มาตรฐานการผลิตทางการประมง

Fishery Production Standard System

๑.๑ รู้และเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบ และการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกระบวนการผลิตสัตว์น้ำ
๑.๒ รู้และเข้าใจมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
๑.๓ รู้และเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการประมงที่ดีสำหรับฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
๑.๔ ตระหนักถึงความสำคัญของการกำหนดมาตรฐานกระบวนการผลิต ผลผลิต และผลิตภัณฑ์ประมง
มีการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
ศึกษาเกี่ยวกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสัตว์น้ำ การปฏิบัติทางการประมงที่ดีสำหรับฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่นำไปสู่การกำหนดมาตรฐานกระบวนการผลิต ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ประมงที่ดี
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ ๑ ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 มีคุณธรรมและ จริยธรรมสาธารณะ 1.2 มีจรรยาบรรณ
 
การสอนแบบบรรยายเชิงอภิปราย โดย
- จะสอดแทรกหรือยกตัวอย่างประกอบในขณะสอนเนื้อหา
- กำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติให้นักศึกษาต้องถือปฏิบัติในการเรียนรายวิชานี้ เช่น การตรงเวลา การมีวินัยในห้องเรียน รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
- นักศึกษาต้องไม่ทุจริตในการสอบหรือการลอกการบ้านหรืองานของผู้อื่น
- การนำข้อความจากแหล่งความรู้ต่างๆ
มาทำรายงานนั้น ต้องมีการอ้างอิงเพื่อ
ให้เกียรติแก่เจ้าของความคิด
- นักศึกษาต้องรู้จักแบ่งปันความรู้กับเพื่อนนักศึกษาด้วยกัน
- นักศึกษาเข้าเรียนตรงเวลา
-ความพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
- การทำงานในชั้นเรียนที่ไม่เลือกการปฏิบัติและการไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
- ไม่มีการทุจริตในการสอบ หรือไม่มีการลอกรายงานหรือลอกการบ้าน
2.1 มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ 2.2 มีความรอบรู้ในหลายสาขาวิชาและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
การสอนหลากหลายรูปแบบ เน้นหลักการทางทฤษฎีและประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมีการศึกษาดูงาน หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
- ทดสอบความเข้าใจโดยจะมีการสอบย่อย รวมทั้งวัดความรู้โดยการสอบกลางภาคเรียนและการสอบปลายภาคเรียน
- ประเมินจากการอภิปรายในชั้นเรียน และรายงานที่นำส่ง
-ประเมินจากรายวิชาฝึกงานหรือสหกิจศึกษา
3.1 สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ 3.2 สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์
˜ 3.3 ใฝ่รู้และรู้จักวิธ๊การเรียนรู้
-บทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษาทางการเกษตร เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจ ประเมินข้อมูลและหลักฐานใหม่ๆจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
-การอภิปรายกลุ่มเพื่อระดมความคิดวิเคราะห์ข้อมูล และประยุกต์ใช้ข้อมูลที่ได้มาหรือเลือกใช้ความรู้ที่เรียนมาแก้ไขโจทย์ปัญหาที่กำหนด
- ประเมินจากผลงานการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
-การสัมภาษณ์หรือการสอบปากเปล่า
-การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือข้อสอบ
4.1 2 มีภาวะความเป็นผู้นำ


š4.2 มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นหรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่นหรือผู้มีประสบการณ์ ดังนี้
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
-มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
-สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้
-มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
-มีภาวะผู้นำและผู้ตามในการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
-สามารถวางตนได้เหมาะสมกับกาลเทศะ ขนบธรรมเนียมและแนวทางปฏิบัติเฉพาะของแต่ละวัฒนธรรม
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
5.1 มีทักษะการสื่อสาร 5.2 มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองสถานการณ์เสมือนจริงหรือแก้ไขปัญหาจากกรณีศึกษาหรือในการปฏิบัติงานจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลายสถานการณ์
-ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอและ
การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขที่เกี่ยวข้องในการนำเสนอข้อมูล
-ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อจำกัดเหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ ประมวลผลและแปลความหมาย
-การนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
 
6.1 มีทักษะทางวิชาชีพ หมายถึง มีทักษะและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบโดยประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมา และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทางวิชาชีพ
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการปฏิบัติในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
-ประสิทธิภาพในทักษะการปฏิบัติอย่างความถูกต้อง
-ความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
-ความสำเร็จและคุณภาพของผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะ พิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา มีคุณธรรมและ จริยธรรมสาธารณะ มีจรรยาบรรณ มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ 2 มีความรอบรู้ในหลายสาขาวิชาและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และรู้จักวิธ๊การเรียนรู้ มีภาวะความเป็นผู้นำ มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ มีทักษะการสื่อสาร มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ มีทักษะทางวิชาชีพ หมายถึง มีทักษะและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบโดยประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมา และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทางวิชาชีพ
1 BSCAG309 มาตรฐานการผลิตทางการประมง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ๑.๑.๓ บันทึกการเข้าเรียนและการแต่งกายให้ถูกระเบียบวินัย ตลอดภาคการศึกษา ๑๐ %
2 ๒.๑.๑, ๓.๑.๑ การตอบปัญหาในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา ๕ %
3 ๒.๑.๑, ๒.๑.๓, ๓.๑.๑ สอบย่อย ตลอดภาคการศึกษา ๕ %
4 ๒.๑.๑, ๒.๑.๒, ๒.๑.๓,๓.๑.๑ สอบกลางภาค ๒๕ %
5 ๒.๑.๑, ๒.๑.๒, ๒.๑.๓,๓.๑.๑ สอบปลายภาค ๑๗ ๒๕ %
6 ๑.๑.๓,๒.๑.๑, ๒.๑.๒, ๒.๑.๓, ๓.๑.๑, ๕.๑.๑ การประเมินผลรายงานตามระยะเวลาที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา ๑๕ %
7 ๑.๑.๓, ๔.๑.๑, ๔.๑.๓ การสังเกตพฤติกรรมและประเมินการปฏิบัติงานทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา ๑๐ %
8 ๑.๑.๓, ๒.๑.๑, ๒.๑.๒, ๒.๑.๓, ๓.๑.๑, ๔.๑.๑, ๔.๑.๓, ๕.๑.๑ การสังเกตการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน ๔,๗, ๑๑,๑๕ ๕ %
เทวรัตน์มณีกุล, สุจินต์ หนูขวัญ และวีระวัชรกรโยธิน. 2545. การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด.

สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม, ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, กรมประมง,
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, กรุงเทพฯ. 185 น.
นฤมล อัศวเกศมณี. 2549. การเลี้ยงปลาน้ำจืด :โครงการตำราวิชาการราชภัฏเฉลิมพระเกียรติฯ. คณะเทคโนโลยีการเกษตร, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, สงขลา. 168 น.
เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน.2539.หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ. เอกสารประกอบการสอนวิชา พล.301 หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ. ภาควิชาเทคโนโลยีการประมง คณะผลิตกรรมการเกษตร, สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้. 210 น.
บทความเกี่ยวกับฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจากเว็บไซต์ต่างๆ และอื่นๆ ตามความเหมาะสมของเหตุการณ์และความเป็นปัจจุบัน
๑.๑ การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
๑.๒ การสังเกตจากพฤติกรรมของผู้เรียน
๑.๓ แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
๒.๑ การสังเกตพฤติกรรมการเรียนการสอน การตอบสนอง การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
๒.๒ ผลการเรียนของนักศึกษา
๒.๓ การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ ๒ จึงมีการปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาทุกภาคการศึกษา เฉพาะในรายวิชาที่มีปัญหาให้มีการทำวิจัยในชั้นเรียน
มีการประชุมอาจารย์ทั้งสาขาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยการตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
คณะมีระบบการทบทวนประสิทธิผลรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของสาขา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผล ของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าสาขาวิชาเพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรทุก ๕ปี