พฤติกรรมองค์การ

Organization Behavior

1.เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมระดับส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการทำงาน
2.เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมระดับกลุ่มที่มีผลต่อพฤติกรรมการทำงาน
3.เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมระดับองค์การที่มีผลต่อพฤติกรรมการทำงาน
4.เข้าใจสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในองค์การ
เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรบริหารธุรกิจสาขาวิชาการจัดการธุรกิจเพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในพฤติกรรมองค์การเนื่องจากทฤษฎีหรือแนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมองค์การนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องและเพื่อที่จะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นดังนั้นจะต้องมีการปรับใหhสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในการทำงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต
แนวคิดและทฤษฎีทางด้านการจัดการในปัจจุบัน บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารในด้านการจัดการ กระบวนการจัดการ การออกแบบและพัฒนาองค์การ หลักพื้นฐาน และการวิเคราะห์พฤติกรรมบุคคล และพฤติกรรมองค์กร ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและกลุ่มผู้นำ และภาวะความเป็นผู้นำ อำนาจหน้าที่ การจูงใจขวัญและกำลังใจ การสื่อสารในองค์การ ความขัดแย้งและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในองค์การ ประเด็นการศึกษาวิเคราะห์  การจัดการ และพฤติกรรมองค์กรภายใต้การบริหารจัดการในยุคโลกาภิวัตน์
 
 
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น
2. มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม
3. มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
มีการสอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา รวมทั้งปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงเวลา ส่งงานภายในเวลาที่กำหนด ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย มีการมอบหมายงานกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น และมีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม
 
1. ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
2. ประเมินจากการเข้าเรียนตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
3. สังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
 
 
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
2. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์การใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
3. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
4. มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจรวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ และเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยมอบหมายให้ทำรายงานโครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมถึงการจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง นอกจากนั้นยังใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง และการบรรยายในชั้นเรียน ถาม-ตอบ
1. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2. ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ
3. ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
4. ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
5. ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย            การนำเสนอรายงาน การค้นคว้าหน้าชั้นเรียน
1.  สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสาระสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
2.  สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือก และผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจทางเลือกเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
3. คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผลสามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
 
1. กรณีศึกษาทางการจัดการ โครงงาน งานวิจัย และกำหนดให้นักศึกษาวางแผนการทำงานเป็นทีม
2.การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน
3.การมอบหมายงานการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
 
ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา และประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มารวมถึงประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
1.มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
2.มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่างและแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1.ใช้การสอนโดยสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆ ในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง
2.จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
3.จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
4. มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน
 
1.การประเมินจากพฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
2.ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
3.สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง
 
1.สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์สถิติการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน
2.สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้องทั้งในรูปแบบการเขียนรายงาน และการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างสัน
3.สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
2. มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
3.ส่งเสริมการค้นคว้าเรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
 
 
1.ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคลและเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
2.ประเมินจากการสรุปและอภิปรายงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 3 4 5 6 1 2
1 BBABA208 พฤติกรรมองค์การ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2 ,1.3 3.1, 3.2 , 3.3 4.1, 4.2 5.1,5.2 ,5.3, - วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า - การทดสอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค - การอภิปรายกลุ่ม วิเคราะห์กรณีศึกษา และหาแนวทางแก้ไขปัญหา -การทำงานกลุ่มตามมอบหมาย - การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
2 2.1, 2.2, 2.3, 2.4 - สอบกลางภาค 9 30%
3 2.1, 2.2, 2.3, 2.4 - สอบปลายภาค 17 40%
4 1.1, 1.2 ,1.3 -การเข้าชั้นเรียน -การเข้าร่วมกิจกรรมทางมหาวิทยาลัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
1.นิติพล  ภูตะโชติ. 2556.พฤติกรรมองค์การ.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
2.ณัฏฐพันธ์เขจรนันทน์.2551.พฤติกรรมองค์การ.กรุงเทพฯ.บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่นจากัด (มหาชน).
3.สุพานี สฤษฎ์วานิช.2552.พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่ : แนวคิดและทฤษฎี.กรุงเทพฯ: บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่นจำกัด (มหาชน).
-
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชาที่กำหนด และห้องสมุดมหาวิทยาลัย
- สนทนากลุ่มระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอนเพื่อระดมความคิดและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเนื้อหาปัญหาและการสรุปประเด็นความคิด
- ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการออกแบบการนำเสนอการทำงานกลุ่ม
- ให้นักศึกษาร่วมกันประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียนและประเมินอาจารย์ผู้สอน
- สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาในการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
- ประเมินจากการร่วมทำกิจกรรมกลุ่มและการนำเสนอผลงานการวิเคราะห์ของนักศึกษาการสอบ ทดย่อยการสอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
- สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
- ปรับปรุงเนื้อหาและตัวอย่างให้ทันสมัยอยู่เสมอ
- ให้นักศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชามานำเสนอการทำวิจัยใน/นอกชั้นเรียน
- มีการตรวจแบบฝึกหัดตรวจทดสอบย่อยตรวจข้อสอบและร่วมกันอภิปรายข้อสรุปของการวิเคราะห์
- มีการวัดความรู้นักศึกษาและแจ้งผลให้ทราบเป็นระยะ
 - ให้นักศึกษาสามารถตรวจสอบการให้คะแนนการสอบเก็บคะแนนได้
  - การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจโดยอาจารย์ท่านอื่นๆที่ไม่ใช่อาจารย์ผู้สอน
- ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะ
- นำข้อคิดเห็นของนักศึกษามาประมวลเพื่อปรับปรุงเนื้อหาและการจัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป
- นำผลการประเมินการสอนของตนเองมาจัดเทียบเคียงกับข้อคิดเห็นของนักศึกษา เพื่อพัฒนาเนื้อหาสาระให้ทันสมัย ปรับวิธีการเรียนการสอน และวิธีการประเมินผลให้ตรงกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง