การศึกษางาน

Work Study

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1.1 สามารถอธิบายขั้นตอนการศึกษาวิธีการทำงาน เพื่อลดงานที่ไม่จำเป็นและเพิ่มประสิทธิภาพงานได้ 1.2 อธิบายและ วิเคราะห์ปัญหาเพื่อหาแนวทางปรับปรุงวิธีการทำงาน ได้ 1.3 สามารถเลือกใช้เครื่องมือ แผนภูมิและไดอาแกรมต่างๆได้อย่างเหมาะสม ในการบันทึกงาน และการปรับปรุงงานได้ 1.4 สามารถอธิบายขั้นตอนการศึกษาเวลา และคำนวณหาเวลามาตรฐานของหารทำงานได้ 1.5 ตระหนักถึงความสำคัญของการนำเอาหลักการ และเครื่องมือต่างๆ ในการศึกษางาน เพื่อนำไปใช้ในงานอุตสาหกรรม 1.6 ตระหนักถึงความสำคัญของหลักการศึกษางานอุตสาหกรรมที่มีต่อผลิตภาพขององค์กร 1.7 สามารถเขียนแผนภูมิ และไดอาแกรมต่างๆ ในการบันทึกงาน และการปรับปรุงงานได้ 1.8 ประเมินและคำนวณหาค่าต่างๆในแผนภูมิและไดอาแกรมได้ เช่น ค่าระยะทาง เวลา ค่าใช้จ่ายแรงงาน ค่าเวลาการทำงาน เวลาว่างงาน ค่า Utilization และอื่นๆ เป็นต้น 1.9 สามารถคำนวณหาค่าขนาดตัวอย่างของการสุ่มงาน 1.10 สามารถประเมินประสิทธิภาพการทำงานและคำนวณเวลามาตรฐานได้
มีการปรับปรุงเนื้อหา สไลด์การสอนเพิ่มเติมเพื่อให้ทันสมัยและเหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน และเพิ่มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการระบบเอกสาร (ระบบ Document Manager System; DMS) ที่พัฒนาโดยภาควิชา บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มาช่วยในการจัดการเรียนการสอน ส่งข้อมูล รายงานเดี่ยว รายงานกลุ่ม ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้ และสามารถค้นคว้าข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้มากยิ่งขึ้น
 ศึกษาเกี่ยวกับหลักการศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหวในการทำงาน การเลือกใช้เทคนิค ในการบันทึกข้อมูล และเทคนิคในการตั้งคำถาม การวิเคราะห์การปฏิบัติงานด้วยแผนภูมิ การผลิต แผนภูมิการผลิตแบบต่อเนื่องประเภทคน วัสดุ และเครื่องจักร แผนภูมิทวีคูณ แผนภูมิการเคลื่อนที่ แผนภูมิสายใย และแผนภูมิสองมือ หลักการเคลื่อนที่อย่างมิ ประสิทธิภาพ การสุ่มงาน การหาเวลามาตรฐานแบบต่าง ๆ และการใช้อุปกรณ์ใน การศึกษางาน
ให้คำแนะนำในชั้นเรียน หากนักศึกษามีข้อสงสัยในเนื้อหาที่เรียน สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้โดยการมาพบอาจารย์นอกเวลาเรียน (ในเวลาราชการ) หรือปรึกษาทาง E-mail ประมาณ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
 1.1 เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต
1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม
1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1. บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง 2. อภิปรายกลุ่ม ทำกรณีศึกษาเป็นกลุ่มภายในห้อง 3. ให้ทำรายงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
1. พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และส่งตรงเวลา 2. มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม 3. ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา 4. ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี 2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม 3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น 5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
1. บรรยายตามสื่อการสอนที่เตรียมไว้พร้อมทั้งมีเอกสารประกอบการสอนให้นักศึกษาตามเนื้อหาที่เรียนเพื่อเสริมความเข้าใจ 2. ให้อภิปรายกลุ่ม และวิเคราะห์กรณีศึกษาเป็นกลุ่มภายในห้อง 3. ให้ทำรายงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน 4. พานักศึกษาไปทัศนศึกษา ดูงานที่โรงงานผลิต เพื่อเพิ่มประสบการณ์ในการเรียนรู้ กับกรณีศึกษาจริง
1. ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฎี 2. ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี 2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ 5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
1. ให้ทำแบบฝึกหัดและการบ้านโดยมีการเฉลยในชั้นเรียนทุกครั้ง 2. อภิปรายกลุ่ม และวิเคราะห์กรณีศึกษาเป็นกลุ่มภายในห้อง 3. ให้ทำรายงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน 4. เรียกตอบเป็นรายบุคคลระหว่างเรียน
1. สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์ 2. ตรวจการบ้านและแบบฝึกหัดของนักศึกษาเพื่อวัดความเข้าใจของนักศึกษา
 1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม 2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ 3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ 5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำ งาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
1. มอบหมายงานรายกลุ่ม 2. การนำเสนอรายงาน
1.ดูผลงานและเนื้อหารายงานที่นำเสนอ 2. สอบถามพฤติกรรมการแบ่งงานกันในกลุ่ม ทดสอบโดยเรียกตอบรายบุคคล 3. ตรวจสอบว่าส่งงานครบถ้วนทันตามกำหนดเวลา
1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ 3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ 5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
1. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก Website 2. ให้ทำรายงาน โดยเน้นการคำนวณตัวเลข หรือมีการคิดสถิติอ้างอิง 3.ให้นำเสนอผลงานหน้าชั้นโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1. ดูรูปแบบ เนื้อหา และสื่อที่ใช้ในการนำเสนอรายงานหน้าชั้น 2. ตรวจสอบความถูกต้องของการคำนวณตัวเลขและสถิติ 3. ส่งงานผ่านเทคโนโลยีได้ครบถ้วนทันตามกำหนด
1.อธิบายและยกตัวอย่างการเขียนแผนภูมิ และไดอาแกรมต่างๆ ในการบันทึกงาน และการปรับปรุงงาน 2.ให้ประเมินและคำนวณหาค่าต่างๆในแผนภูมิ และไดอา แกรมได้ เช่น ค่าระยะทาง เวลา ค่าใช้จ่ายแรงงาน ค่าเวลาการทำงาน เวลาว่างงาน ค่า Utilization และอื่นๆเป็นต้น 3.อธิบายถึงการประเมินค่าประสิทธิภาพการทำงาน และคำนวณเวลามาตรฐาน
1. มอบหมายงานรายกลุ่ม 2. การนำเสนอรายงาน
1. บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง 2. อภิปรายกลุ่ม ทำกรณีศึกษาเป็นกลุ่มภายในห้อง 3. ให้ทำรายงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา การศึกษางานอุตสาหกรรม Industrial Work Study
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา บรรยาย การใช้กรณ๊ศึกษา
1 TEDIE906 การศึกษางาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล