เขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์

Computer Drawing Practices

เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐาน หลักการ เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในการเขียนแบบพร้อมทั้งฝึกทักษะในการปฏิบัติการเขียนแบบให้มีความเชี่ยวชาญเพื่อนักศึกษาจะได้นำความรู้ ความสามารถไปใช้ในการประกอบอาชีพ
เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้พื้นฐานในด้านการเขียนแบบวิศวกรรมซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานของวิศวกร ทางอาจารย์ผู้สอนจึงได้ดำเนินการจัดทำแผนการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทุกหัวข้อของรายวิชาและเป็นแนวทางให้นักศึกษาได้มีการเตรียมความพร้อมในการศึกษาล่วงหน้าและทางผู้สอนเองก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้ทันต่อเทคโนโลยีของโปรแกรมที่ใช้ในการเขียนแบบซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล 2 มิติ การกำหนดขนาด การเขียนภาพ 3 มิติ การใช้คำสั่งต่างๆ ในการแก้ไขแบบ การเขียนภาพประกอบ ภาพแยกชิ้น การเขียนชิ้นส่วนมาตรฐาน การเขียนแบบสั่งงาน การเขียนตารางรายการแบบ การเขียนตัวอักษร การระบุพิกัดความเผื่อ พิกัดงานสวม สัญลักษณ์ผิวงาน สัญลักษณ์งานเชื่อม สัญลักษณ์ GD&T และการพิมพ์งานหรือพล็อตงาน
อาจารย์สามารถให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษา โดยสามารถปรึกษาอาจารย์ได้ผ่านช่องทางใดทางหนึ่งดังต่อไปนี้

อาจารย์ประจำรายวิชา ให้คำปรึกษานักศึกษาแบบ Face to Face ให้นักศึกษาสามารถเข้ามาปรึกษาอาจารย์ในห้องพักครู ในช่วงเวลาหลังเลิกเรียนในรายวิชาเพื่อให้คำปรึกษาสำหรับนักศึกษารายบุคคลที่มีปัญหา 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ อาจารย์ประจำรายวิชา ให้คำปรึกษานักศึกษาผ่าน Social Media โดยการตั้งกลุ่มสนทนา ซึ่งมีสมาชิกในกลุ่มที่ประกอบด้วยอาจารย์และนักศึกษา และให้คำปรึกษาผ่านแอพลิเคชั่นต่างๆ เช่น Line, Facebook เป็นต้น โดยจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ อาจารย์ประจำรายวิชา ให้คำปรึกษานักศึกษาผ่านทางโทรศัพท์ โดยสามารถโทรศัพท์เพื่อปรึกษาอาจารย์ประจำวิชาได้เป็นรายบุคคล
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ผู้สอนในแต่ละรายวิชาต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ดังนี้
(1)   แสดงออกซึ่งจิตสำนึกสาธารณะ และตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพครู ที่เสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
(2)   สามารถจัดการและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู
(3)   แสดงออกซึ่งการมีวินัย ขยัน อดทน เสียสละ ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดี
(4)       เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
(1)   กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดี เช่นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา การแต่งกายตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย
(2)   กำหนดให้นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่ม โดยฝึกให้รู้บทบาทและหน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่ม การเป็นสมาชิกกลุ่ม การเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งการเห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
(3)   สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนแต่ละรายวิชา ในด้านความซื่อสัตย์สุจริตในการสอบ รวมทั้งการมีมารยาททางวิชาการ การไม่คัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
(4)   จัดกิจกรรมส่งเสริมและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู และการมีจิตสำนึกสาธารณะ เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำความดี การทำประโยชน์และเสียสละแก่ส่วนรวม
(1)   ประเมินด้านจิตพิสัยของนักศึกษา เช่น การตรงต่อเวลา การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลาที่กำหนด และการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
(2)   ประเมินความรับผิดชอบในการทำงานเป็นกลุ่ม การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน และการรับฟังความคิดเห็นจากอาจารย์ผู้สอนและกลุ่มนักศึกษาในชั้นเรียน
(3)   ประเมินจากรายงานการกระทำทุจริตในการสอบ การมีมารยาททางวิชาการ และการตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
(4)       ประเมินผลจากรายงานการจัดกิจกรรมทางด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู และการมีจิตสำนึกสาธารณะ
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษา ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะของนักศึกษา ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมดังนี้
(1)   มีความรอบรู้ในด้านความรู้ทั่วไป วิชาชีพครู และวิชาชีพเฉพาะ อย่างกว้างขวาง ลึกซึ้ง และเป็นระบบ
(2)   สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีในสาขาวิชาชีพเฉพาะ รวมทั้งคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของงานวิจัยเพื่อต่อยอดองค์ความรู้
(3)       สามารถนำหลักการและทฤษฎีในองค์ความรู้ที่ได้ศึกษาไปบูรณาการข้ามศาสตร์ และบูรณาการกับโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสม
(1)   เลือกใช้วิธีการสอนให้เหมาะสมตามหัวข้อของลักษณะรายวิชา โดย การวิเคราะห์และสังเคราะห์ตามสภาพจริง
(2)   ส่งเสริมและชี้แนะให้นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางวิชาการ รวมทั้งการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม แล้วนำมาประยุกต์สร้างผลงานทางวิชาการ
(3)       ส่งเสริมและชี้แนะการบูรณาการนำความรู้ร่วมกับศาสตร์อื่นๆ เพื่อนำมาประยุกต์เข้ากับโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนการฝึกงานในสถานประกอบการ และปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่างๆ ดังนี้
(1)   ประเมินผลตลอดภาคเรียน
(2)   ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย
(3)   ประเมินผลจากการนำเสนอโครงการ
(4)   ประเมินผลจากการฝึกงานในสถานประกอบการ
(5)   ประเมินผลจากการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรมและความรู้ทางด้านวิชาชีพ โดยกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ดังนั้นมาตรฐานทักษะทางปัญญาต้องครอบคลุมดังนี้
(1)   มีจินตนาการในการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่มี ความสลับซับซ้อน ในการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ เพื่อพัฒนานวัตกรรม
(2)       มีทักษะในการเป็นผู้นำความรู้เพื่อการสืบค้นข้อมูล วินิจฉัย วิเคราะห์และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ
(1)   ใช้กระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลายซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยฝึกทักษะด้านปฏิบัติการ 
(2)       ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ แล้ววินิจฉัย และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นระบบ
(1)   ประเมินผลกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
(2)   ประเมินผลจาการฝึกทักษะด้านปฏิบัติการ
(3)       ประเมินผลจากการอธิปรายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหา ในประเด็นที่ได้จากการสืบค้นข้อมูลอย่างเป็นระบบ
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน การมีความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องให้นักศึกษาระหว่างที่สอนเกี่ยวกับคุณสมบัติต่าง ๆ ดังนี้
(1)   แสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น และมีวุฒิภาวะทางอารมณ์
(2)   แสดงออกถึงการมีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม
(3)   สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมตามบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
(4)   สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน และมีจิตสำนึกต่อสังคมด้านการนำความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม
(1)   ส่งเสริมให้มีกิจกรรมกลุ่มที่แสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
(2)   ส่งเสริมการนำเสนอผลงานหรือกิจกรรมทางวิชาการ
(3)   กำหนดบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
(4)       ส่งเสริมให้มีกิจกรรมการบริการทางวิชาการต่อสังคม
(1)   ประเมินพฤติกรรมจากการแสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
(2)   ประเมินผลการนำเสนอผลงานหรือกิจกรรมทางวิชาการ
(3)   ประเมินผลการทำงานเป็นทีมตามที่ได้รับมอบหมาย
(4)   ประเมินผลการดำเนินการบริการทางวิชาการต่อสังคม
ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะเกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนต้องฝึกให้นักศึกษามีคุณสมบัติดังนี้
(1)   มีทักษะในการเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ข่าวสารทั้งที่เป็นตัวเลขเชิงสถิติ คณิตศาสตร์ ภาษาพูดและภาษาเขียน อันมีผลทำให้สามารถเข้าใจองค์ความรู้หรือประเด็นปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
(2)   สามารถใช้ดุลยพินิจในการสืบค้น วิเคราะห์ ประมวลผล แปลความหมายและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
(3)       สามารถสนทนา เขียน และนำเสนอทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(1)   ติดตามข้อมูลข่าวสารประเด็นสำคัญด้านวิชาการจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
(2)   วิเคราะห์และแปลความหมายจากข้อมูลข่าวสาร
(3)       นำเสนอรายงานด้านวิชาการโดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
(1)   ความสามารถในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการติดตามข้อมูลข่าวสาร
(2)   ความสามารถในการวิเคราะห์และแปลความหมาย
(3)   ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
(4)       จรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
การทำงานในสถานศึกษา สถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะการปฏิบัติ การวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข รวมถึงการมีทักษะการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลายตามสภาพจริง ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องมุ่งเน้นการสร้างทักษะการปฏิบัติงานและการจัดการเรียนรู้ดังต่อไปนี้
(1)   แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ด้านการปฏิบัติงานในวิชาชีพเฉพาะ วิชาชีพครู การบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ ที่มีรูปแบบหลากหลายอย่างบูรณาการและสร้างสรรค์
(2)       แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนรวมถึงประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างบูรณาการที่เหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลายอย่างมีนวัตกรรม
(1)   สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
(2)   สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
(3)   สนับสนุนการเข้าประกวดทักษะด้านการปฏิบัติ
(4)   จัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา
(5)   สนับสนุนการจัดทำโครงงาน
(6)   การฝึกงานในสถานประกอบการ
(7)       การปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
(1)   ประเมินจากกิจนิสัยในการปฏิบัติงาน
(2)   ประเมินผลทักษะในการปฏิบัติงาน
(3)   ประเมินผลจากโครงงานนักศึกษา
(4)   ประเมินผลการฝึกงานในสถานประกอบการ
(5)   ประเมินผลการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1,2.3, 3.1 สอบกลางภาค 9 30
2 2.1,2.3, 3.1 สอบปลายภาค 17 30
3 1.3,4.3, 5.1,6.2 การส่งงาน ตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30
4 1.3,4.3, 5.1,6.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10
เอกสารใบงานประกอบการสอน หนังสือตารางงานโลหะ หนังสือเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์
แบบฝึกหัดฝึกปฏิบัติงานเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์
ตำราหรือเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Computer Aided Design
นักศึกษาประเมินผลการสอนอาจารย์ผ่านระบบการประเมินของมหาวิทยาลัยฯ
- ประเมินการสอนจากแฟ้มสะสมงานของนักศึกษา ที่เป็นไฟล์แบบฝึกหัดงานเขียนแบบ
- สังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา
-หาโปรแกรมที่ใช้สอนที่ทันสมัยและเทคนิคการสอนโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วม
- ทวนสอบโดยคณะกรรมการทวนสอบของหลักสูตร
- ทวนสอบโดยอาจารย์ผู้สอนวิชาที่เป็นวิชาต่อเนื่อง
-ปรับปรุงกิจกรรมและแผนการสอนให้มีความเหมาะสม