เทคโนโลยีสถาปัตยกรรมภายใน 3

Interior Architectural Technology 3

นักศึกษาฝึกปฏิบัติการเขียนแบบโครงสร้างสำหรับการก่อสร้าง  ทำการปฏิบัติการเขียนแบบ งานระบบที่เกี่ยวข้องได้แก่  การเขียนรายการประกอบแบบงานไฟฟ้า ฝ้าเพดานและระบบเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการก่อสร้างงานสถาปัตยกรรมภายใน   ฝึกปฏิบัติการเขียนแบบ  ด้วยเครื่องมือเขียนแบบและคอมพิวเตอร์ และสามารถจัดทำรูปเล่ม ของของการเขียนแบบ เพื่อทำการก่อสร้าง
นำข้อมูลจากการประเมินการสอนโดยนักศึกษาในปีการศึกษาที่ผ่านมาปรับปรุง  ในการสอน เสริมแนวทางการ  ใช้ระบบเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการ เขียนแบบ ให้คำแนะนำ แนวทาง การพัฒนาแบบ  โดยการแบ่งกลุ่มตรวจระหว่าผู้สอนและผู้เรียน   เพิ่มตัวอย่างงาน  เขียนแบบ เพื่อทำการก่อสร้าง  โดยเน้นเรื่องงานระบบและอุปกรณ์ประกอบอาคารและการให้รายละเอียด
แบบ ด้วยภาษาอังกฤษ
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการโครงสร้าง งานระบบ งานไฟฟ้า ฝ้าเพดาน ห้องน้ำ และระบบเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องการเขียนรายการประกอบแบบ ฝึกปฏิบัติการเขียนแบบ ด้วยเครื่องมือเขียนแบบและคอมพิวเตอร์
อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาหน้าชั้นเรียนจัดเวลา ให้คำปรึกษา เป็นราย บุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ) โดยระบุ เวลา  ไว้ใน ตารางสอน และแจ้งนักศึกษาในชั่วโมงแรก ของสัปดาห์
มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพในรายวิชา สอนให้มีระเบียบวินับ ฝึกให้รู้หน้าที่ในการงาน  มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
ประเมินจากการตรวจสอบแผนการสอนในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ในทุกวิชา ประเมินจากผลการดำเนินงานตามแผนการสอนและประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม
1) สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2) สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3) สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
.ใช้การเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ นอกจากนี้อาจจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชียวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกประสบการณ์หรือฝึกปฏิบัติงาน
ในสถานประกอบการ
1) การทดสอบย่อย 
2) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
           3) ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
           4) ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
           5) ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
           6) ประเมินจากแผนการดำเนินงานโครงงาน
           7) ประเมินจากการฝึกงานหรือสหกิจศึกษา
1) มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
2) มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
ใช้กรณีศึกษา การจัดทำโครงงาน การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูล การนำเสนอผลงาน โดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน การปฏิบัติงานของนักศึกษาและการนำเสนองาน
มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคมมอบหมายงานหรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตาม การเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การประสานงานกับบุคคลภายนอก การแสดงความคิดเห้นและการวิพากษ์วิจารณ์งานของผุ้อื่น
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองานและผลงานกลุ่มในชั้นเรียนและประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ
1) สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
2) สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
3) สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองและสถานการณ์เสมือนจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศให้นักศึกษาค้นคว้างานที่ต้องอาศัยการประมวลผล โดยการใช้ตัวเลขเพื่อการจัดการข้อมูลการนำเสนอที่เหมาะสมกับสภาพของผู้สื่อสาร
ประเมินจากความถูกต้องในการใช้ข้อมูลและตัวเลข การเลือใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม ประเมินจากการอธิบาย การนำเสนอ
1) มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
2) มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
ใช้วิธีการสอน ด้วยวิธีการคัดลอกแบบ ทำตามแบบและใบงาน การใช้กรณีศึกษาโครงงานและศิลปนิพนธ์ สร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 คุณธรรม จริยธรรม 2 ความรู้ 3 ทักษะทางปัญญา 4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5 ทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BARIA305 เทคโนโลยีสถาปัตยกรรมภายใน 3
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม 1)ประเมินจากการการเข้าชั้นเรียนความตรง เวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียนการส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วม กิจกรรม 2) มีข้อสอบวัดผลที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และ มีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ • ตลอดภาค การศึกษา • สอบกลางภาค • เนื้อหาในสัปดาห์ ที่2 10%
2 ความรู้ 1) ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออก ของนักศึกษาในการอภิปราย ในช่วงระหว่างการเรียน การสอน 2) สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 3) วัดผลงานที่ได้รับมอบหมายให้ค้นคว้าและ สรุปผลตามขอบเขตที่กำหนดให้ • ตลอดภาค การศึกษา • สอบกลางภาค • เนื้อหาใน สัปดาห์ ที่1,2,3,4,5,6 25%
3 ทักษะทาง ปัญญา 1) ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการ บูรณาการการเรียนด้านการออกแบบ การใช้วัสดุ อุปกรณ์ประกอบอาคาร สัดส่วนมนุษย์ และกฏหมายวิชาชีพ 2)วัดผลงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลามีการสอบวัดประเมินผล สังเกตพฤติกรรมการทำการเขียนแบบที่ถูกต้อง • ตลอดภาค การศึกษา • เนื้อหาใน สัปดาห์ 1,2,3,4,5,6 20%
4 ทักษะความสัมพันธ์ ระหว่าง บุคคลและ ความรับผิดชอบ 1) การอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน การประเมิณตัวเองและเพื่อนในการปฏิบัติงาน 2)พฤติกรรมในชั้นเรียนและการทำกิจกรรมกลุ่ม 3) ความตรงต่อเวลาการส่งงานและประสิทธิผล ของงานที่ได้รับมอบหมาย • เนื้อหาใน สัปดาห์ที่ 1,2,3,4,5,6 • ตลอดภาค การศึกษา 10%
5 ทักษะการ วิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 1) กระบวนการทำงานถูกต้องตามขั้นตอน 2)ผลงานที่ทำถูกต้องและแสดงวิธีการได้อย่าง ถูกต้อง • ตลอดภาค การศึกษา 15%
6 ทักษะการ ปฏิบัติ ทางวิชาชีพ 1) กระบวนการทำงานถูกต้องตามขั้นตอน 2)ผลงานที่ทำถูกต้องและแสดงวิธีการได้อย่าง ถูกต้อง • ตลอดภาค การศึกษา • สอบกลางภาค 20%
คู่มือ ปฏิบัติวิชาชีพ  ,มาตรฐานการเขียนแบบวิชาชีพ
ตัวอย่างแบบแบบเพื่อการก่อสร้าง
-
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจ สอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือด้าน สถาปัตยกรรม,สถาปัตยกรรมภายใน