คอมพิวเตอร์ช่วยในงานออกแบบภาพ 3 มิติ

Computer Aided Design 3D

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะเกี่ยวกับหลักการทั่วไป ในการออกแบบและเขียนแบบภาพจำลอง 3 มิติด้วยคอมพิวเตอร์ คำสั่งพื้นฐานในการเขียนแบบภาพจำลอง 3 มิติการเขียนภาพจำลอง 3 มิติแบบต่างๆ การเขียนภาพจำลองชุดแม่พิมพ์หรือชิ้นส่วนเครื่องจักรกลการแสดงผลและการจัดเก็บข้อมูล
2.1 เพื่อให้นักศึกษารู้และเข้าใจหลักการออกแบบและเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์
2.2 เพื่อให้นักศึกษารู้และเข้าใจคำสั่งพื้นฐานในการเขียนแบบและการเขียนภาพ 3 มิติ
2.3 เพื่อให้นักศึกษารู้และเข้าใจการเขียนภาพจำลอง 3 มิติแบบต่างๆ
2.4 เพื่อให้นักศึกษารู้และเข้าใจการการเขียนภาพจำลองชุดแม่พิมพ์หรือชิ้นส่วนเครื่องจักรกล 2.5 เพื่อให้นักศึกษารู้และสามารถจัดเก็บข้อมูลและแสดงผลทางเครื่องพิมพ์ได้
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักการทั่วไป ในการออกแบบและเขียนแบบภาพจำลอง 3 มิติด้วยคอมพิวเตอร์ คำสั่งพื้นฐานในการเขียนแบบภาพจำลอง 3 มิติการเขียนภาพจำลอง 3 มิติแบบต่างๆ การเขียนภาพจำลองชุดแม่พิมพ์หรือชิ้นส่วนเครื่องจักรกลการแสดงผลและการจัดเก็บข้อมูล
Study and practice in computer aided design and drafting for 3D modeling, basic commands, Modeling Types tools and dies modeling or Machine parts Modeling simulation and data store.
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านไลน์ และเฟสบุ้คกลุ่ม
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
● มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
○ มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
- บรรยายและยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรม การมีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
- กำหนดให้นักศึกษาทำงานตามที่มอบหมาย แล้วส่งตามเวลาที่กำหนดพร้อมทั้งมีการนำเสนอผลการปฏิบัติงาน
- ให้ศึกษาค้นคว้าและทำรายงานในหัวข้อที่กำหนดให้
- พฤติกรรมการเข้าเรียน การร่วมกิจกรรมและส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
- มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
- ประเมินผลการออกแบบและเขียนแบบชิ้นงานที่มอบหมาย
● มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
● มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
○ สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- บรรยายเนื้อหารายวิชา
- ยกตัวอย่างชิ้นงานที่จะออกแบบและเขียนแบบ
- กำหนดให้นักศึกษาทำงานตามที่มอบหมาย
- ศึกษาค้นคว้าและทำรายงานเพิ่มเติม
- สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบ
- ตรวจรายงาน และงานที่มอบหมาย
- ประเมินผลการออกแบบและเขียนแบบชิ้นงานที่มอบหมาย
- ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
● มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
● สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- บรรยายเนื้อหารายวิชา
- การทำงานตามแบบฝึกหัดที่มอบหมาย
- การนำเสนอและอภิปรายในรายงานที่ทำ
- สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบ
- ตรวจรายงาน และงานที่มอบหมาย
- ประเมินผลการเขียนแบบที่มอบหมาย
- ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
● รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
● มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
- จัดกิจกรรมกลุ่ม มอบหมายงานรายกลุ่ม และรายงานเดี่ยว การนำเสนอและอภิปราย เช่น การสร้างกระบวนการต่างๆ ของการนำเสนอรายงาน การเขียนแบบ และการวิเคราะห์แบบ
- รายงานที่นำเสนอ และสังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
● มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
● มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติ ประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
○ สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
● มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
● สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
- จัดกิจกรรมกลุ่ม มอบหมายงานรายกลุ่ม รายงานเดี่ยว การนำเสนอและอภิปราย เช่น การสร้างกระบวนการต่างๆ ของการควบคุมและบำรุงรักษาชิ้นงาน
- สาธิตการใช้โปรแกรมช่วยงานออกแบบและเขียนแบบ ทำงานออแบบและเขียนแบบจริง
- ให้ทำการออกแบบและเขียนแบบจากชิ้นงานจริง
- รายงานที่นำเสนอ และพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
- สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบ
- ตรวจประเมินจากแบบงานที่ออกแบบและเขียนแบบ
● มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
● มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
- มอบหมายงานให้นักศึกษาปฏิบัติทั้งการศึกษาค้นคว้า การทำรายงานเดี่ยว กลุ่ม การเขียนแบบแม่พิมพ์ การวิเคราะห์แบบและการนำเสนอ
- รายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงาน แบบแม่พิมพ์ที่เขียน
- ใบงานและแบบฝึกหัด              
- สอบกลางภาค และปลายภาค
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 2 1
1 ENGTD105 คอมพิวเตอร์ช่วยในงานออกแบบภาพ 3 มิติ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4-2.6, 3.2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 8 12 16 10% 25% 10% 25%
2 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4-2.6, 3.2, 4.1-4.6, 5.3-5.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1-1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสารประกอบการสอน การออกแบบและเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์ 3 มิติ AutoCAD User Manual. NX10 User Manual.
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้

การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน ผลการเรียนของนักศึกษา การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้

สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้

การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้

ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ