การวิจัยทางธุรกิจและสถิติ

Business Research and Statistics

1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายความสำคัญของการวิจัยทางธุรกิจ ขั้นตอน วิธีการดำเนินวิจัยทางธุรกิจและ จรรยาบรรณของนักวิจัยได้
2. เพื่อให้นักศึกษาทราบและเข้าใจแนวทางในการปฏิบัติสำหรับการทำวิจัยทางธุรกิจ และจรรยาบรรณของนักวิจัยในการปฏิบัติงานได้
3. เพื่อให้นักศึกษานำความรู้เรื่องการวิจัยทางธุรกิจ ไปใช้ในการประกอบอาชีพและนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในหลักการทำวิจัยทางธุรกิจ จรรยาบรรณของนักวิจัยและนำไปใช้ในทางปฏิบัติได้จริง
2. เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการประมวลผลและปรับปรุงเนื้อหารายวิชาให้มีความเหมาะสม และทันสมัยสอดคล้องกับการดำเนินการวิจัยในปัจจุบัน
ศึกษาและฝึกปฏิบัติ ที่มาและการเตรียมการวิจัย การดำเนินการวิจัย การเขียนโครงการและรายงาน การวิจัยซึ่งจะนำมาประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจ การวิจัยธุรกิจเพื่อพัฒนาแก้ปัญหาชุมชนและสังคม โดยฝึกปฏิบัติงานวิจัยในพื้นที่จริง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถิติสำหรับการวิจัย การเลือกใช้สถิติสำหรับ การทดสอบสมมติฐาน
- อาจารย์ผู้สอนกำหนดวัน เวลา ในการให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 5 ชั่วโมง/สัปดาห์ ณ ห้องพักอาจารย์ ตึก BLA ชั้น 3 ห้องหลักสูตร รวมทั้งอนุญาตให้นักศึกษาติดต่อผ่านทางสื่อ Social Network โดยประกาศให้ผู้เรียนทราบทั่วกัน
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
1.1.1 นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่กับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ 1.1.2 นักศึกษาต้องมีจิตสาธารณะและทำคุณประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม 1.1.3 นักศึกษาต้องมีความระมัดระวังในการใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศเพื่อให้เกิดความยั่งยืน 1.1.4 นักศึกษาต้องมีจริยธรรมในความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน
1.2.1 สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมของวิชาชีพและการทำงานวิจัย ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย 1.2.2 การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษา เน้นความซื่อสัตย์ในการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย
1.3.1 ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม 1.3.2 ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ 1.3.3 ประเมินผลจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 1.3.4 สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
 
2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการทำงานวิจัย 2.1.2  มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านสถิติเพื่อธุรกิจ โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม 2.1.3 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านสถิติเพื่อธุรกิจและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์ 2.1.4 สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
2.2.1 ใช้วิธีการสอนแบบ สื่อสารสองทอง (Two-way communication) โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถามในการทำวิจัยตั้งแต่กระบวนการตั้งปัญหาด้านการวิจัย การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การออกแบบการวิจัย การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง วิธีการสุ่มตัวอย่าง การใช้สถิติเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนการเขียนรายงานการวิจัย 2.2.2 ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่ผู้วิจัยขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่และการประพฤติที่ผิด จรรยาบรรณของนักวิจัยโดยสอนการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และให้เคารพความคิดเห็นของ ผู้อื่นตลอดจนการรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ โดยเน้นการไม่คัดลอกวรรณกรรมของผู้อื่นมาเป็นของตนเองโดยเด็ดขาด 2.2.3 อาจารย์ปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างให้ความสำคัญต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ การมีวินัยเรื่องเวลาการเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา โดยแสดงออกมาในรูปธรรม คือ นักศึกษาเข้าเรียนสายได้ไม่เกิน 30 นาที หากมาสายจะถูกหักคะแนนจิตพิสัย
2.3.1 ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย รายงานการค้นคว้า และการนำเสนอผลงานวิจัย 2.3.2 การประเมินจากการสอบข้อเขียนและสอบปากเปล่า
3.1.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง 3.1.2 สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางสถิติเพื่อธุรกิจและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากากรตัดสินใจ 3.1.3 สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
3.2.1 วิเคราะห์ปัญหาและประเด็นการวิจัย มีการออกแบบการวิจัยด้วยกระบวนการคิดเชิงระบบตามกระบวนการในการวิจัย 3.2.2 การมอบหมายให้นักศึกษาทำวิจัยและนำเสนอผลการวิจัยหน้าชั้นเรียน 3.2.3 สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษา ศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มาขึ้น
3.3.1 ความถูกต้องของงานวิจัยและการสอบข้อเขียนโดยเน้นการคิดวิเคราะห์การเขียนโครงร่างวิจัย 3.3.2 ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญา 3.3.3 ประเมินจากรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
4.1.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 4.1.2 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี 4.1.3 มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน 4.1.4 มีความรับผิดชอบต่อการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพของตนเองอย่างต่อเนื่อง
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์ปัญหาการวิจัย 4.2.2 มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านสถิติเพื่อธุรกิจโดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
 
4.3.1 ประเมินจากการรายงานการวิจัยที่นำเสนอ 4.3.2 ประเมินจากการอภิปรายกลุ่ม พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม และรายงานการศึกษาด้วยตนเอง 4.3.3 ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน 4.3.4 สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
5.1.1 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาหรือข้อโต้แย้ง 5.1.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน 5.1.3 มีรูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับกลุ่มที่ผู้ฟังที่แตกต่างกันโดยมีเทคนิคการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร
5.2.1 บรรยายและให้แสดงความคิดเห็น การทำงานกลุ่ม มอบหมายงานโดยศึกษาค้นคว้าจากฐานข้อมูลออนไลน์ 5.2.2 มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ 5.2.3 ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนำเสนอในรูปแบบ รายงาน 5.2.4 มอบหมายให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และนำมาวิเคราะห์พร้อมกับนำเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสม พร้อมบอกแหล่งที่มาอ้างอิงข้อมูลต่าง ๆ
 
5.3.1 ประเมินจากผลงาน กิจกรรมที่มอบหมายรวมถึงการสืบค้นข้อมูล ทั้งรายกลุ่มและรายบุคคล 5.3.2 ประเมินจากผลงานรายงานการเขียนและการนำเสนอผลงานในรูปแบบที่เหมาะสม 5.3.3 ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็น รายบุคคลหรือรายกลุ่ม 5.3.4 ประเมินการสอบข้อเขียนและสอบปากเปล่าเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 BACAC151 การวิจัยทางธุรกิจและสถิติ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในลักษณะ ความสำคัญและวิธีการวิจัย ใช้ข้อสอบปลายภาคแบบปรนัยและอัตนัย ทุกสัปดาห์ 40%
2 นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยและรายงานการวิจัยได้ รายงานการเขียนโครงร่างวิจัยเบื้องต้น 10-17 10%
3 นักศึกษาตั้งใจและสนใจเรียนในรายวิชาวิธีวิจัยทางธุรกิจ (จิตพิสัย) ประเมินผลจากการเข้าเรียนและความตั้งใจเรียนของนักศึกษา ทุกสัปดาห์ 10%
4 การส่งงานที่ได้รับมอบหมายและศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การเข้าเรียน การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน การส่งแบบฝึกหัด การทำโจทย์ปัญหา และการถาม – ตอบ ทุกสัปดาห์ 10%
5 นักศึกษาสามารถทำความรู้ที่ได้จากการเรียนในรายวิชาการวิจัยทางธุรกิจ และนำเสนอหน้าชั้นเรียนและมีการอภิปรายผล ประเมินจากรายงานการวิจัยและวิธีการนำเสนอหน้าชั้นเรียนของนักศึกษา 15-17 30%
สรินยา  สุภัทรานนท์. (2563). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการวิจัยทางธุรกิจและสถิติ.พิมพ์ครั้งที่ 3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ. ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยSPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ. วิจิตรา จำลองราษฎร์. (2561). การวิจัยทางธุรกิจทางการเงินและการบัญชี. สำนักพิมพ์ท้อป. สุมินทร เบ้าธรรม. (2558). วิจัยทางการบัญชี. บริษัท ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น. สรชัย พิศาลบุตร. (2558). การวิจัยทางธุรกิจ. บริษัท วิทยพัฒน์ จำกัด.
Powerpoint Slide ประจำบทเรียน https://www.thailis.or.th, https://www.sciencedirect.com, https://www.scholar.google.co.th, http://www.scopus.com
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ