การแปลเชิงธุรกิจ

Business Translation

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในการแปลข้อเขียนต่างๆ ทางธุรกิจ รูปแบบและการจัดเรียงข้อความ คำศัพท์สำคัญทางธุรกิจ ทั้งจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
2.1 นำผลการประเมินรายวิชาจากครั้งก่อน (ภาค 1/2562) มาปรับปรุงในด้านการสอน ดังนี้
     ผลการประเมิน - มีสื่อการสอนที่น่าสนใจเพื่อความเข้าใจในเนื้อหาได้ง่าย (3.50)
    ปรับปรุง จัดทำสื่อการสอนเพิ่มเติมให้มีความน่าสนใจ
     ผลการประเมิน – ตำรา/เอกสารประกอบการสอนหลากหลายและเพียงพอในการศึกษาค้นคว้า (3.50)
    ปรับปรุง เพิ่มเติมเอกสารและข้อมูลแนะนำให้นักศึกษาได้ค้นคว้ามากยิ่งขึ้น
2.2 แนะนำแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับคำศัพท์ในศาสตร์ด้านธุรกิจสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่นำมาฝึกปฏิบัติการแปล
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการแปลข้อความ ข้อเขียน และเอกสารทางธุรกิจ จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
- จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
- สร้างชั้นเรียนออนไลน์เพื่อเป็นช่องทางติดต่อกับนักศึกษา และเป็นพื้นที่สำหรับให้คำแนะนำแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงงานมอบหมายต่าง ๆ
ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษามี
1.1.1 ความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ มีจิตสำนึกสาธารณะ เสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น (ความรับผิดชอบหลัก 1.1)
1.1.2 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่จะเกิดขึ้นกับบุคคล องค์กร และสังคมจากการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร (ความรับผิดชอบรอง 1.6)
1.2.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักจรรยาบรรณของวิชาชีพการแปลในเนื้อหาของบทเรียน
1.2.2 สร้างความตระหนักในผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่อคุณภาพของงานแปล ที่ส่งผลต่อบุคคล องค์กร และสังคม โดยให้นศ.ทำการแปลและรับผิดชอบต่อผลงานของตนเอง
1.3.1 ความเข้าใจในเรื่องจรรยาบรรณทางวิชาชีพ วัดจากการสอบกลางภาค และจากผลงานการแปลที่มอบหมาย
1.3.2 ความตระหนักในผลกระทบ พิจารณาจากคุณภาพของงานแปลที่มอบหมาย
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความเข้าใจในเนื้อหาของรายวิชา
2.1.1 ด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาของรายวิชา โดยทางทฤษฎีเน้นความรู้ความเข้าใจในเรื่องลักษณะของข้อเขียนทางธุรกิจและหลักการแปลข้อเขียนทางธุรกิจ ทางปฏิบัติ เน้นการฝึกแปลข้อเขียนทางธุรกิจประเภทต่าง ๆ จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ และด้านการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะทางการแปล เน้นความสามารถในการเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน(ความรับผิดชอบรอง 2.2)
2.1.2 ด้านความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ และความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ เน้นการประยุกต์ใช้ทักษะการแปลกับประเด็นทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ของโลกปัจจุบัน (ความรับผิดชอบหลัก 2.4)
ยึดหลักการเรียนการสอนแบบ active learning โดย
2.2.1 ให้ความรู้แก่นักศึกษาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วให้ฝึกวิเคราะห์ ปฏิบัติการแปลตามกิจกรรมที่กำหนดในบทเรียน โดยผู้สอนให้คำอธิบายประเด็นสำคัญต่าง ๆ ในบทเรียน เพื่อสร้างความเข้าใจก่อนฝึกปฏิบัติ
2.2.2 ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2.2.3 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการแปลเอกสารทางธุรกิจประเภทต่างๆ ที่มาจากเอกสารจริง โดยเน้นประเด็นทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ของโลกปัจจุบัน
2.3.1 ความรู้ด้านหลักการแปล วัดจากผลการทดสอบกลางภาค และการทดสอบปลายภาค
2.3.2 ความรู้ด้านการปฏิบัติ วัดจากผลงานการฝึกปฏิบัติการแปลข้อเขียนทางธุรกิจประเภทต่าง ๆ ทั้งในและนอกชั้นเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ  จากหลากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการ ตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง ในการทำงานแปลทางธุรกิจ (ความรับผิดชอบรอง 3.1)
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดยให้นักศึกษาฝึกการแปลเอกสารจริง โดยเน้นประเด็นทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ของโลกปัจจุบัน
พิจารณาจากผลงานการแปลเอกสารทางธุรกิจประเภทต่าง ๆ
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และสามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ กับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ความรับผิดชอบรอง 4.4 และ 4.5)
ยึดหลักการเรียนการสอนแบบ active learning โดยให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการแปลเอกสารจริง และกระตุ้นให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่องานแปลและอภิปรายเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันในชั้นเรียน
สังเกตจากผลงานการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาและการทำกิจกรรมต่าง ๆ
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาค้นคว้า ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการแปลอย่างเหมาะสม และสามารถใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบท (ความรับผิดชอบหลัก 5.3)
กำหนดให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลและใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการแปลงานทางธุรกิจประเภทต่างๆ
พิจารณาจากคุณภาพของผลงานการแปลเอกสารทางธุรกิจประเภทต่าง ๆ
พัฒนานักศึกษาให้สามารถปฏิบัติงานแปล โดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์เป็นแนวทางในการสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง (ความรับผิดชอบรอง 6.2)
6.2.1 สอดแทรกการพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหา และการค้นคว้าวิจัยในกิจกรรมการแปล
6.2.2 ให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการแปลเอกสาร โดยใช้ต้นฉบับจริงจากสถานการณ์ทางธุรกิจต่างๆ
พิจารณาจากคุณภาพของผลงานการแปลเอกสารทางธุรกิจประเภทต่าง ๆ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 4 5 1 2 3 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BOAEC130 การแปลเชิงธุรกิจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 4.4, 4.5 การเข้าชั้นเรียน และการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 1.1, 1.6, 2.1, 2.4, 3.1, 5.3, 6.2 การสอบกลางภาค 5 15%
3 1.1, 1.6, 2.1, 2.4, 3.1, 5.3, 6.2 การสอบปลายภาค 17 15%
4 1.1, 1.6, 2.1, 2.4, 3.1, 5.3, 6.2 แบบฝึกปฏิบัติ 2-4, 6-16 20%
5 1.1, 1.6, 2.1, 2.4, 3.1, 5.3, 6.2 งานมอบหมาย 7, 10, 13, 16 40%
เอกสารประกอบการสอนวิชาการแปลเชิงธุรกิจ
1.   ทิพา เทพอัครพงศ์. 2547. การแปลเบื้องต้น. กรุงเทพฯ.  สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
2.   พิมพา เวสสะโกศล. 2555. การแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์ม.ธรรมศาสตร์.
3.   ประเทือง ทินรัตน์. 2543. การแปลเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
4.   ปัญญา บริสุทธิ์. 2540. ทฤษฎีและวิธีปฏิบัติในการแปล. กรุงเทพฯ ราชบัณฑิตยสถาน.
5.   มณีรัตน์ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา. 2548. การแปล: หลักการและการวิเคราะห์. กรุงเทพฯ  สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
6.   รัชนีโรจน์ กุลธำรง. 2552. ความรู้ความเข้าใจเรื่องภาษาเพื่อการแปล.  กรุงเทพฯ  สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
7.   วรรณา แสงอร่ามเรือง. 2542. ทฤษฎีและหลักการแปล. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
8.   วรัชญ์ ครุจิต. 2553. การแปลภาษาอังกฤษเพื่องานนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
9.   สิทธา พินิจภูวดล. 2542. คู่มือนักแปลอาชีพ. กรุงเทพฯ บริษัทนานมีบุ๊คส์ จำกัด.
10.  สุพรรณี  ปิ่นมณี. 2546. การแปลขั้นสูง. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
11.  สุพรรณี ปิ่นมณี. 2555. แปลผิด->แปลถูก. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
12.  Gerding-Salas, C. 2000. “Teaching translation: Problems and solutions,” Translation Journal Vol. 4 No. 3 July 2002. http://accurapid.com/journal/13educ.htm
13.  Gurdial Singh, K.K. 2005. “A competent translator and effective knowledge transfer,” Translation Journal. http://accurapid.com/journal/34edu.htm
14.  Osimo, B. 2004. Translation. http://www.logos.it/translation_course/index_en.html
15.  เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษา การแปลภาษา และเอกสารทางธุรกิจ
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากกิจกรรมดังต่อไปนี้
1.1 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.2 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
2.1 ข้อเสนอแนะจากกรรมการผู้ตรวจประเมินรายวิชา
2.2 ผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา
การปรับปรุงการสอน ดำเนินการดังนี้
3.1 นำผลการประเมินจากภาคเรียนที่ผ่านมา และข้อเสนอแนะจากการทวนสอบรายวิชา มาดำเนินการปรับปรุงเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน ลักษณะของงานมอบหมาย สื่อประกอบการเรียนการสอน แบบฝึกปฏิบัติ และข้อสอบกลางภาค-ปลายภาค
3.2 นำแนวปฏิบัติในการออกแบบกิจกรรมตามหลักการ 21st Century Learning Design ของ Microsoft มาปรับใช้กับกิจกรรมที่กำหนดให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ
4.1 ก่อนเริ่มการสอน มีการตรวจสอบมคอ.3 โดยหัวหน้าหลักสูตรและหัวหน้าสาขา ว่ามีมาตรฐานผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมคอ. 2 ของหลักสูตร
4.2 ในระหว่างการสอน มีการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ในรายวิชา และข้อสอบที่จะใช้สอบวัดผลสัมฤทธิ์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
 4.3 หลังการสอน มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบมคอ. 3 มคอ. 5 ข้อสอบ เกณฑ์การให้คะแนน ผลการเรียน และผลจากงานมอบหมาย
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น โดยมีการปรับปรุงรายวิชาทุกปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 1-4