การแปลเบื้องต้น

Introduction to Translation

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎีกระบวนการ และกลวิธีการแปลงานเขียนประเภทต่าง ๆ โดยใช้ภาษาที่ถูกต้องและเหมาะสม และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1 นำผลการประเมินรายวิชาจากครั้งก่อน (ภาค 2/2562) มาปรับปรุง ดังนี้
      ด้านสื่อ (4.47)

ตำรา/เอกสารประกอบการสอนมีความทันสมัยและเหมาะสมกับเนื้อหารายวิชา (4.4)

การปรับปรุง ปรับเนื้อหาของเอกสารประกอบการสอนให้มีความทันสมัยและเหมาะสม
      -    ตำรา/เอกสารประกอบการสอนมีความหลากหลายและเพียงพอในการศึกษาค้นคว้า (4.4)
การปรับปรุง เพิ่มเติมเอกสารและข้อมูลแนะนำให้กับนักศึกษา
2.2  นำแนวปฏิบัติในการออกแบบกิจกรรมตามหลักการ 21st Century Learning Design ของ Microsoft มาปรับใช้กับกิจกรรมที่กำหนดให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ
ศึกษาและฝึกปฏิบัติหลักและวิธีการแปลพื้นฐานภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ในระดับคำ วลี ประโยค และย่อหน้า   จากงานเขียนและสื่อประเภทต่างๆ ตลอดจนการใช้สื่อสารสนเทศช่วยในการแปล
- จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
- สร้างช่องทางติดต่อทาง social network เพื่อเป็นช่องทางติดต่อกับนักศึกษาและส่งงาน
ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษามี
1.1.1 ความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ มีจิตสำนึกสาธารณะ เสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น (ความรับผิดชอบหลัก 1.1)
1.1.2. มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (ความรับผิดชอบรอง 1.5)
1.1.3. สามารถวิเคราะห์ผลกระทบด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่จะเกิดขึ้นกับบุคคล องค์กร และสังคมจากการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร (ความรับผิดชอบหลัก 1.6)
1.2.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักจรรยาบรรณของวิชาชีพการแปลในเนื้อหาของบทเรียน
1.2.2. เสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ โดยชี้ให้นักศึกษาเห็นถึงประโยชน์ของการพัฒนาทักษะการแปล การทำความเข้าใจในจุดประสงค์ของผู้เขียนข้อความที่อ่าน และการรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมชั้น
1.2.3 สร้างความตระหนักในผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่อคุณภาพของงานแปลที่ส่งผลต่อบุคคล องค์กร และสังคม โดยฝึกวิเคราะห์คุณภาพของการแปลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เทียบกับการแปลโดยนักแปล
1.3.1 ทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สังเกตจากการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
1.3.2 ความเข้าใจในหลักจรรยาบรรณในวิชาชีพนักแปล และความตระหนักในผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคุณภาพงานแปล วัดจากความเข้าใจในแบบทดสอบท้ายบทเรียน และผลการฝึกวิเคราะห์คุณภาพงานแปล
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความเข้าใจทั้งในด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาของรายวิชา บนหลักการเรียนรู้แบบ active learning โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษามี
2.2.1    ความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักการแปล ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการแปล กระบวนการและกลวิธีการแปล รวมถึงการฝึกทักษะการแปลงานเขียนประเภทต่าง ๆ จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ในระดับคำ วลี ประโยค ย่อหน้า และข้อความ (ความรับผิดชอบหลัก 2.1)
2.2.2    มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านการแปล สามารถบูรณาการความรู้ในการแปลกับศาสตร์ต่างๆ อย่างเหมาะสม โดยประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะด้านการแปล ในการวิเคราะห์ปัญหา และการแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน (ความรับผิดชอบหลัก 2.2)
ยึดหลักการเรียนการสอนแบบ active learning ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากที่สุด โดยให้นักศึกษา
2.2.1 ศึกษาความรู้จากบทเรียนต่าง แล้วฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดในบทเรียน
2.2.2 ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
2.2.3 ฝึกปฏิบัติการแปลและวิเคราะห์เอกสารต้นฉบับ โดยคัดเลือกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและสถานการณ์ทั่วไปในชีวิตประจำวัน
2.3.1 ความรู้ด้านทฤษฎี วัดจากการฝึกปฏิบัติ / การทดสอบย่อย / การสอบกลางภาค / การสอบปลายภาค
2.3.2 ความรู้ด้านการปฏิบัติ วัดจากผลงานการฝึกปฏิบัติการแปลในระดับคำ วลี ประโยค ย่อหน้า และข้อความ และผลการวิเคราะห์คุณภาพของงานแปล
ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ และประเมินสารสนเทศจากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อม และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง (ความรับผิดชอบรอง 3.1)
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดยให้นักศึกษาวิเคราะห์ความหมายของคำศัพท์ ของข้อความต้นฉบับ วิเคราะห์คุณภาพและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานแปลประเภทต่างๆ
สังเกตุจากผลงานการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาและการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และสามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ กับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ความรับผิดชอบรอง 4.4 และ 4.5)
จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมแบบกลุ่มในชั้นเรียน กระตุ้นให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่องานแปลและอภิปรายเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันในชั้นเรียน
สังเกตจากผลงานการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาและการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีทักษะการใช้เครื่องมือที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (ความรับผิดชอบรอง 5.3 และ 5.4)
สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าข้อมูลเพื่อการแปล ในบทเรียน และให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการแปลเอกสารหลากหลายประเภทโดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ
สังเกตจากผลงานการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาและการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
พัฒนานักศึกษาให้มีความรอบรู้และมีทักษะในการปฏิบัติงานแปล โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษา
6.1.1 สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์การแปลมาเป็นแนวทาง ในการแก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างเหมาะสม (ความรับผิดชอบหลัก 6.2)
6.1.2 สามารถปฏิบัติงานโดยยึดถือแนวทางความคิด วิเคราะห์ บนพื้นฐานของความเป็นไทย (ความรับผิดชอบหลัก 6.5)
6.2.1 สอดแทรกการพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหา และการค้นคว้าวิจัยในกิจกรรมการแปล
6.2.2 ให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการแปลเอกสาร โดยใช้ต้นฉบับจริงจากสถานการณ์ต่างๆ ที่มีลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมไทย เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาการแปล
6.3.1 ความรู้ด้านทฤษฎี วัดจากการฝึกปฏิบัติ / การทดสอบย่อย / การสอบกลางภาค / การสอบปลายภาค
6.3.2 ความรู้ด้านการปฏิบัติ วัดจากผลงานการฝึกปฏิบัติการแปลในระดับคำ วลี ประโยค ย่อหน้า และข้อความ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BOAEC113 การแปลเบื้องต้น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.5, 4.4, 4.5 การเข้าชั้นเรียน และการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 1.1, 1.6, 2.1, 2.2, 3.1, 5.3, 5.4, 6.2, 6.5 การสอบกลางภาค 9 15%
3 1.1, 1.6, 2.1, 2.2, 3.1, 5.3, 5.4, 6.2, 6.5 การสอบปลายภาค 17 15%
4 1.1, 1.6, 2.1, 2.2, 3.1, 5.3, 5.4, 6.2, 6.5 การทดสอบย่อย 1-12 2-7, 10-15 30%
5 1.1, 1.6, 2.1, 2.2, 3.1, 5.3, 5.4, 6.2, 6.5 การฝึกปฏิบัติ/งานมอบหมาย 7, 11, 13, 15 30%
ไม่มี
เอกสารประกอบการสอนวิชาการแปลเบื้องต้น
1.   ทิพา เทพอัครพงศ์. 2547. การแปลเบื้องต้น. กรุงเทพฯ.  สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
2.   ประเทือง ทินรัตน์. 2543. การแปลเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
3.   ปัญญา บริสุทธิ์. 2540. ทฤษฎีและวิธีปฏิบัติในการแปล. กรุงเทพฯ ราชบัณฑิตยสถาน.
4.   พิมพันธุ์ เวสสะโกศล. 2555. การแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
5.   มณีรัตน์ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา. 2548. การแปล: หลักการและการวิเคราะห์. กรุงเทพฯ  สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
6.   รัชนีโรจน์ กุลธำรง. 2552. ความรู้ความเข้าใจเรื่องภาษาเพื่อการแปล.  กรุงเทพฯ  สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
7.   วรรณา แสงอร่ามเรือง. 2542. ทฤษฎีและหลักการแปล. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
8.   วรัชญ์ ครุจิต. 2553. การแปลภาษาอังกฤษเพื่องานนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
9.   สิทธา พินิจภูวดล. 2539. “หลักการแปล” เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร หน่วยที่ 15. กรุงเทพฯ  มสธ.
10.  สิทธา พินิจภูวดล. 2542. คู่มือนักแปลอาชีพ. กรุงเทพฯ บริษัทนานมีบุ๊คส์ จำกัด.
11.  สุพรรณี  ปิ่นมณี. 2546. การแปลขั้นสูง. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
12.  สุพรรณี ปิ่นมณี. 2555. แปลผิด->แปลถูก: คัมภีร์การแปลยุคใหม่. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
13. เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษาและการแปลภาษา
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากกิจกรรมดังต่อไปนี้
1.1 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.2 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
2.1 ข้อเสนอแนะจากกรรมการผู้ตรวจประเมินรายวิชา
2.2 ผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา
การปรับปรุงการสอน ดำเนินการดังนี้
3.1 นำผลการประเมินจากภาคเรียนที่ผ่านมา และข้อเสนอแนะจากการทวนสอบรายวิชา มาดำเนินการปรับปรุงเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน ลักษณะของงานมอบหมาย สื่อประกอบการเรียนการสอน แบบฝึกปฏิบัติ และข้อสอบกลางภาค-ปลายภาค
3.2 นำแนวปฏิบัติในการออกแบบกิจกรรมตามหลักการ 21st Century Learning Design ของ Microsoft มาปรับใช้กับกิจกรรมที่กำหนดให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ
4.1 ก่อนเริ่มการสอน มีการตรวจสอบมคอ.3 โดยหัวหน้าหลักสูตรและหัวหน้าสาขา ว่ามีมาตรฐานผลการเรียนรู้สอดคล้องตามที่กำหนดไว้ในมคอ. 2 ของหลักสูตร
4.2 ในระหว่างการสอน มีการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังจากกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ในรายวิชา ข้อสอบที่จะใช้สอบวัดผลสัมฤทธิ์ทั้งกลางภาคและปลายภาค และเกณฑ์การประเมินผลงาน
4.3 หลังการสอน มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบมคอ. 3 มคอ. 5 ข้อสอบ เกณฑ์การให้คะแนน ผลการเรียน และผลจากงานมอบหมาย
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น โดยมีการปรับปรุงรายวิชาทุกปี ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 1-4