งานเครื่องมือกล

Machine Tool

        เข้าใจเกี่ยวกับหลักการทำงานของ เครื่องกลึง เครื่องกัด เครื่องเลื่อย เครื่องไส เครื่องเจียระไน
และเครื่องเจาะ รู้ชนิดและส่วนประกอบของเครื่องกลึง เครื่องกัด เครื่องเลื่อย เครื่องไส เครื่องเจียระไน และ เครื่องเจาะ  เข้าใจหลักการปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย  มีทักษะในการผลิตงานกลึง งานกัด งานไส งานเจียระไน งานตัด  งานเจียระไน และงานเจาะ   มีเจตคติที่ดีในการปฏิบัติงานเครื่องมือกล
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย และเพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านการฝึกปฏิบัติโดยใช้เครื่องมือเครื่องจักรอุตสาหกรรม และสอดรับกับการเรียนในวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
  
         ศึกษาและฝึกปฏิบัติงานกลึง  งานกัด งานไส งานเจียระไน งานตัด และงานเจาะ ตลอดจนความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
1
      1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์สุจริต และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ของสาขาวิชา มหาวิทยาลัย และข้อตกลงกับอาจารย์ผู้สอน
      1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1.3 มีเจตคติที่ดีในการปฏิบัติงานเครื่องมือกล
2.1 เข้าใจเกี่ยวกับหลักการทำงานของเครื่องกลึง เครื่องกัด เครื่องเลื่อย เครื่องไส เครื่องเจียระไน และเครื่องเจาะ
 2.2 รู้ชนิดและส่วนประกอบของเครื่องกลึง เครื่องกัด เครื่องเลื่อย เครื่องไส เครื่องเจียระไน และเครื่องเจาะ
  2.3 เข้าใจหลักการปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย
3.1 สามารถนำความรู้จากภาคทฤษฎีมาปรับใช้กับการปฏิบัติได้ถูกต้อง
3.2 มีความคิดที่ยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานเครื่องมือกลได้อย่างเหมาะสม
3.3 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
4.1 สามารถวางแผนการปฏิบัติงานและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.2 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม
4.3 สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
        5.1 สามารถใช้การคำนวณมาประกอบการพิจารณาในการปรับตั้งการทำงานของเครื่องจักรได้อย่างเหมาะสม
5.2 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยมาประกอบการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.3 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
6.1 มีทักษะในการผลิตชิ้นงานจากเครื่องกลึง งานกัด งานไส งานเจียระไน งานตัด งานเจียระไน และงานเจาะ
6.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.3 มีทักษะในการปฏิบัติงานในโรงฝึกงานด้วยความปลอดภัย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,2.1,2.2, 2.3,5.1,5.3 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 5 9 12 17 5% 10% 5% 10%
2 1.1,1.2, 1.3, 2.1,2.2, 2.3,3.1,3.2 3.3,4.1,4.2, 4.3,4.4,5.1, 5.2,5.3,5.4 6.1,6.2,6.3 ค้นคว้าทำรายงาน การนำเสนอรายงาน การปฏิบัติงานงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 60%
3 1.1,1.2, 1.3,3.2,4.2 5.3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
v
1.   ทศพล สังข์อยุทธ์.   ทฤษฎีเครื่องมือกล1. พิมพ์ครั้งที่ 4. สระบุรี. โรงพิมพ์ปากเพรียวการช่าง.
       2544.
2.   วิโรจน์  สุวรรณรัตน์. งานเครื่องมือกลเบื้องต้น 1.  กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์เอมพันธ์.
       2541.
3.  ศุภชัย  รมยานนท์ และ ฉวีวรรณ  รมยานนท์.   ทฤษฎีงานเครื่องมือกลเบื้องต้น : งานกลึง.
      พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. 2529.
4.  ศุภชัย  รมยานนท์ และ ฉวีวรรณ  รมยานนท์.   ทฤษฎีงานเครื่องมือกลเบื้องต้น : งานกัด.
      พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. 2529.
5.  ศุภชัย  รมยานนท์ และ ฉวีวรรณ  รมยานนท์.   ทฤษฎีงานเครื่องมือกลเบื้องต้น : งานไส.
      พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. 2529.
6.  ศุภชัย  รมยานนท์ และ ฉวีวรรณ  รมยานนท์.   เครื่องมือกลทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 3.
     กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. 2529.
7.  ศุภชัย  อัครนรากุล. กระบวนการตัดเฉือนด้วยเครื่องกัดเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 1. มหาวิทยาลัย
     เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่ 2551.
8.  สุรพล  พลเยี่ยม. งานเครื่องมือกลเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์วังอักษร.
     2546.
9.   ไฮน์ริช   เกร์ลิงก์. ทฤษฎีงานเครื่องมือกล. โรงพิมพ์ซี.ยอจ เวสเตอร์มานน์. 1964.
10.  CHRISTOPHER J. MCCAULEY RICCARDO HEALD and MUHAMMED IQBAL HUSSAIN.
       Machinery’s Handbook. INDUSTRIAL PRESS INC.NEW YORK.2000
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น http://library.rmutl.ac.th/  
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนาระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 การประเมินผู้สอน และการเสนอแนะของนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ