คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบเครื่องประดับ

Computer for Jewelry Design

1.1  ทักษะในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบเครื่องประดับ
1.2  มีทักษะในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างภาพ 2 มิติ และ 3 มิติ เพื่อออกแบบรูปทรงและลวดลายของเครื่องประดับ
1.3  มีทักษะในการนำเสนอผลงานการออกแบบแบบเครื่องประดับด้วยโปรแรมคอมพิวเตอร์
     เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการใช้โปรแกรม Matrix ซึ่งเป็นโปรแกรมสำเร็จรูป 3D สำหรับออกแบบในอุตสาหกรรมเครื่องประดับโดยเฉพาะ เพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพทางด้านการออกแบบเครื่องประดับและอัญมณี เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับเทคโนโลยีและแนวโน้มด้านต่าง ๆ ที่มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย  ในการใช้งานต้องเริ่มจากการสร้างเส้น (Curve) จากนั้นทำให้เป็นพื้นผิว (Surface) โดยที่พื้นผิวเหล่านั้นจะสามารถนำมารวมกันเป็นพื้นผิวปิด (Solid) นำไปใช้ในการผลิตชิ้นงานได้ทันที โปรแกรมนี้สามารถสร้างแบบชิ้นส่วนเครื่องประดับให้สวยงามและซับซ้อนได้ ในโปรแกรมมีรูปแบบเพชร พลอย และการฝังพลอยแบบต่าง ๆ สะดวกกับผู้ใช้งานได้เลือกใช้ และนอกจากนี้ยังมีโปรแกรมเรนเดอร์ (Render) เพื่อให้เห็นภาพจริงด้วยโปรแกรม V-ray บรรจุอยู่ในโปรแกรมนี้อยู่แล้ว
      ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบเครื่องประดับ การสร้างภาพ 2 มิติ และ 3 มิติ เพื่อออกแบบรูปทรงและลวดลายของเครื่องประดับ รวมถึงการนำเสนอผลงานการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์
          Practice using a computer aided for jewelry design, jewelry 2D and 3D rendering and software for jewelry design presentation.
-  อาจารย์ผู้สอนประกาศช่วงเวลาให้คำปรึกษาภายในชั้นเรียน
-  อาจารย์ผู้สอนจัดเวลาให้คำปรึกษาอย่างน้อย 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
 
      1.1.1  ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
การบรรยายสอดแทรกในรายวิชาเกี่ยวกับจรรยาบรรณทางด้านวิชาชีพเครื่่องประดับและอัญมณี ความีระเบียบวินัย ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
ประเมินผลจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษา
     2.1.1    มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ
การปฏิบัติงานออกแบบเครื่องประดับโดยใช้โปรแกรม Matrix  การแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการสร้างชิ้นงาน 3 มิติ จากงาน 2 มิติ
ประเมินผลจากผลงานปฏิบัติ
     3.1.1    สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้
การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูล  ปฏิบัติงานสร้างชิ้นงานเครื่องประดับ 3 มิติ จากแบบงานที่นักศึกษาสืบค้นมาเอง และการนำเสนอผลงาน
ประเมินผลจากการปฏิบัติงานของนักศึกษาและการนำเสนอผลงาน
    4.1.1    มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมนุษย
สัมพันธ์ที่ดี
   การบรรยายสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของตนเอง การแสดงความคิดเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น
ประเมินผลจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
     5.1.1    มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลขหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับ งานศิลปกรรม
   เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ใช้เครื่องมือในการสร้างชิ้นงานแบบ 3 มิติ  การแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
ประเมินจากความถูกต้องในการเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการสร้างชิ้นงาน 
           6.1.1  มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
  ให้นักศึกษาสร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
ประเมินผลจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ด้านทักษะทางปัญญา 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 3
1 BAATJ145 คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบเครื่องประดับ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.1 การสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษา 1-17 ร้อยละ 10
2 2.1.1 ประเมินผลจากผลงานปฏิบัติ 1-17 ร้อยละ 70
3 3.1.1 ,4.1.1, 5.1.1, 6.1.1 การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูล ปฏิบัติงานสร้างชิ้นงานเครื่องประดับ 3 มิติ จากแบบงานที่นักศึกษาสืบค้นมาเอง และการนำเสนอผลงาน 15-16 ร้อยละ 20
เอกสารประกอบการใช้งานโปรแกรม Matrix Version 8.0
ไม่มี
www.git.or.th
www.gia.com
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็น จากนักศึกษาได้ดังนี้

 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชาตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัย
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา
2.2   การอภิปรายของผู้เรียนต่อเนื้อหาที่เรียน
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการหาข้อมูลเพิ่มเติมในการ ปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   ทบทวนเนื้อหาและวิธีการสอนให้สอดคล้องกับเกณฑ์ที่กำหนด
3.2   หาแนวทางและวิธีการสอนที่เหมาะสมกับสภาวะปัจจุบัน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจาก การเรียนรู้ในวิชา โดยมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์รวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบผลการให้คะแนนนักศึกษาตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย
4.2  การประเมินผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ 5 ด้าน
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุง การสอน และรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
5.1  ปรับปรุงรายวิชาทุกปีตามผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2  การประชุมกรรมการประจำหลักสูตรเพื่อพิจารณาปรับปรุงประสิทธิผลรายวิชา