การเงินธุรกิจสำหรับนักบัญชี

Business Finance for Accountant

๑.๑  เพื่อให้รู้แนวคิด ความหมายของการเงินธุรกิจ  และเป้าหมายของการจัดการทางการเงินธุรกิจ
           ๑.๒  เพื่อให้รู้และเข้าใจสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทางการเงิน บทบาทหน้าที่และความสำคัญของตลาดเงินและ                  ตลาด ทุน เครื่องมือทางการเงินชนิดต่าง ๆ
        ๑.๓  เพื่อให้รู้และเข้าใจเครื่องมือในการวิเคราะห์งบการเงิน  การพยากรณ์  และการควบคุมทางการเงิน
        ๑.๔  เพื่อให้สามารถวิเคราะห์งบการเงินและพยากรณ์ทางการเงินได้
        ๑.๕  เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเงินทุนหมุนเวียน  และเข้าใจในการจัดการเงินทุนหมุนเวียน
        ๑.๖  เพื่อให้รู้และเข้าใจการจัดทำงบจ่ายลงทุน
        ๑.๗  เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการจัดหาเงินทุนของธุรกิจ  และโครงสร้างทางการเงิน
        ๑.๘  เพื่อให้รู้และเข้าใจการจัดทำต้นทุนของเงินทุน
        ๑.๙   เพื่อให้รู้และเข้าใจผลตอบแทนทางการเงิน และการลงทุนนโยบายเงินปันผล
        ๑.๑๐  เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนักศึกษาให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานการเรียนรู้ทั้ง ๕                       ด้านตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักศึกษา ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน    
ศึกษาความหมายของการเงินธุรกิจ  เป้าหมายของการจัดการทางการเงินธุรกิจ  สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทางการเงิน บทบาทหน้าที่และความสำคัญของตลาดเงินและตลาด ทุน เครื่องมือทางการเงินชนิดต่าง ๆ เทคนิคในการวิเคราะห์  การพยากรณ์ และการควบคุมทางการเงิน  การจัดการทุนหมุนเวียน  งบจ่ายลงทุน  วิธีการจัดหาเงินทุนของธุรกิจ ต้นทุนของเงินทุนและโครงสร้างทางการเงิน ผลตอบแทนทางการเงินและการลงทุนนโยบายเงินปันผล
6ชั่วโมงต่อสัปดาห์
          ๑.๑ คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
          ๑)   มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
          ๒)   มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
          ๓)   มีวินัยมาเรียนตรงต่อเวลา ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และ                         สิ่งแวดล้อม
          ๔)  เป็นผู้มีความเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
๑) กำหนดข้อตกลงให้นักศึกษามีระเบียบวินัย เข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ความรับผิดขอบ ความซื่อสัตย์
         ๒) สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพโดย ใช้กรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์จริง แนวทางในการแก้ปัญหา
๑)  ประเมินผลจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน
         ๒)  ประเมินผลจากการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา
          ๓)  ประเมินผลจากการกระทำทุจริตในการสอบ
๑)  มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฏี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี เช่น ความหมายของการเงินธุรกิจ  และเป้าหมายของการจัดการทางการเงิน สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทางการเงิน บทบาทหน้าที่และความสำคัญของตลาดเงินและตลาดทุน เครื่องมือทางการเงินชนิดต่าง ๆ เครื่องมือในการวิเคราะห์งบการเงิน  การพยากรณ์และการควบคุมทางการเงิน  เงินทุนหมุนเวียน  วิธีการจัดหาเงินทุนของธุรกิจ  โครงสร้างทางการเงินและต้นทุนของเงินทุน ผลตอบแทนทางการเงินและการลงทุนนโยบายเงินปันผล
               ๒)  มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม เช่น  ความรู้ด้านเศรษฐกิจ  สถิติ  คณิตศาสตร์
               ๓)  มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้
        จากประสบการณ์ เช่น เทคนิคในการวิเคราะห์งบการเงิน  พยากรณ์ทางการเงิน  และงบจ่ายลงทุน
                ๔)  สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและ
          ภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
๑)  การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา  รวมถึงการบรรยาย ยกตัวอย่างกรณีศึกษาจากรายงานการเงินของธุรกิจที่เปิดเผยข้อมูลในเวปไซด์ ถาม-ตอบ ในชั้นเรียน และยกตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา เพื่อกระตุ้นให้นศ.มี กระบวนการคิดแก้ปัญหา โดยประยุกต์ใช้เนื้อหาที่เรียน
                ๒) บูรณการกับ หลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ในการทำอาหาร และอาหารว่างจริงและนำข้อมูลจริงมาทำการคำนวณต้นทุนและจุดคุ้มทุน เพื่อเป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ กับสถานการณ์จริง
               ๓) มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากงบการเงินของธุรกิจจริง ในตลาดหลักทรัพย์ และจากสถานประกอบการจริง หรือวิสาหกิจชุมชน เพื่อใช้ประกอบการเรียนและทำแบบฝึกหัด
                              ๔)  การเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์จริงมาถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยเชิญวิทยากรจากภายนอกมาให้ความรู้ 
๑)  ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย รายงาน
       การค้นคว้า และการนำเสนอ                  
                ๒)  การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือ การสอบปฏิบัติ
                     ๑) สามารถคิดและวิเคราะห์จัดทำงานที่รับมอบหมายได้อย่างถูกต้อง
               ๒) สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กันใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจเช่น เศรษฐศาสตร์ การเงิน การตลาด ให้สอดคล้องกับการวิเคราะห์รายงานการเงิน รวมถึงการพยากรณ์และการวางแผนทางการเงิน
                             ๓) สามารถวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการดำเนินงานในแต่ละช่วงเวลาได้  เพื่อสามารถบอกได้ว่าการดำเนินงานในช่วงเวลาใดที่เป็นผลดีต่อผลการดำเนินงาน
๑)  ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่
สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง เช่น วิเคราะห์งบการเงินจากบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ หรือวิสาหกิจชุมชนต่าง ๆ
               ๒) การสอนโดยใช้ข้อมูลจริงจากข่าวเศรษฐกิจ สังคม การเมือง บทความวิชาการ งานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง กรณีศึกษาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ฝึกทักษะทางเชาวน์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่างๆ
               ๓)  สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษาศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
๑)  ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์
จำลองที่ได้รับมอบหมาย
               ๒)  ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของแต่ละรายวิชา
                             ๓)  ประเมินจากรายงาน ผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน เช่น คุณภาพของงาน รายงานการวิเคราะห์งบการเงิน ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ และรายงาน การนำ ความรู้ทางการเงินธุรกิจประยุกต์ใช้กับ วิสาหกิจชุมชนหรือกิจการอื่น อย่างมีประสิทธิภาพ
๑)  สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นการคำนวณจุดคุ้มทุนของสถานประกอบการจริง  การวางแผนทางการเงินระยะสั้น การบริหารเงินทุนหมุนเวียน เป็นต้น (ข้อมูลจากเวบไซด์)
                             ๒)  สามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นในกลุ่มได้  มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ และสามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๑)  มอบหมายให้ทำรายงานกลุ่มย่อย กรณีศึกษากลุ่ม ละ  3 - 5 คน
                             ๒)  อภิปรายกลุ่มย่อยจากกรณีศึกษา
๑)  ประเมินผลจากประสิทธิภาพของการทำงานร่วมกัน
               ๒)  ประเมินผลจากกรณีศึกษาที่มอบหมาย
                             ๓)  ประเมินผลจากการนำเสนองาน
      ๑)   มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง    เช่น สามารถใช้ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์งบการเงิน  วิเคราะห์ค่าของโครงการลงทุน นโยบายและการจ่ายเงินปันผล ในการอธิบายความแตกต่าง  ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน รวมถึงการวิเคราะห์โครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมและรายงานให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบอย่างชัดเจน
                ๒)  สามารถรายงานผลการวิเคราะห์ทั้งด้วยวาจา และการเขียนรายงานสรุปผลการวิเคราะห์ได้อย่าง     เหมาะสม
               ๓)  สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล แปลความหมาย และ สื่อสารสารสนเทศ ได้
๑)  มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคานวณเชิงตัวเลข เช่นการสืบค้นข้อมูล เกี่ยวกับงบการเงินของธุรกิจที่นักศึกษามีความสนใจจากเวปไซด์ เพื่อนำมาวิเคราะห์ และจัดทำรายงาน เป็นกลุ่ม
               ๒)  จัดทำสื่อประกอบการรายงาน และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
                             ๓)  มอบหมายกรณีศึกษาให้วิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์จากกรณีศึกษาในห้องเรียน
๑)  การนำเสนอรายงานกลุ่มที่ได้จากการสืบค้นข้อมูล
               ๒)  ประเมินผลจากสื่อและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
               ๓)  การวิเคราะห์  การแก้ปัญหา จากกรณีศึกษา  และแบบฝึกหัด
รับรู้และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์จริงได้
บรรยาย และแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
ผลงานที่นำเสนอ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ๑,๒,๓,๕ การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค ๙ ๑๗ ๓๐% ๓๐%
2 ๓,๔,๕ รายงานเดี๋ยว ๑๐% และ กลุ่ม ๒๐% การวิเคราะห์ปัญหาหน้าชั้นเรียน และ ในขณะเรียน สุ่มรายสัปดาห์ ๓๐%
3 ๑,๒,๓,๔,๕ สังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน การตอบคำถามในห้องเรียน ความมีวินัย ตรงเวลา ในการเข้าเรียน สุ่มรายสัปดาห์ ๑๐%
 
-การเงินธุรกิจสำหรับนักบัญชี ผู้เรียบเรียง  ดร.พวงทอง วังราษฏร์
การเงินธุรกิจ ผู้เรียบเรียง  ผู้ช่วยศาสตราจารย์เสรฐสุดา  ปรีชานนท์
- การเงินธุรกิจ ผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์กมลวรรณ พิมพ์แพทย์
- การจัดการการเงิน ผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์เฉลิมขวัญ ครุฑบุญยงค์
- การเงินธุรกิจ ผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญพิมล ลีโนทัย
-  ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  การวิเคราะห์งบการเงิน
-  www.sec.or.th , www.settrade.com , www.fap.or.th
ใช้แบบประเมินผลอาจารย์ผู้สอนของมหาวิทยาลัยที่กำหนดให้มีการประเมินการสอนอาจารย์ผู้สอนโดยนักศึกษาทุกภาคการศึกษา
ประเมินการสอนจากผลการสอบของนักศึกษา   และจากงานกลุ่มการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา
ปรับปรุงจุดบกพร่องในการสอนตามผลการประเมินของนักศึกษาที่ผ่านมา ในเรื่องของการถ่ายทอดความรู้  ด้วยวิธีการหลากหลายและอธิบายได้ชัดเจนเข้าใจง่าย
                   ปรับปรุงการสอนโดยประเมินจากผลการสอบและการวิเคราะห์ปัญหา จากบทความวิจัย และกรณีศึกษา
ตรวจสอบความถูกต้องในการประเมินผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษา
                   ตรวจสอบความตรงประเด็นของข้อสอบกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ของสาขาวิชา
นำผลการประเมินข้อ ๑ ข้อ ๓ ข้อ ๔ มาปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา การทบทวนเพื่อปรับปรุงเนื้อหา และการออกข้อสอบ