การพัฒนาหลักสูตร

Curriculum Development

เพื่อให้นักศึกษา          
          1. รู้ความสำคัญและองค์ประกอบของหลักสูตร   
          2. เข้าใจการประเมินและพัฒนาหลักสูตร          
          3. เห็นความสำคัญของการจัดทำและการนำหลักสูตรไปใช้
          4. มีสมรรถนะในการวิเคราะห์และจัดทำหลักสูตร          
          5. มีสมรรถนะในการประเมินหลักสูตรและนำผลการประเมินไปพัฒนาหลักสูตร
          6. มีทัศนคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพครู
          วิชานี้เป็นวิชาในหลักสูตรที่ทำการปรับปรุงใหม่ทั้งเล่มของปีการศึกษา 2560 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ขั้นพื้นฐาน เข้าใจในเรื่องหลักสูตรและการพัฒนา ตลอดจนบริบทที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนด้านวิชาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์และช่างอุตสาหกรรม
          ศึกษาเกี่ยวกับหลักการ แนวคิดทฤษฎีหลักสูตร บริบทที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรด้านอาชีวะและเทคนิคศึกษา กระบวนการพัฒนาหลักสูตร  การออกแบบและจัดทำหลักสูตรรายวิชาชีพในสาขาวิชาเอกตามกลุ่มหลักสูตรที่นักศึกษาสังกัด การนำหลักสูตรไปใช้ การประเมินหลักสูตร การนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตร สภาพและปัญหาของหลักสูตรด้านอาชีวะและเทคนิคศึกษา แนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาในชั่วโมงแรกของการเรียนการสอน
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการเป็นรายบุคคลตาม ความเหมาะสม
          นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ อย่างราบรื่นและประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ผู้สอนในแต่ละรายวิชาต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ดังนี้
          1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.1)
          1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ (· ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2)
          1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม (·ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3)
          1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.4)
          1.2.1 กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อมและเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น การเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา การแต่งกายตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย
          1.2.2 กำหนดให้นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่ม โดยฝึกให้รู้บทบาทและหน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่ม การเป็นสมาชิกกลุ่ม การเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้งการเห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 
          1.2.3 สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนแต่ละรายวิชา ในด้านความซื่อสัตย์สุจริตในการสอบ รวมทั้งการมีมารยาททางวิชาการ การไม่คัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
          1.2.4 จัดกิจกรรมส่งเสริมและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู และการมีจิตสำนึกสาธารณะ เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำความดี การทำประโยชน์และเสียสละแก่ส่วนรวม
          1.3.1 ประเมินด้านจิตพิสัยของนักศึกษา เช่น การตรงต่อเวลา การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลาที่กำหนด และการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
          1.3.2 ประเมินความรับผิดชอบในการทำงานเป็นกลุ่ม การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนและการรับฟังความคิดเห็นจากอาจารย์ผู้สอนและกลุ่มนักศึกษาในชั้นเรียน
          1.3.3 ประเมินจากรายงานการกระทำทุจริตในการสอบ การมีมารยาททางวิชาการ และการตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
          1.3.4 ประเมินผลจากรายงานการจัดกิจกรรมทางด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครูและการมีจิตสำนึกสาธารณะ
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาวิศวศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต โดยมีประเด็นที่สำคัญดังนี้          
          2.1.1 หลักการ ความสำคัญ และองค์ประกอบและทฤษฎีของหลักสูตร(· ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1)
          2.1.2 แนวทางการวิเคราะห์หลักสูตร (· ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1)
          2.1.3 การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร (· ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1)
          2.1.4 การประเมินผลหลักสูตร (· ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1)
          2.1.5 แนวโน้ม และปัญหาด้านหลักสูตร(· ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1)
          2.1.6 บูรณาการการจัดทำหลักสูตรกับหลักและวิธีการสอน (Bloom’s Taxonomy) (· ผลการเรียนรู้ข้อ 2.3)
          2.1.7 ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.2)
          2.2.1 บรรยาย (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1-2.3, 3.1-3.2, 5.1-5.3, 6.1-6.2)
          2.2.2 อภิปรายเรื่องการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา และ/หรือ หัวข้อปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตรอาชีวะและเทคนิคศึกษาสู่อาเซียน (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2,1.4, 2.1-2.3, 3.1-3.2, 4.1-4.3, 5.1-5.3, 6.1-6.2)
          2.2.3 การทำงานกลุ่มและนำเสนอโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
          2.2.4 ค้นคว้ารายงานการวิจัยด้านหลักสูตรและสำเนาบทคัดย่อ เน้นด้านอาชีวศึกษา (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2-1.4, 2.1-2.3, 3.1-3.2, 5.1-5.3, 6.1)
          2.2.5 จัดทำหลักสูตรรายวิชาและตัวอย่างเอกสารการสอนในรายวิชาระดับ ปวช. จำนวน 1 รายวิชา (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2-1.4, 2.1-2.3, 3.1-3.2, 4.1-4.3, 5.1-5.3, 6.1-6.2)
          2.2.6 อภิปรายส่วนของเอกสารหลักสูตรของเพื่อนร่วมชั้นเรียนในรายวิชาที่ไม่ได้ทำ (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2,1.4, 2.1-2.3, 3.1-3.2, 5.3, 6.2)
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ ด้วยวิธีดังนี้
          2.3.1 ประเมินผลตลอดภาคเรียน
          2.3.2 ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย
          2.3.3 ประเมินจากการที่นำเสนอหน้าชั้นเรียน
          3.1.1 มีทักษะการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจและแก้ปัญหาในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ  ( · ผลการเรียนรู้ข้อ 3.1)
               ก. การเขียนหลักสูตรรายวิชาในรายวิชาระดับ ปวช.
               ข. การค้นคว้ารายงานการวิจัยด้านหลักสูตร         
          3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ ในประเด็น วิเคราะห์งานอาชีพสู่การจัดทำหลักสูตรพัฒนาอาชีพ ( · ผลการเรียนรู้ข้อ 3.2)
          3.2.1 การมอบให้นักศึกษา ( · ผลการเรียนรู้ข้อ 3.1,3.2)
               ก. ทำหลักสูตรรายวิชาในรายวิชาระดับ ปวช. ปวส.
               ข. การค้นคว้ารายงานการวิจัยด้านหลักสูตร
          3.2.2 อภิปรายกลุ่ม          
       3.3.1 ประเมินจากผลการทำงาน และการรายงานหน้าชั้นเรียน
       3.3.2 วัดผลจากการสอบภาคทฤษฎี
       3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ปัญหาในการจัดทำหลักสูตรรายวิชา และการวิเคราะห์อาชีพ
          นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน การมี ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องให้นักศึกษาระหว่างที่สอนเกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้
          4.1.1 แสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นและมีวุฒิภาวะทางอารมณ์
          4.1.2 แสดงออกถึงการมีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม
          4.1.3 สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมตามบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์              
          4.1.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน และมีจิตสำนึกต่อสังคมด้านการนำความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม          
       4.2.1 ส่งเสริมให้มีกิจกรรมกลุ่มที่แสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
       4.2.2 ส่งเสริมการนำเสนอผลงานหรือกิจกรรมทางวิชาการ
       4.2.3 กำหนดบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
       4.2.4 มอบหมายให้รายงานหน้าชั้นและมีการอภิปราย ยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมชั้นเรียน
      4.3.1 ประเมินพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน
      4.3.2 ประเมินผลการส่งงานภายในกำหนด
      4.3.3 ประเมินผลการทำงานเป็นทีมตามที่ได้รับมอบหมาย
      4.3.4 ประเมินผลการแสดงออกของหลักการในการสรุปประเด็นที่เด่นชัด    
 
          ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะเกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนต้องฝึกให้นักศึกษามีคุณสมบัติดังนี้
      5.1.1 มีทักษะในการเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ข่าวสารทั้งที่เป็นตัวเลขเชิงสถิติ คณิตศาสตร์ ภาษาพูดและภาษาเขียน อันมีผลทำให้สามารถเข้าใจองค์ความรู้หรือประเด็นปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
      5.1.2 สามารถใช้ดุลยพินิจในการสืบค้น วิเคราะห์ ประมวลผล แปลความหมายและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
      5.1.3 สามารถสนทนา เขียน และนำเสนอทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเพื่อสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ( · ผลการเรียนรู้ข้อ 5.3)
 
      5.2.1 ติดตามข้อมูลข่าวสารประเด็นสำคัญด้านวิชาการจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
      5.2.2 วิเคราะห์และแปลความหมายจากข้อมูลข่าวสาร
      5.2.3 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนำเสนอผลงาน
      5.2.4 การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนเพื่อสะท้อนถึงการใช้สารสนเทศและภาษาในการสื่อสาร
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้
          5.3.1 ประเมินผลจากเนื้อหาในสื่อที่นำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
          5.3.2 ประเมินผลจากการเนื้อหาในเล่มรายงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล
          5.3.3 ประเมินผลจากการใช้สื่อในการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
          5.3.4 ประเมินผลจากการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
          5.3.5 ประเมินผลจากการเข้าใช้ระบบเทคโนโลยีการศึกษาที่กำหนด
          การทำงานในสถานศึกษา สถานประกอบการหรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะการปฏิบัติ การวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข รวมถึงการมีทักษะการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลายตามสภาพจริง ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องมุ่งเน้นการสร้างทักษะการปฏิบัติงานและการจัดการเรียนรู้ดังต่อไปนี้ 
          6.1.1 แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ด้านการปฏิบัติงานในวิชาชีพเฉพาะ วิชาชีพครู การบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ ที่มีรูปแบบหลากหลายอย่างบูรณาการและสร้างสรรค์
          6.1.2 แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนรวมถึงประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างบูรณาการที่เหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลายอย่างมีนวัตกรรม
 
          จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
          6.2.1 กำหนดรูปแบบการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน เพื่อให้นักศึกษาสะท้อนความรู้ที่ค้นคว้าและทักษะในการถ่ายทอดความรู้ ( · ผลการเรียนรู้ข้อ 6.2)
          6.2.2 กำหนดให้นักศึกษาทำหลักสูตรรายวิชา
        6.3.1 ประเมินพฤติกรรมการการทำหลักสูตรรายวิชา
        6.3.2 การประเมินจากการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน ( · ผลการเรียนรู้ข้อ 6.2)
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 TEDCC806 การพัฒนาหลักสูตร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 •2.1, •2.3 •3.1, •3.2 •5.3 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 17 30% 30%
2 •1.2, •1.3, •2.1, •2.3, •3.1, •3.2 •5.3,•6.2, 4.1,,4.2 ,5.1 การทำงานกลุ่ม ค้นคว้าและการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย - หลักสูตรการอาชีวศึกษา - การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอาชีวศึกษา ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 •1.2, •1.3, •2.1, •2.3, •3.1, •3.2 •5.3,•6.2, 4.1,4.2, 5.1 การมีส่วนร่วม อภิปราย นำเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 5%
4 •1.3 การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
5 •1.2, •1.3, •2.1, •2.3, •3.1, •3.2 •5.3,•6.2,4.1,4.2, 5.1 ผลงานการทำหลักสูตรรายวิชา ตลอดภาคการศึกษา 5%
6 •1.3 •1.3 การเช็คชื่อการเข้าชั้นเรียน การแต่งกายและการทำผิดวินัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. กาญจนา คุณารักษ์. (2540). หลักสูตรและการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร. วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
2. แก้วตา คณะวรรณ. (2535). การสร้างหลักสูตร. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น. คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2543). สำนักนายกรัฐมนตรี. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542.
3. ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร : หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
4. ธวัชชัย ชัยจิรฉายากุล, ดร. (2529). การพัฒนาหลักสูตร : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : อักษรบัณฑิต.
5. ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร : การออกแบบและพัฒนา. กรุงเทพฯ : พัฒนศึกษา.
6. ธำรง บัวศรี. ศาสตราจารย์ ดร.(2542). ทฤษฎีหลักสูตร: การออกแบบและพัฒนา. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.
7. นิศา ชูโต. (2531). การประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : พีเอ็นการพิมพ์.
8. บุญจิตต์ ฉัตรภูติ. (2532.) หลักสูตรและประมวลการสอนการศึกษาเทคนิค. กรุงเทพฯ:คณะวิศวกรรมเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.
9. บุญเลี้ยง ทุมทอง, ดร. (2553). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
10. มาเรียม นิลพันธุ์. (2543). หลักสูตรและการสอน. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
11. วัฒนาพร ระงับทุกข์, ดร. (2545). การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
12. วิชัย ดิสสระ. (2535). การพัฒนาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
13. วิชัย วงษ์ใหญ่, รศ.ดร.(2525). พัฒนาหลักสูตร และการสอน-มิติใหม่. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
14. วิราพร พงศ์อาจารย์. (2542). การพัฒนาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
15. วีระพรรณ จันทร์เหลือง. (2548). เอกสารประกอบการสอนประกอบการสอนวิชาหลักสูตรและการพัฒนารายวิชาช่างเทคนิค : สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ตาก.
16. ศรีราชา เจริญพานิช, ศ. ดร. และศาสตราจารย์นิรันต์ เศรษฐบุตร. (2555). “ธรรมาภิบาลเพื่อการขับเคลื่อนการศึกษา”, จุลสาร สมศ. 9 (พิเศษ).
17. สงัด อุทรานันท์. (2538). หลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
18. สงัด อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
19. สันต์ ธรรมบำรุง. (2527). พื้นฐานและการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : วงเดือน.
20. ______________. (2527). หลักสูตรและการบริหารหลักสูตร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ศาสนา.
21. สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2541). วิธีวิทยาการประเมินทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
22. สำลี รักสุทธี และคณะ (2545). แนวการศึกษาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร : บริษัทสำนักพิมพ์ พ.ศ. พัฒนา จำกัด.
23. สุจริต เพียรชอบ. (2548). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
24. สุมิตร คุณานุกร. (2520). หลักสูตรและการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชวนชม.
25. อำนาจ จันทร์แป้น. (2532). การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีการปฏิบัติระดับโรงเรียน. เชียงใหม่ : ส.ทรัพย์การพิมพ์.
26. Beauchamp, George A. (1975). A curriculum Theory. 3rd Illinois : The Kagg Press
27 Beauchamp, George A. (1968). The Curriculum of Elementary School. Boston : Allyn and Bacon Inc.
28. Beauchamp, G. (1975). Developing The Curriculum. New York : Harper Collins.
29. Cronbach Lee J.. (1970). Essential of Psychological Testing. 3rd ed. New York : Harper Row.
30. Saylor, J.G. & Alexander. W.M. (1974). Planning Curriculum for Schools. New York : Holt Rinehart & Winston.
31. Stufflebeam, Danniel L. (1985). “Education Evaluation and Decision Making” Education Evaluation : Theory and Practice. California : Wadsworth Publishing.
32. Taba, Hilda. (1962). Curriculum Development : Theory and Practice. New York : Harcouit Brace & World, Inc.
33. Tanner, D. & L.N.Tanner. (1980). Curriculum development : theory into practice. New York : macmillan.
34. Tyler, R.W.(1949). Basic principles of curriculum and instruction. Chicago : University of Chicago Press.
ให้นักศึกษาค้นหาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ให้เลือกรายวิชาที่สนใจมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับหลักสูตรและรายวิชาที่จะต้องออกไปฝึกสอนได้จริง
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ดที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
1.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอนหรือการสังเกตการณ์จากคณะผู้ประเมิน
1.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
1.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
1.1 รูปแบบการนำเสนองาน นำเสนอสรุปสาระสำคัญด้วยปากเปล่าเป็นรายบุคคล
1.2 รูปแบบการนำเสนองาน นำเสนอสรุปสาระสำคัญด้วยวิดีทัศน์เป็นกลุ่ม
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ซึ่งได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาดังนี้
1.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น
1.2 มีการแลกเปลี่ยนตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบและการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุง การสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงหัวข้องานที่มอบหมายและวิธีการสอน สื่อประกอบการสอนภาคการศึกษาที่ทำการสอน ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 ให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างนศ.