สีเซรามิก

Ceramic Pigments

รู้พื้นฐานเบื้องต้นเกี่ยวกับสีเซรามิกและวัตถุดิบในการเตรียมสี เข้าใจวิธีการคำนวณสูตรสีสะเตน เข้าใจกระบวนการผลิตสีสะเตน มีทักษะในการเตรียมสีสะเตนและการนำสีไปใช้งาน เห็นคุณค่าของสีสะเตนที่ใช้ตกแต่งเซรามิก
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสีเซรามิกและวัตถุดิบในการเตรียมสี เคมีภัณฑ์ กรรมวีธีการเตรียมสีสำเร็จรูป การเตรียมสีใต้เคลือบ สีบนเคลือบ และสีในเคลือบ เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ หลักการและทักษะการนำสีไปใช้บนผิวชิ้นงานที่ผ่านการเผาดิบและเผาเคลือบ  เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การตกแต่งผลิตภัณฑ์เซรามิก  และน้ำเคลือบ
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการเกี่ยวกับ ประวัติความเป็นมาของสีเซรามิก ตลอดจนสีเงินสีทอง สีประกายมุก วัตถุดิบ คุณสมบัติ การเตรียมสีเซรามิก การเขียนสูตรสีสำเร็จรูปและรูปผลึกของสีหลังการเผา กระบวนการผลิตสีสำเร็จรูป สีเงิน สีทอง สีประกายมุก การตรวจสอบคุณภาพของสีเซรามิกวิธีนำไปใช้และวิธีเผา การเตรียมสีใต้เคลือบ บนเคลือบและในเคลือบ การเตรียมฟริต การใช้วัตถุดิบในการเตรียมเคลือบให้เหมาะสมกับสีแต่ละชนิด และการแก้ปัญหาสีเซรามิก ตลอดจนการเผาสีในบรรยากาศต่างๆ
 -    อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาภายในชั้นเรียน  -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ
1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม  จริยธรรม 2. มีวินัย  ขยัน  อดทน ตรงต่อเวลา  และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคมและสิ่งแวดล้อม
สอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในการสอนรวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ในรายวิชา  สอนให้มีระเบียบวินัยฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคมและสิ่งแวดล้อม
ประเมินจากการตรวจสอบแผนการสอนในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ในทุกวิชา  ประเมินจากผลการดำเนินงานตามแผนการสอน และ ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม
1. มีความรู้และความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2. สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ใช้การเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบโดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ในการปฎิบัติงานโดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆนอกจากนี้อาจจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่องตลอดจนการฝึกประสบการณ์หรือฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
1. การทดสอบย่อย 2. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 3. ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน 4. ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ 5. ประเมินจากแผนการดำเนินงาน โครงงานที่นำเสน
1. มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
ใช้กรณีศึกษา  การจัดทำโครงงาน  หรือการมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูล   การนำเสนองาน โดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่มร่วมแสดงความคิดเห็น
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานการปฏิบัติงานของนักศึกษาและการนำเสนองาน
1. มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 2. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคมมอบหมายงานหรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตามการเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น   การประสานงานกับบุคคลภายนอก   การแสดงความคิดเห็น และการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน และผลงานกลุ่มในชั้นเรียนและประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ
1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองและสถานการณ์เสมือนจริงแล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสมเรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศให้นักศึกษาค้นคว้างานที่ต้องอาศัยการประมวลผล  โดยการใช้ตัวเลขเพื่อการจัดการข้อมูล   การนำเสนอที่เหมาะสมกับสภาพของผู้สื่อสาร
ประเมินจากความถูกต้องในการใช้ข้อมูลและตัวเลข  การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม   ประเมินจากการอธิบายการนำเสนอ
1. มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ 2.  มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
ใช้วิธีการสอน ด้วยวิธีคัดลอกแบบ ทำตามแบบและใบงาน การใช้กรณีศึกษาและโครงงาน   สร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขเเละการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 BTECE147 สีเซรามิก
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1-6, 7-11 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 17 15% 15%
2 1-11 การปฏิบัติงานและผลงาน ตลอดภาคการศึกษา 60%
3 1-11 การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การส่งงานตามเวลาที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. โกมล  รักษ์วงศ์.(มปป.). วัตถุดิบที่ใช้ในเครื่องปั้นดินเผาและเนื้อดินปั้น. นนทบุรี : โรงเรียนมารดานุเคราะห์
2. ไพจิตร  อิ่งศิริวัฒน์. (2546). สีเซรามิก. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
3. Harmer,Frank and Janet. The potter’s Dictionary of Materials and Techniques. 2nd London :    A&C Black Publishers Ltd, 1986.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาไว้ดังนี้
1. การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
2. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
1. การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2. ผลการเรียนของนักศึกษา
3. การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
1. สัมมนาการจัดการเรียนการสอ
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
1. การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น
2. มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ วิธีการให้คะแนนสอบ และการ                ให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
1. ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
2. เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์