หลักการเขียนแบบ

Principle of Drafting

        
1.1 รู้และเข้าใจความหมายและประเภทงานเขียนแบบต่างๆ
    1.2 รู้และเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือ วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบ
    1.3 มีทักษะในการใช้เครื่องมือ วัสดุ และอุปกรณ์ในการเขียนแบบได้อย่างถูกต้อง
    1.4 มีทักษะในการเขียนแบบ โดยกำหนดขนาด มาตราส่วน และสัญลักษณ์ในการเขียนแบบได้อย่างถูกต้อง
    1.5 มีทักษะในการเขียนแบบภาพฉาย ภาพตัดและภาพสามมิติ ได้อย่างถูกต้อง
    1.6 เห็นคุณค่าของงานเขียนแบบที่สามารถประยุกต์ใช้กับรายวิชาอื่น และมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
เพื่อให้เนื้อหาของรายวิชามีความเหมาะสมกับสภาวะปัจจุบัน และเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ยังเป็นพื้นฐานและเตรียมความพร้อมในการศึกษารายวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
 
      ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบ การกำหนดขนาดและมาตราส่วน  การใช้เส้นและสัญลักษณ์ต่างๆ ในการเขียนแบบ ภาพฉาย ภาพตัด ภาพสามมิติ 
Study and practice of the drafting equipment, lines and symbols in drafting. Orthographic projection. Perspective, Sections view, Pictorial Drawing.
 -    อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาภายในชั้นเรียน
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการอย่างน้อย 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ -
      (เฉพาะรายที่ต้องการ)
คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น
1.1.3    มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ
1.2.1 บรรยายและสอดแทรกเรื่องความซื่อสัตย์ สุจริตทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพทางด้านงานเขียนแบบ
1.2.2  ขานชื่อนักศึกษาเมื่อเข้าชั้นเรียน ตามกำหนดเวลาของเกณฑ์ที่กำหนดไว้
1.2.3  บรรยายสอดแทรกเนื้อหาเรื่องการช่วยเหลือ การแบ่งปัน
1.3.1  การสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาขณะอยู่ในชั้นเรียนและปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
          1.3.2  การตรวจสอบเวลาเรียน และการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน
          1.3.3  การสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียนที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือการแบ่งปัน
         
2.1.2 มีความสามารถในการค้นคว้า แก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านงานทางด้านเขียนแบบอย่างเป็นระบบ
      2.1.4 มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านงานเขียนแบบ
     
2.2.1 บรรยายเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง และยกตัวอย่างประเด็นปัญหาหรือโจทย์ทางด้านที่เกี่ยวข้องกับงานเขียนแบบ
2.2.2 บรรยาย  ยกตัวอย่าง มาตรฐานในการเขียนแบบในวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.3.1   การซักถามและการอภิปรายของนักศึกษาในเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับประเด็นปัญหาหรือโจทย์ที่ต้องใช้การแก้ปัญหาในงานเขียนแบบ
2.3.2   สอบกลางภาค สอบปลายภาค  รายงายย่อย
3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
3.1.2 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.3 สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้
3.2.1 บรรยายเกี่ยวกับเนื้อหาเกี่ยวกับหลักการเขียนแบบที่ต้องใช้การวิเคราะห์ และสังเคราะห์
3.2.2 บรรยาย ควบคู่กับการปฏิบัติ พร้อม ยกตัวอย่างประกอบในเรื่องเกี่ยวกับการนำหลักการเขียนแบบไปบูรณาการกับงานออกแบบลักษณะอื่นๆ
3.3.1  ผลงานปฏิบัติ ของนักศึกษาที่ต้องใช้การวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา
3.3.2 การอภิปราย ซักถาม เนื้อหา ควบคู่กับการปฏิบัติ
 
    4.1  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
          มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   
การบรรยายเนื้อหาและสอดแทรกเรื่องความรับผิดชอบและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
4.3.1  ประเมินจากความรู้ที่ร่วมกันอภิปราย  พฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม
4.3.2  ประเมินจากรายงานกลุ่ม หรือกิจกรรมกลุ่ม ที่มอบหมาย  
5.1.1  สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางการเขียนแบบ และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     5.1.3 มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานเขียนแบบ
5.2.1 ให้นักศึกษาฝึกการอ่านเนื้อหาที่เป็นภาษาไทยและอังกฤษ และนำเสนองาน
5.2.2  ให้นักศึกษาฝึกคำนวณตัวเลขหรือค่าสถิติพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับงานเขียนแบบ และการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการสืบค้นข้อมูล
5.3.1 พฤติกรรมในการสื่อสาร ฟัง อ่าน พูด และการนำเสนองานด้วยภาษาไทย และอังกฤษ
 5.3.2  งานศึกษาค้นคว้าที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่น โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์
มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
บรรยายเนื้อหา และให้นักศึกษาปฏิบัติงานตามหลักการที่บรรยาย
ประเมินจากงานปฏิบัติเขียนแบบของนักศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BAACC401 หลักการเขียนแบบ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 17 15% 15%
2 3.1 4.1 5.1 และ 6.1 - การปฏิบัติงานเขียนแบบ - การมีส่วนร่วมในกิจกรรมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมชั้น - ความสามารถในการวิเคราะห์งาน ผลงานการศึกษาค้นคว้า พฤติกรรมการเลือกใช้เทคโนโลยีเพื่อการสืบค้น รวมถึงการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียน - ผลงานปฏิบัติของผู้เรียน ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 60
3 1.1 -การเข้าชั้นเรียน / ความตั้งใจ - ความรับผิดชอบ - การแต่งกาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. กฤษฎา  อินทรสถิตย์. การเขียนแบบสถาปัตยกรรมภายใน. กรุงเทพฯ : เอ็ม เอ เอช พริ้นติ้ง, 2546.
2. ดอกธูป  พุทธมงคล, ชนิด  สุมังคะโยธิน, สมชาย  เกตพันธุ์ และวรินทร์  รอดโพธิ์ทอง. เขียนแบบเทคนิค 1,2. ม.ป.ท. :
               วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี, 2529.
3. ธวัช  ชัยวิศิษฐ์. เขียนแบบเครื่องกล. พิมพ์ครั้งที่ 2. ม.ป.ท. , 2539.
4. ประเวช  มณีกุต. เขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จิตรวัฒน์, 2541.
5. อำนวย  อุดมศรี. เขียนแบบทั่วไป. กรุงเทพฯ : สยามสปอร์ต ซินดิเคท, 2537.
2.1 ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เป็นลักษณะ 3 มิติ
 2.2 หลักการเขียนแบบเบื้องต้น
3.1 เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับการเขียนแบบ
3.2 เอกสารตัวอย่างรูปแบบงานเขียนแบบชนิดต่างๆ ทั้งในงานออกแบบ งานสถาปัตยกรรม และงานวิศวกรรม
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาดังนี้คือ
      1.1 การสนทนาระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
      1.2 แบบประเมินผลผู้สอน และแบบประเมินรายวิชาตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัย
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์พฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา
2.2   การอภิปรายของผู้เรียนต่อเนื้อหาที่เรียน
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
2.4   การตรวจผลงานของนักศึกษา ที่เป็นผลการปฏิบัติงานเขียนแบบ
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1ทบทวนเนื้อหา และวิธีการสอนให้สอดคล้องกับเกณฑ์กำหนด
3.2 หาแนวทาง และวิธีการสอนที่เหมาะสมกับสภาวะปัจจุบัน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ซึ่งมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนนักศึกษาตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย
4.2  การประเมินผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ 6 ด้าน
4.3 การประเมินผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของนักศึกษาและผลงานตามที่มอบหมาย
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี ตามผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   การประชุมกรรมการประจำหลักสูตรเพื่อพิจารณาปรับปรุงประสิทธิผลรายวิชา