จิตวิทยาเพื่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน

Psychology for Living and Work

1. เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของวิชาจิตวิทยา วิธีการศึกษาทางจิตวิทยา และขอบข่ายความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับจิตวิทยา ตลอดจนถึงประโยชน์ของวิชาจิตวิทยา
2. เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรม บุคลิกภาพ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ส่งผลให้สามารถเข้าใจตนเอง และบุคคลอื่นๆ
3. เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ส่งเสริมสุขภาพจิต การสร้างมนุษยสัมพันธ์ และการปรับใช้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพในอนาคต
  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานทางจิตวิทยาที่มีความทันสมัยและถูกต้องสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น  และนำความความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันและสังคมต่อไป
ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยาเพื่อการดำรงชีวิต การจัดการอารมณ์  ความเครียดและสุขภาพจิต การเข้าใจและเห็นคุณค่าในตัวเอง แรงจูงใจการเรียนรู้และการทำงาน สัมพันธภาพในการทำงาน การบริหารความขัดแย้งตลอดจนการปรับตัวในสังคมและการทำงาน เพื่อที่จะสามารถใช้ชีวิตในสังคมและการประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุข
 -   อาจารย์ประจำรายวิชาให้นักศึกษาติดต่อโดยตรง ติดต่อผ่านทาง e-mail  เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษานอกชั้นเรียน และสื่อสาร-นัดหมายงานต่าง ๆ  โดยเฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์  -  อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์   (เฉพาะรายที่ต้องการ
1.1    คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา      
         พัฒนาผู้เรียนเกิดการพัฒนาในด้านความคิดและการแสดงออก หรือ บุคลิกภาพ (Personality) ที่ดี ที่เหมาะสม และเกิดการยอมรับในสังคมอีกด้วยเช่น  ความเพียรความพยายามประกอบความดี ละอายต่อการปฏิบัติชั่ว  ความซื่อสัตย์สุจริต ความเมตตากรุณา  ความยุติธรรม  มีสติปัญญา รู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาท  ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ ความสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการประกอบอาชีพ เพื่อความมั่นคงในอนาคต  
 -ทำแบบประเมินตนเองก่อนเรียน          -  ศึกษาเอกสาร           -  ฟังบรรยายจากผู้สอน          -  ซักถามแนวคิดและถามข้อสงสัย          -  การปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย                  -  งานกลุ่ม รายงานเรื่องการบริหารความเครียด    -  งานเดี่ยว  ศึกษาบทความและงานวิจัยทางสาขาจิตวิทยาที่นักศึกษาสนใจคนละ  1  เรื่องพร้อมนำเสนอ          -  ทำแบบประเมินตนเองหลังเรียน
1.3.1   การเข้าชั้นเรียน 1.3.2   ส่งงานตามที่กำหนด 1.3.3   มีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน 1.3.4   ประเมินผลจากการวิเคราะห์หมู่บ้านพอเพียง  ชุมชนพอเพียง     1.3.5   ประเมินจากการนำเสนอและอภิปรายหน้าชั้นเรียน โดยโปรแกรมPower point วีดิทัศน์ และอื่น ๆ 1.3.6   ประเมินผลจากการรวบรวมองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยการจัดกิจกรรม/โครงการ และการจัดนิทรรศการนำเสนอผลงาน 1.3.7   ประเมินจากรูปเล่มรายงานที่ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงานและต้องมีเอกสาร อ้างอิงอย่างน้อย 5 เล่ม
 1. มีความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของวิชาจิตวิทยา  วิธีการศึกษาทางจิตวิทยา และขอบข่ายความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับจิตวิทยา ตลอดจนถึงประโยชน์ของวิชาจิตวิทยา                
2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรม บุคลิกภาพ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ส่งผลให้สามารถเข้าใจตนเอง และบุคคลอื่นๆ                
3. เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ส่งเสริมสุขภาพจิต การสร้างมนุษยสัมพันธ์ และการปรับใช้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพในอนาคต
 วิธีการสอน บรรยาย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอหน้าชั้น การอภิปรายกลุ่ม การวิเคราะห์ โดยมอบหมายให้นักศึกษาต้องติดตามข่าว  สารคดี  เศรษฐกิจพอเพียงตามหัวข้อที่เรียน โดยมุ่งการสอนแบบเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลางการเรียน (Student Center) และการเรียนโดยการแก้ปัญหา (Problem base Learning) 
 2.3.1   กิจกรรมชั้นเรียน 2.3.2   รูปเล่มรายงาน 2.3.3   การนำเสนองานในชั้นเรียน 2.3.4   การนำเสนอผลงานของนักศึกษา
 3.1.1   มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ 3.1.2   มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ    การสอนวิชาจิตวิทยาเพื่อการดำเนินชีวิตและการทำงานเป็นการสอนให้นักศึกษาเข้าใจรากฐานในการเกิดพฤติกรรมของตนเอง เข้าใจพฤติกรรมของบุคคลอื่น และเข้าใจสิ่งแวดล้อมพร้อมปรับตัวเองให้สามารถอยู่ได้ทุกสถานการณ์อย่างมีความสุข  เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการวางแผนอย่างเป็นระบบเพื่อการคิดและตัดสินใจ  ที่ดีและถูกต้อง สามารถอยู่รวมกับผู้อื่นในสังคมได้    และเพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
3.2.1   การบรรยายประกอบสื่อการสอน และการอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน 3.2.2   ให้นักศึกษาทำงานกลุ่มแบ่งหน้าที่กันทำงานและนำเสนอผลงานโดยส่งรูปเล่มรายงานก่อนรายงาน 1 สัปดาห์ และนำเสนอรายงานในรูป Power point 3.2.3   ให้นักศึกษาดู Clip , วีดีทัศน์ , สารคดีทางวิทยุ , สารคดีทางโทรทัศน์ , โฆษณา , นิทาน  แล้วร่วมวิพากษ์วิเคราะห์ในชั้นเรียน  3.2.4   เกมส์ / กิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียน 3.2.5   การเลือกทำโครงการตามที่นักศึกษาสนใจ การลงพื้นที่ศึกษาข้อมูล และการนำเสนอผลงาน
3.3.1   การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมของนักศึกษา 3.3.2   รูปเล่มรายงาน ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงาน เนื้อหาครบถ้วน   3.3.3   สอบกลางภาคและการสอบปลายภาค   
4.1.1   มีน้ำใจต่อผู้อื่นในสังคม  ไม่เห็นแก่ตัว
4.1.2   มีการวางแผนในการทำงานอย่างเป็นระบบ
4.1.3   แลกเปลี่ยน  รวมถึงแบ่งปันองค์ความรู้ต่อเพื่อนร่วมงาน
4.1.4   สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาพัฒนาตนเองและช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม - พัฒนาทักษะการมีมนุษย์สัมพันธ์  การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน   - พัฒนาทักษะความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคม - พัฒนาทักษะคุณธรรม  จริยธรรม  จรรยาวิชาชีพ  ระเบียบวินัยในชีวิตและสังคม 
4.2.1   จัดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม 4.2.2   กำหนดปฏิทินเวลานำเสนอ  4.2.3   ผู้สอนและนักศึกษาช่วยกันเสริมเนื้อหาให้ครบถ้วน โดยใช้ power point ของผู้สอนสรุปเพื่อเพิ่มเนื้อหาให้ครอบคลุม   4.2.4   กรณีศึกษา            - สื่อจาก Clip , วีดีทัศน์, สารคดีทางวิทยุ , สารคดีทางโทรทัศน์ , โฆษณา  และนิทาน  
4.3.1  ให้นักศึกษาช่วยกันประเมินตามแบบประเมินการนำเสนอ 4.3.2  ครูประเมินตามแบบการนำเสนอ 4.3.3  สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน 4.3.4  การคิดวิเคราะห์จากกรณีศึกษา Clip , วีดีทัศน์, สารคดีทางวิทยุ , สารคดีทางโทรทัศน์ ,  โฆษณา  และนิทาน  
 5.1.1   พัฒนาทักษะการใช้ Internet โดยการสืบค้นข้อมูล   5.1.2   พัฒนาทักษะการเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งสืบค้นต่าง ๆ โดยเฉพาะการใช้สื่อจาก Internet  ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนด้านการเพิ่มพูนความรู้  
 5.2.1   ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเนื้อหาเพิ่มเติมจาก Website หรือสื่ออื่น ๆ เช่น CD, VCD, วีดีทัศน์  และเทปเสียง 5.2.2   การนำเสนอรายงานทุกครั้งให้ใช้ Computer และ Power point และ/หรือ Clip 
ดูจากการทำ Power point นำเสนอผลงาน  
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. มีจรรยาบรรณ 2. มีคุณธรรมจริยธรรม 3. มีจิตอาสาและจิตสำนึกสาธารณะ 4. มีภาวะผู้นำ 5. มีความรอบรู้ 6. ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ 7. สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 8. สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ 9. มีทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 10. มีทักษะในการสื่่อสาร
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
1 GEBSO106 จิตวิทยาเพื่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
วัลภา สบายยิ่งและคณะ.  จิตวิทยาเพื่อการดำรงชีวิต.  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. ครั้งที่ 1 : 2559
กันยา สุวรรณแสง  จิตวิทยาทั่วไป กรุงเทพฯ : รวมสาสน์  พิมพ์ครั้งที่ 5, 2544.  จิราภา  เต็งไตรรัตน์ และคณะ  จิตวิทยาทั่วไป  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ 2 , 2543. ดวงกมล เวชบรรยงรัตน์ และคณะ จิตวิทยาทั่วไป  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2539. ทิพยวรรณ  กิตติพร จิตวิทยาทั่วไป  พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร 2543. นพมาศ ธีรเวคิน  จิตวิทยาสังคมกับชีวิต  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่3, 2542. นพมาศ ธีรเวคิน  ทฤษฎีบุคลิกภาพและการปรับตัว  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2540. ประมวล ดิคคินสัน  จิตวัฒนา:จิตวิทยาเบื้องต้น กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช พิมพ์ครั้งที่ 2 , 2524.
พิสมัย วิบูลย์สวัสดิ์ และคณะ  จิตวิทยาทั่วไป  เชียงใหม่ : โรงพิมพ์ช้างเผือก 2527. ไพบูลย์ เทวรักษ์  จิตวิทยา กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ เอส ดี เพรส 2537. สุชา จันทร์เอม และสุรางค์ จันทร์เอม  สุขภาพจิต  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แพร่พิทยา 2521. สุชา จันทร์เอม  จิตวิทยาทั่วไป กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิชจำกัด 2542.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความคิดเห็นจากนักศึกษาดังนี้ การสนทนาระหว่างผู้สอนและผู้เรียน นักศึกษาเป็นผู้ทำแบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา นักศึกษาเป็นผู้เสนอแนะกิจกรรมในการเรียนการสอน        
     การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้ 2.1   สังเกตจากการมีส่วนร่วมในการเรียนในการอภิปรายรายกลุ่มใหญ่ 2.2   สังเกตจากการทำกิจกรรมในชั้นเรียน 2.3   ประเมินจากผลการนำเสนอ 2.4   ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค    
หลังจากการประเมินผลในข้อ 2  จึงมีการปรับปรุงการสอนวิชานี้ คือ 3.1   แก้ไขเนื้อหาให้มีความทันสมัย ทันเหตุการณ์เสมอ ยกตัวอย่างกรณีศึกษาให้ทันสมัย 3.2   ให้นักศึกษาเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ 3.3   ทำวิจัยในและนอกชั้นเรียน 3.4   การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ    
ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอน มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา การตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม ผู้สอนตรวจสอบคะแนน ของนักศึกษาแต่ละคน และแจ้งผลการได้รับคะแนนเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนภายหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชา ได้ดังนี้ 4.1   การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น 4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม  
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1   วิชาจิตวิทยาเพื่อการดำเนินชีวิตและการทำงานต้องปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปทุกปี 5.2   เชิญวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้ความรู้ 5.3   จัดดำเนินโครงการในชั้นเรียนที่มีความหลากหลาย และต่อเนื่อง 5.4   ให้นักศึกษาเข้าไปมีส่วนในการพัฒนามหาวิทยาลัย พัฒนาชุมชนและสังคม