ระบบสารสนเทศทางการบัญชี

Accounting Information System

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชี เทคนิคและวิธีการของระบบสารสนเทศ การควบคุมภายในที่สำคัญ หลักการจัดทำเอกสารของธุรกิจ แนวคิดในการจัดทำรายงานเพื่อช่วยในการควบคุมและตัดสินใจ 1.2 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชีวงจรธุรกิจขั้นพื้นฐาน ได้แก่ วงจรรายได้ วงจรรายจ่าย วงจรการผลิต วงจรเงินเดือนและค่าแรง วงจรการบริหารการเงิน ประเภทของเอกสารและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในแต่ละวงจร ทางเดินเอกสารและสารสนเทศทางการบัญชีที่เกี่ยวข้อง
2.1 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจในระบบสารสนเทศทางการบัญชีและสามารถนำไปใช้ในการทำงานได้ 2.2 เพื่อให้สอดคล้องกับสาระวิชาในกรอบหลักสูตรมาตรฐานด้านการบัญชีของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและคณะกรรมการบริหารวิชาชีพการบัญชี (การบัญชี)
ศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชี เทคนิคและวิธีการของระบบสารสนเทศ การควบคุมภายในที่สำคัญ หลักการจัดทำเอกสารของธุรกิจ แนวคิดในการจัดทำรายงานเพื่อช่วยในการควบคุมและตัดสินใจ การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชี วงจรธุรกิจขั้นพื้นฐาน วงจรรายได้ วงจรรายจ่าย วงจรการผลิต วงจรเงินเดือนและค่าแรง วงจรการบริหารเงิน ประเภทของเอกสารและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในแต่ละวงจร ทางเดินเอกสารและสารสนเทศทางการบัญชีที่เกี่ยวข้อง
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาให้นักศึกษาเข้าพบ โดยประมาณ 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และสามารถขอคำปรึกษาได้ผ่านทางไลน์กลุ่ม AIS หรือทาง Message Facebook
(1) มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ (2) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
(1) สร้างวัฒนธรรมองค์กรในสาขาวิชาเพื่อปลูกจิตสำนึกให้กับอาจารย์และบุคลากร ในการรักษาระเบียบวินัยของมหาวิทยาลัย ความมีส่วนร่วมในการพัฒนาสาขาฯ คณะและมหาวิทยาลัย การตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบในหน้าที่และความซื่อสัตย์สุจริต (2) การสอนสอดแทรกในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพในรายวิชา (3) กำหนดกติกาการเข้าเรียน การส่งงานและการมีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในชั้นเรียน (4) จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
(1) สังเกตพฤติกรรมการเข้าเรียนและความรับผิดชอบในการส่งงานที่ได้รับมอบหมายอย่างตรงเวลา (2) มีการอ้างอิงเอกสารที่นำมาใช้ในการรายงาน/งานที่ได้รับมอบหมายอย่างถูกต้อง ชัดเจนและเหมาะสม
มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชี ซึ่งประกอบด้วยแนวความคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชี เทคนิคและวิธีการของระบบสารสนเทศ การควบคุมภายในที่สำคัญ หลักการจัดทำเอกสารของธุรกิจ แนวคิดในการจัดทำรายงานเพื่อช่วยในการควบคุมและตัดสินใจ การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชี วงจรธุรกิจขั้นพื้นฐาน วงจรรายได้ วงจรรายจ่าย วงจรการผลิต วงจรเงินเดือนและค่าแรง วงจรการบริหารเงิน ประเภทของเอกสารและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในแต่ละวงจร ทางเดินเอกสารและสารสนเทศทางการบัญชีที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์กับองค์กรธุรกิจในแต่ละประเภทได้
(1) การเรียนการสอนที่เน้นสมรรถนะมีการบรรยาย การฝึกปฏิบัติและมุ่งเน้นวิธีการปฏิบัติที่ทำให้ผู้เรียนมีทักษะการปฏิบัติงานได้จริงจากการเรียนรู้ (2) การเรียนการสอนที่เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มุ่งเน้นวิธีการให้ผู้เรียนศึกษาและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากการมอบหมายงานให้ฝึกปฏิบัติ (3) การสอนแบบบรรยายและอภิปราย มุ่งเน้นการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน มุ่งสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียนโดยการตั้งคำถาม ให้คิดวิเคราะห์เพื่อการค้นหาคำตอบที่ผู้เรียนต้องการเรียนรู้และจำเป็นต่อการศึกษาความรู้ที่ทันสมัยด้วยตนเองเป็นหลัก (4) ยกตัวอย่างระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่ใช้ในธุรกิจที่หลากหลาย (5) เพิ่มเติมการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจโดยการใช้โปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูลที่ทันสมัยขึ้น เช่น โปรแกรม Rapid Miner เป็นต้น
(1) ทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการ ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ (2) ตรวจสอบงานที่ได้รับมอบหมายทั้งแบบฝึกหัดและกรณีศึกษาพิเศษ (3) สังเกตพฤติกรรมการเรียนและการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ทั้งการถามตอบในชั้นเรียนและการทำแบบฝึกหัด
(1) สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ จากสื่อทางออนไลน์เพื่อนำมาใช้ในการระบุวงจรทางการบัญชี ลักษณะของข้อมูลทางการบัญชี เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์กับองค์กรธุรกิจในแต่ละประเภทได้    (2) สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
(1) การบรรยาย การยกตัวอย่าง กรณีศึกษา และการถามตอบในชั้นเรียน (2) เปิดโอกาสให้นักศึกษาค้นคว้าและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
(1) แบบฝึกหัดจากหนังสือและแบบฝึกหัดพิเศษ (2) การสอบวัดผลในรายวิชา (3) การประเมินจากผลงานของนักศึกษาที่นำเสนอหน้าชั้นเรียน
(1) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี (2) มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน และมีความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
(1) กำหนดหัวข้อให้นักศึกษาทำงานกลุ่มเพื่อเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น (2) ให้นักศึกษาจัดทำสื่อประกอบรายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
(1) ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงานของนักศึกษา (2) สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาเป็นรายบุคคลและพฤติกรรมในการทำงานกลุ่ม
(1) สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมตามงานที่ได้รับมอบหมาย
(1) มอบหมายงานเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติและพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ที่จำเป็น เช่น การค้นคว้าด้วยตนเองทางสื่อออนไลน์ หรือการจัดทำและนำเสนอโดยการใช้ PowerPoint หรือเทคโนโลยีอื่น (2) จัดทำสื่อประกอบการรายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
(1) ประเมินผลงานจากสื่อประกอบการรายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียนโดยใช้รูปแบบที่เหมาะสมและทันสมัย (2) ประเมินผลจากการมีส่วนร่วมในการนำเสนอและการอภิปรายผล
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 BACAC134 ระบบสารสนเทศทางการบัญชี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1 - การเข้าเรียน ไม่น้อยร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด - ประวัติการส่งงานตามที่มอบหมายตรงตามกำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2,3 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 (บทที่ 1-3) สัปดาห์ที่ 4 10%
3 2,3 สอบกลางภาค (บทที่ 4-8) สัปดาห์ที่ 9 30%
4 1,2,3,4,5 เล่มรายงานฉบับสมบูรณ์และการนำเสนอรายงาน สัปดาห์ที่ 17 30%
5 2,3 สอบปลายภาค (บทที่ 9-13) สัปดาห์ที่ 18 20%
ระบบสารสนเทศทางบัญชี: หลักการเบื้องต้นและกระบวนการธุรกิจ พิมพ์ครั้งที่ 2 โดย ผศ.ไพลิน ตรงเมธีรัตน์
ระบบสารสนเทศทางบัญชี พิมพ์ครั้งที่ 10 โดย รศ.ดร.วัชนีพร  เศรษฐสักโก
ระบบสารสนเทศทางบัญชี (Accounting Information Systems) โดย ผศ.ดร.กัญฐณา  ดิษฐ์แก้ว
ระบบสารสนเทศทางบัญชี-Accounting Information Systems โดย รศ.พลพธู ปิยวรรณ และ รศ.ดร.กัญนิภัทธิ์  นิธิโรจน์ธนัท
ระบบสารสนเทศทางการบัญชี: หลักการเบื้องต้นและกระบวนการธุรกิจ โดย ผศ.ไพลิน ตรงเมธีรัตน์
การประยุกต์โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี โดย ผศ.ดร.อุเทน เลานำทา
Core Concepts of Accounting Information Systems โดย Nancy A. Bagranoff, DBA, Mark G. Simkin, Ph.D., Carolyn Strand Norman, Ph.D., CPA (2008)
Accounting Information Systems โดย Marshall B Romney and Paul J Steinbart (2011)
ข้อมูลความเคลื่อนไหวทางวิชาชีพบัญชีที่
เว็บไซต์ของสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ www.fap.or.th
จดหมายข่าวของสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ (FAP Newsletter)
1.1 การสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนรายบุคคลและผู้เรียนรายกลุ่ม 1.2 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.3 การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค 1.4 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัยเมื่อสิ้นภาคการศึกษา ระบบออนไลน์ 2.1 ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัยเมื่อสิ้นภาคการศึกษา ระบบออนไลน์ 2.2 ผลการสอน การดำเนินการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับแผนบริหารการสอน 2.3 สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการเรียนและการทำกิจกรรมในชั้นเรียน 2.4 ผลงานของนักศึกษาที่ได้มอบหมายในระหว่างเรียนและผลการสอบปลายภาคเรียน 2.5 การทดสอบประเมินผลการเรียนรู้
เน้นให้นักศึกษาเข้าใจการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนและหลักการบัญชีเพื่อประกอบการตัดสินใจ 3.1 แก้ไขเนื้อหาและยกตัวอย่าง กรณีศึกษาที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชีในแต่ละธุรกิจหรืออุตสาหกรรมให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ 3.2 สอบถามนักศึกษาถึง การเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ 3.3 การวิจัยทั้งในห้องเรียนและการวิจัยนอกห้องเรียน
ให้กรรมการด้านวิชาการเป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจากข้อสอบและการตัดเกรด 4.1 มีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่มของผู้เรียน โดยผู้สอนตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีการพัฒนาที่ผิดปกติหรือไม่ และมีการแจ้งผลของคะแนนที่ได้รับเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง 4.2 ให้กรรมการด้านวิชาการเป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจากข้อสอบและการตัดเกรด
5.1 นำข้อมูลที่ได้ผลจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในรายวิชา การประเมินผู้สอนและนำผลการสอนมาใช้พัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไปให้ดีขึ้น 5.2 ปรับปรุงเนื้อหารายวิชาทุกปี (เพิ่มเติมตัวอย่างระบบสารสนเทศทางการบัญชีในแต่ละธุรกิจที่หลากหลายและทันสมัยให้มากขึ้น) 5.3 ฝ่ายวิชาการเป็นผู้นำเสนอข้อสอบและการตัดเกรด ก่อนที่จะมีการสอบและการประกาศผล นำผลการประเมินในข้อ 1 และข้อ 2 ประกอบการพิจารณาข้อบกพร่องของวิธีการสอน วิธีการประเมิน และเนื้อหา