ไวยากรณ์เพื่อการสื่อสาร

English Grammar for Communication

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษในระดับที่ซับซ้อนขึ้น การสร้างประโยคอย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และการเลือกใช้คำศัพท์อย่างเหมาะสมเพื่อการสื่อสารอย่างมีความหมาย
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษในระดับที่ซับซ้อนขึ้น และเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ได้เพิ่ม กิจกรรมให้มีการฝึกปฏิบัติในการคิดวิเคราะห์เพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับรายวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษในระดับที่ซับซ้อนขึ้น การสร้างประโยคอย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และการเลือกใช้คำศัพท์อย่างเหมาะสมเพื่อการสื่อสารอย่างมีความหมาย
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
(เฉพาะรายที่ต้องการ)
ส่งเสริมให้นักศึกษาพัฒนาความมีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณลักษณะอันเป็นที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการ
1.2.1 ให้ความรู้โดยสอดแทรกในเนื้อหาของบทเรียนต่าง ๆ 1.2.2 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนร่วมชั้นเรียนหรือผู้สนใจทั่วไป
 
1.3.1 การเข้าเรียนตรงเวลา มีวินัยขยันอดทน เพียรพยายาม รับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม
1.3.2 การส่งงานตามเวลาที่กำหนด
1.3.3 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน และนอกชั้นเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความเข้าใจทั้งในด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาของรายวิชาโดยสามารถประยุกต์ใช้หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษในระดับที่ซับซ้อนขึ้น การสร้างประโยคอย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และการเลือกใช้คำศัพท์อย่างเหมาะสมเพื่อการสื่อสารอย่างมีความหมาย
2.2.1 สอนโดยการบรรยายให้ความรู้ ผนวกกับการฝึกปฏิบัติจริง โดยเน้นการสอนแบบเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลางการเรียน (Student-Centered)
2.2.2 สอนโดยการใช้กิจกรรมเป็นฐาน (activity-based) เช่น สร้างสถานการณ์ให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง เป็นต้น
2.2.3 ให้นักศึกษาฝึกการใช้ภาษาและวิเคราะห์โดยการอ่านและเขียนจากสื่อต่างๆ ตลอดจนการทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน
2.2.4 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนร่วมชั้นเรียนหรือผู้สนใจทั่วไป
2.3.1 การทดสอบย่อย / สอบกลางภาค / สอบปลายภาค
2.3.2 ผลการฝึกปฏิบัติ / การทำกิจกรรมของนักศึกษา
2.3.3 ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ
3.1.1 ทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้การใช้หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษในระดับที่ซับซ้อนขึ้น มาใช้ในวิชาการและวิชาชีพ
3.1.2 ทักษะในการนำความรู้ทางด้านหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษในระดับที่ซับซ้อนขึ้น เช่น การอ่าน การเขียน การแปล เป็นต้น
3.2.1 บรรยายให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ภาษา
3.2.2 นักศึกษาซักถามและอภิปรายแสดงความคิดเห็น
3.2.3 นักศึกษาฝึกปฏิบัติ ทำแบบฝึกหัดตามเนื้อหาการบรรยาย
3.2.4 นักศึกษาทำงานที่ได้รับมอบหมาย เช่น ฝึกปฏิบัติผ่านทางบทบาทสมมุติในสถานการณ์และศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
3.3.1 การทดสอบภาคทฤษฎี และปฏิบัติ
3.3.2 การทำแบบฝึกหัด งานที่ได้รับมอบหมาย และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
3.3.3 การใช้ภาษาของนักศึกษาในบทบาทสมมุติหรือสถานการณ์จำลอง
ส่งเสริมให้นักศึกษาพัฒนาทักษะการมีมนุษย์สัมพันธ์ มีมารยาทสังคมที่ดี และมีความรับผิดชอบจากการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย และสำเร็จตามกำหนดเวลา
4.2.1  สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆ ในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง 4.2.2  จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม 4.2.3  จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ 4.2.4  มอบหมายให้นักศึกษาได้เข้าร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคมร่วมกับอาจารย์และผู้เกี่ยวข้อง
4.3.1 ให้นักศึกษาประเมินกันเองในกิจกรรมกลุ่ม
4.3.2 สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนรวมของนักศึกษาในห้องเรียน
4.3.3 ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
4.3.4 ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมและผลการประเมินการให้บริการวิชาการของนักศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BOAEC105 ไวยากรณ์เพื่อการสื่อสาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หน่วยที่ 1-4 สอบกลางภาค 9 30%
2 หน่วยที่ 5-8 สอบปลายภาค 17 30%
3 หน่วยที่ 1-8 ทดสอบย่อย กิจกรรมและงานมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
4 จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
Bland, S.K., Pavlik, C., Savage, A., & Mayer, P.(2010). Grammar Sense 2. Oxford: Oxford University Press.
Handouts
1. McCarthy, M., McCarten, J., & Sandiford, H. (2006). Touchstone.           Cambridge: Cambridge University Press.
2. Maggs, P., Kay, S., Jones, V., & Kerr, P. (2005). Inside English.         Thailand: Macmillan.
3. เว็บไซต์ต่างๆทีเกี่ยวข้องกับเนื้อหาตลอดจนแบบฝึกหัดออนไลน์
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากกิจกรรมดังต่อไปนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
2.1 การสังเกตการณ์การสอนของหัวหน้าสาขาวิชา/หัวหน้าสาขา/ผู้ที่คณะมอบหมาย
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
นำผลประเมินการสอนตามข้อ 2 มาปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยหัวหน้าสาขาวิชา หรือหัวหน้าสาขา หรือผู้ที่คณะมอบหมาย 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ คะแนนภาคปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้จากรายวิชานี้ เข้ากับปัญหาที่มาจากงานวิจัยหรือประสบการณ์ของอาจารย์