ปัญหาพิเศษทางการประมง

Special Problems in Fisheries

1.เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำการศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้วยกระบวนการวิจัย การทำงานที่มีหลักการและเหตุผล และพัฒนาบุคลิกภาพของความเป็นผู้นำทั้งด้านการตัดสินใจ การสังเกตและการคิดวิเคราะห์
2. เพื่อสามารถค้นหาข้อเท็จจริงสำหรับการแก้ไขปัญหาด้านการประมง และเรียบเรียงเป็นรายงานนำเสนอต่อคณะกรรมการในที่ประชุม        
เพื่อให้นักศึกษาสามารถค้นคว้า รวบรวมข้อมูลในหัวข้อที่น่าสนใจด้านการประมง มาเขียนเป็นโครงการและนำไปปฏิบัติงานทดลองเชิงวิจัยได้อย่างเหมาะสม 
ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการค้นคว้า วิจัยในหัวข้อที่กำลังเป็นที่น่าสนใจด้านการประมง และเรียบเรียงเป็นรายงานนำเสนอต่อคณะที่ประชุม ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ที่ปรึกษา
วันอังคาร  เวลา 08.00 - 11.00น. และ วันศุกร์ เวลา 13.00-16.00น. ณ ห้องพักครูสาขาวิชาประมง  โทร 064-936-1456
e-mail: apisara_moddy@hotmail.co.th, Line และ Facebook เวลา 18.00 - 20.00 น. ทุกวัน
1.2
- บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียน การทำงาน และการนำเอาความรู้ที่ได้จากวิชาปัญหาพิเศษไปใช้ในชีวิตจริง
- ประเมินพฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
- มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1
- บรรยายเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของการศึกษาในสาขาวิชาประมง
- มอบหมายงานให้มีการค้นคว้าบทความ ความรู้ใหม่ๆ หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่จะศึกษา
- ประเมินผลจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล ความสนใจและซักถามระหว่างการบรรยาย
- ประเมินพฤติกรรมการเข้าเรียนและส่งงานตามกำหนดเวลา
3.1, 3.2
- ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา โดยแบ่งกลุ่มนักศึกษาให้มีการระดมสมองในการแก้ไขปัญหา และวิจารณ์ร่วมกันระหว่างอาจารย์และนักศึกษา
- ประเมินจากการตอบปัญหาในชั้นเรียน
- การนำเสนอผลงานทั้งแบบรายบุคคลและกลุ่ม
4.1
- มอบหมายงานทั้งงานรายบุคคลและงานกลุ่ม
- อธิบายข้อปฏิบัติในการเข้าชั้นเรียน
- แบ่งกลุ่มนักศึกษาในภาคปฏิบัติ กำหนดหัวหน้ากลุ่มหมุนเวียนภายในกลุ่ม
- ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมายทำงานเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด และคุณภาพของงานเป็นไปตามที่กำหนด
- ตรวจสอบความสม่ำเสมอในการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษา การแต่งกายที่เหมาะสม และการทำความสะอาดหลังการปฏิบัติ
- สังเกตและให้นักศึกษาประเมินการทำงานของสมาชิกในกลุ่ม รวมทั้งนักศึกษาอื่น ๆ ในรายวิชาทั้งด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและด้านความรับผิดชอบ
5.2
- มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองทั้งจากอินเตอร์เน็ต, หนังสือในห้องสมุด และแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล่งข้อมูลที่เหมาะสม
- การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลจากการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นตัวอย่างกระตุ้นให้นักศึกษาเห็นประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอและสืบค้นข้อมูล
- ทำรายงานโดยเน้นแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
- นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  เช่น การใช้ Power point ที่เข้าใจ
- ทักษะการใช้ภาษาเขียนจากเอกสารรายงานและการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ทักษะการใช้สื่อและการใช้ภาษาพูดจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
- รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมและความต่อเนื่องของเนื้อหาที่นำเสนอเข้าใจง่าย   
- อธิบายวิธีการปฏิบัติ และลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ
- ประเมินความสำเร็จของงานตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะ พิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 2 1 2 3 1 2 1 2 1
1 BSCAG315 ปัญหาพิเศษทางการประมง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 การประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบ ตลอดภาคการศึกษา 10 %
2 1.1, 2.1, 3.1, 4.1 กระบวนการวิจัย 1-15 15%
3 1.1, 2.1., 3.1, 4.1, 5.1 การนำเสนอโครงร่างและปัญหาพิเศษ 7, 16 30%
4 1.1, 4.1., 5.1 รายงานปัญหาพิเศษ 17 45%
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2538. คู่มือวิทยานิพนธ์สายวิทยาศาสตร์. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล สหประชาพาณิย์, กรุงเทพฯ. 71 น.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง. 2550. คู่มือปัญหาพิเศษ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2550). 78 น.  
บทความ/รายงานวิจัย/รายงานผลการทดลองด้านการประมงจากเว็บไซต์ต่างๆ  ตามความเหมาะสมของเหตุการณ์และความเป็นปัจจุบัน
ให้นักศึกษาประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับและเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา ด้วยแบบประเมินผู้สอน และการอภิปรายระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
2.1  การสังเกตพฤติกรรม  การตอบสนอง  การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
2.2  ผลการเรียนของนักศึกษา
อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาทุกภาคการศึกษา เฉพาะในรายวิชาที่มีปัญหาให้มีการทำวิจัยในชั้นเรียน มีการประชุมอาจารย์ทั้งสาขาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยการตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
คณะมีระบบการทบทวนประสิทธิผลรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของสาขา  การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผล ของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าสาขาวิชาเพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรทุก 5 ปี