
1. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2545. การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมตลาด. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : กรุงเทพฯ. 88 หน้า.
2. จันทร์จนา สงวนรุ่งวงศ์.  2549. คู่มือการประยุกต์ใช้ GMP และ 5ส ในอุตสาหกรรมอาหาร. บริษัทพงษ์วรินทร์การพิมพ์ จำกัด : กรุงเทพฯ. 136 หน้า.
3. สถาบันอาหาร. 2542. การประยุกต์ใช้ระบบ HACCP ในผลิตภัณฑ์อาหาร. ห้างหุ้นส่วนจำกัด  อรรถสิทธิ์การพิมพ์ : กรุงเทพมหานคร 147 หน้า.
4.สุวิมล กีระติพิมล. 2543. GMP ระบบการจัดการและควบคุมการผลิตอาหาร สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.: กรุงเทพมหานคร.
www.springerlink.com
www.sciencedirect.com
http://www.fda.moph.go.th
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน  ตั้งคำถามระหว่างบรรยายเพื่อกระตุ้นการแสดงออกทางความคิด ให้นักศึกษาประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบ ความรู้ ทักษะในการประมวล/คิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้ แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
อาจารย์ผู้สอนประเมินการสอนของตนเอง โดยดูจากผลการเรียนของนักศึกษา เพื่อเป็นแนวทาง แก้ไขหรือการเปลี่ยนแปลง/ปรับปรุงรายวิชา
1) จัดกิจกรรมในการระดมสมองนำหลัก stem education และสรรหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน
2) การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ สัมมนา หรือฝึกอบรม เพื่อพัฒนาและวางแผนปรับปรุงการเรียนการสอน
1) ให้อาจารย์แสดงตัวอย่างการประเมินผลในรายวิชาเพื่อการทวนสอบ
2) การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา จะมีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น โดยปรับปรุงรายวิชาทุก ๖ เดือน หรือตามข้อเสนอแนะปรับปรุงการสอนในข้อ ๓ และผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ ๔