จิตวิทยาองค์การ

Organizational Psychology

1. เข้าใจกระบวนการบริหารในองค์การ
2. เข้าใจพฤติกรรมของบุคคลในองค์กร
3. เข้าใจหลักการและเทคนิคในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร
4. นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการพัฒนาองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารงานและทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร เข้าใจพฤติกรรมและความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการติดต่อสื่อสาร การให้ความร่วมมือ และ ประสิทธิภาพในการทำงาน การจัดสภาพแวดล้อมและสุขภาพที่ดีในการทำงาน รวมทั้งวิธีการจูงใจในการทำงาน อันทำให้เกิดทัศนคติที่ดีและความพึงพอใจในการทำงานในองค์กร
ศึกษาเกี่ยวกับความหมายและขอบข่ายของวิชาจิตวิทยาองค์การ ระบบองค์การ พฤติกรรมของบุคคลในองค์การ สภาพแวดล้อมในการทำงาน การบริหารการทำงานเป็นทีม การสรรหา การคัดเลือก การพัฒนาบุคลากร
-อาจารย์ผู้สอน แจ้งวันและเวลาว่างในการให้คำปรึกษา พร้อมทั้งเบอร์โทรศัพท์ และ E-mail address ให้นักศึกษาทราบในชั้นเรียนชั่วโมงแรก เพื่อความสะดวกในการติดต่อ
พัฒนาผู้เรียนให้รู้จักหลักการในการจัดองค์กร เข้าใจกลยุทธ์และเทคนิคการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร การติดต่อสื่อสาร การตัดสินใจในการทำงาน การทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำในการบริหารงานและทรัพยากรมนุษย์ การสร้างมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน การสร้างแรงจูงใจและ สิ่งล่อใจในการทำงาน ทัศนคติและความพึงพอใจในการทำงาน รวมทั้งสภาพแวดล้อมและสุขภาพในการทำงาน โดยมีคุณธรรมและจริยธรรม ดังนี้
1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1 การบรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับจรรยาบรรณในการทำงาน การจัดองค์การอย่างเป็นธรรม และโปร่งใส การสร้างมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น การทำงานเป็นทีม ความแตกต่างระหว่างบุคคลและการบริหารความขัดแย้ง
1.2.2 การอภิปรายและการวิเคราะห์บทความ
1.2.3 การวิเคราะห์สถานการณืจำลองจากภาพยนตร์และข่าวเหตุการณืปัจจุบัน
1.2.4 การจำลองการจัดตั้งองค์กร
1.3.1 ประเมินจากความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ การตรงต่อเวลา การให้ความร่วมมือ โดยพิจารณาจากพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน การส่งงาน และการทำกิจกรรมทั้งในและนอกชั้นเรียน
1.3.2 ประเมินผลจากการอภิปรายในชั้นเรียน
1.3.3 ประเมินจากวิธีการนำเสนองาน และสื่อที่ใช้ในการนำเสนอ
1.3.4 ประเมินจากความสมจริงและวิธีการแก้ปัญหาจากสถานการณ์จำลอง
1.3.4 ประเมินจากผลการประเมินการจัดตั้งองค์กรที่มอบหมาย
1.3.5 ประเมินจากผลการวิเคราะห์บทความและกรณีศึกษาที่มอบหมาย
ความรู้เกี่ยวกับความหมาย ขอบเขต และหลักการของจิตวิทยาองค์การ เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างบุคคลเชิงพฤติกรรม เข้าใจหลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทั้งในด้านการวางแผน การจัดองค์การ การจัดบุคลากรเข้าทำงาน การสั่งงาน การควบคุม การรายงานผลการปฏิบัติงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน การจ่ายค่าตอบแทน การติดต่อสื่อสารในองค์การ การทำงานเป็นทีม กลยุทธ์และเทคนิคในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร รวมทั้งสภาพแวดล้อมและสุขภาพในการทำงาน ดังนี้
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในเนื้อหาที่ศึกษาเกี่ยวกับหลักการของจิตวิทยาองค์การ
การบริหารงาน กลยุทธ์และเทคนิคในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร
2.1.2 สามารถบูรณาการความรู้ทางจิตวิทยาองค์การ กับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้
แบบบรรยาย การวิเคราะห์และอภิปรายกรณีศึกษาและค้นคว้าบทความที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานขององค์กรที่ประสบความสำเร็จ โดยนำมาสรุปและอธิปรายร่วมกัน มีการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Center) และการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ( Problem base Learning) จากสถานการณ์จำลอง
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2 การนำเสนอและรายงานผลการจัดตั้งองค์กร
2.3.3 การสัมภาษณ์ผู้นำองค์กรที่ประสบความสำเร็จ
2.3.4 การแสดงบทบาทสมมติการสัมภาษณ์งาน
2.3.5 การนำเสนอแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์
2.3.6 ความสมบูรณ์ถูกต้องของงานที่มอบหมาย
2.3.7 การนำเสนอและการอภิปรายผลการศึกษาบทความและข้อมูลการบริหารงานขององค์กรที่ประสบความสำเร็จ
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
การสอนวิชาจิตวิทยาองค์การ ช่วยให้นักศึกษาคิดและวิเคราะห์การจัดการองค์กร และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทั้งในด้านการวางแผน การจัดองค์การ การจัดบุคลากรเข้าทำงาน การสั่งงาน การควบคุม การรายงานผลการปฏิบัติงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน การจ่ายค่าตอบแทน การติดต่อสื่อสารในองค์การ การทำงานเป็นทีม การสร้างแรงจูงใจและสิ่งล่อใจ การสร้างทัศคติที่ดีและความพึงพอใจในการทำงาน การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี รวมทั้งการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและพัฒนาสุขภาพที่ดีในการทำงาน ดังนี้
1. ศึกษาค้นคว้า เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
2. วิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปความคิดรวบยอดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ
3. ประยุกต์ทักษะความเข้าใจในเนื้อหาสาระทางวิชาการและวิชาชีพได้เหมาะสมตามสถานการณ์
3.2.1 การบรรยายประกอบการใช้สื่อการสอน
3.2.2 การอภิปราย โดยใช้กรณีศึกษาจากข่าว เหตุการณ์ปัจจุบัน โฆษณา และการบริหารงานขององค์กรต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จ
3.2.3 กิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา เช่น การสัมภาษณ์งาน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน
3.2.4 กิจกรรมการจำลองการจัดตั้งองค์กรในรูปแบบต่างๆ
3.2.5 กิจกรรมกสนจัดทำแฟ้มสะสมผลงานอิเล้กทรอนิกส์และบันทึกลงสื่อดิจิทัล เพื่อใช้ประกอบการคัดสรรเข้าสู่สถานประกอบการ
3.2.6 การศึกษาประสบการณ์การบริหารงานของผู้นำองค์กรที่ประสบความสำเร็จ
3.3 วิธีการประเมินผล
3.3.1 การสังเกต
3.3.2 การสัมภาษณ์
3.3.3 การแสดงความคิดเห็น
3.3.4 การนำเสนอและรูปเล่มรายงาน
3.3.5 การอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
3.3.6 การจำลองการจัดตั้งและการบริหารองค์กรธุรกิจและอุตสาหกรรม
3.3.7 การนำเสนอแฟ้ทสะสมผลงารอิเล็กทรอนิกส์ในรูปของสื่อดิจิทัล
3.3.8 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์
3.3.9 การซักถาม
4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2 มีภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์ที่เรียนมาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
โดยการพัฒนาทักษะต่างๆ ต่อไปนี้
- การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
- การเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย และส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด
- เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
- การทำงานเป็นทีม การเป็นผู้นำและผู้ตามที่มีประสิทธิภาพ
- จิตสาธารณะและทำประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม
4.2.1 การสอนโดยการวิเคราะห์และอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน โดยผ่านโปรแกรม Microsoft Tearms
4.2.2 การศึกษาสถานการณ์จำลองในการสัมภาษณ์งาน โดยให้นักศึกษาแสดงบทบาทสมมติใน เพื่ออภิปรายและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน โดยผ่านโปรแกรม Microsoft Tearms
4.2.3 กิจกรรมการจำลองการบริหารงานและทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรรูปแบบต่างๆ
4.2.4 การวิเคราะห์การสัมภาษณ์ประสบการณ์การบริหารงานของผู้นำองค์กรที่ประสบความสำเร็จ
4.3.1 สังเกตความสนใจ ความตั้งใจ และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
4.3.2 ความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายและส่งตรงเวลาที่กำหนด
4.3.3 การแสดงความคิดเห็นและอภิปรายประสบการณ์จากการจัดตั้งองค์กรและการสัมภาษณ์ผู้นำองค์กรต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จ
4.3.4 การแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์จำลอง
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- พัฒนาทักษะการใช้ Internet โดยการสืบค้นข้อมูลการบริหารงานและทรัพยากรมนุษย์จากผู้นำที่ประสบความสำเร็จ
- พัฒนาทักษะการเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งสืบค้นต่างๆ
- มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการทำงานและการนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม รวมทั้งสามารถหา เว็บไซด์ที่ให้ข้อมูลที่ต้องการศึกษาได้
- พัฒนาทักษะในการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
- พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.2.1 มอบหมายให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานและทรัพยากรมนุษย์จากผู้นำที่ประสบความสำเร็จ และที่มีชื่อเสียงทางอินเตอร์เน็ตด้วยตนเอง จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2 การนำเสนอรายงาน โดยใช้สื่อ รูปแบบ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสม
5.2.3 การนำเสนอด้วยการบรรยายผ่านโปรแกรมออนไลน์
5.3.1 การนำเสนอผลงานและการรายงานผล โดยพิจารณาเนื้อหาและความถูกต้องของภาษาที่ใช้
5.3.2 การมีส่วนร่วมในการอภิปรายในชั้นเรียน
5.3.3 สื่อ รูปแบบ และเทคโนโลยีที่เลือกใช้ในการนำเสนอข้อมูล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หมวด 4 (2.1, 3.1) หมวด 4 (2.1, 3.1) สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 17 20% 20%
2 หมวด 4 (1.1, 3.1, 4.1) การเข้าชั้นเรียน - การซักถาม - การตอบคำถาม การตั้งใจเรียน -การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม -การแสดงความคิดเห็น -ความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 หมวด 4 (3.1, 4.1, 5.1) การแสดงบทบาทสมมติการสัมภาษณ์งาน -การอภิปราย -การนำเสนอรายงาน/แฟ้มสะสมผลงานอิเล้กทรอนิกส์ -การโต้วาที -การวิเคราะห์กรณีศึกษา -การสัมภาษณ์ผู้นำทีประสบความสำเร็จ ตลอดภาคการศึกษา 30%
4 หมวด 4 (3.1, 4.1, 5.1) การนำเสนอการจัดตั้งองค์กรในรูปแบบต่างๆ 17 10%
วิภาดา ญาณสาร. (2561). จิตวิทยาองค์การ. เอกสารประกอบการสอนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่.
 
กรองแก้ว อยูสุข. (2538). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชูชัย สมิทธไกร. (2554). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. (25551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชัน.
ธงชัย สันติวงษ์. (2540). องค์การและการจัดการ:ทันสมัยยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ :
ไทยวัฒนาพาณิช.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
สมศักดิ์ ประเสริสุข. (2554). จิตวิทยาการจัดการองค์การอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
สมคิด บางโม. (2551). องค์การและการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.
สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. (2541). พฤติกรรมองค์การ : ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สิริอร วิชชาวุธ. (2549). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2549). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่:แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ :
ซีเอ็ดยูเคชัน.
สุธรรม รัตนโชติ. (2552). พฤติกรรมองค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ท้อป.
Davis, K. & Newstom, J.W. (1989). Human behavior at work : Organizational behavior.
(8th ed). New York : McGraw Hill.
Gary, J. (1996). Organizational behavior : Understanding and managing life at work. (4th ed). New York : Harper Collins.
Gibson, J.L. Ivancevich. J.M.,&Donnelly, J.H. (1997). Organizations, behavior, structure, processes. (9th ed). Boston : Mc Graw Hill.
Marcic, D. & Seltzer, J.(1998). Organizational behavior : Experiences and cases. (5th ed). Cincinnati, OH :South Western College
- เว็บไซด์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทางจิตวิทยาองค์การ
- www.psychologytoday.com
- www.siop.org
- www.socialpsychology.org/io.htm
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 นักศึกษาประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหา วิธีการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อสนับสนุนการเรียนการสอน และการให้ข้อเสนอแนะของนักศึกษา โดยนักศึกษาประเมินผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัย
1.2 นักศึกษาเสนอแนะกิจกรรมการเรียนการสอนในสัปดาห์แรกของการเรียน
1.3 นักศึกษาประเมินการเรียนการสอนของผู้สอนในสัปดาห์สุดท้าย
1.4 นักศึกษาประเมินความพึงพอใจในกิจกรรมต่างๆ ที่สอดแทรกในบทเรียน
1.5 นักศึกษาประเมินการนำเสนอของเพื่อนที่นำเสนอหน้าชั้นเรียน
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีวิธีการดังนี้
สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจเรียน การมีส่วนร่วมในการเรียน และการอภิปรายกลุ่มใน
ชั้นเรียน
2.2 สังเกตจากการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
2.3 ประเมินผลจากการนำเสนอและผลงานที่ได้รับมอบหมาย
2.4 ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
การปรับปรุงการสอนวิชานี้ คือ
3.1 ปรับปรุงเอกสาร เนื้อหา ตำรา สื่อการสอน ให้มีความทันสมัย ทันต่อปัญหาและเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาองค์การ
3.2 ให้นักศึกษาศึกษาความรู้ทางจิตวิทยาองค์การเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้จากข่าว กรณีศึกษาขององค์กรต่างๆ และประสบการณ์การทำงานของผู้นำที่ประสบความสำเร็จ
3.3 นำผลการประเมินที่ได้จากนักศึกษามาปรับปรุง พัฒนาการเรียนการสอนให้ดีขึ้น
3.4 จัดให้มีการสัมมนาการจัดการเรียนการสอนหรือให้คณาจารย์ได้เข้ารับการอบรมแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อร่วมกันหาแนวทางหรือวางแผนการพัฒนารายวิชาให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น
3.5 สนับสนุนการทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา การวิเคราะห์บทความของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 สังเกตการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการเรียนและการใช้ชีวิต การมีวินัย ความรับผิดชอบในการเรียนและการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงตามเวลาที่กำหนด
4.2 ระหว่างมีการเรียนการสอน ผู้สอนตรวจสอบความก้าวหน้าของนักศึกษาแต่ละคนจากงานที่มอบหมาย โดยผู้สอนแจ้งผลการวัดและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และหาแนวทางการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ร่วมกัน
4.3 มีการจัดตั้งคณะกรรมการในแผนก/สาขา เพื่อตรวจสอบ ประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ผู้สอน และผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบจากวิธีการออกข้อสอบ วิธีการวัดและประเมินผลที่อิงการให้น้ำหนักคะแนนและเกณฑ์ที่ผ่านในรายย่อย
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 แผนกวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยผู้เรียน และคณะกรรมการที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์ในการสอนที่ใช้ และนำเสนอต่อสาขาวิชา และคณะกรรมการบริหารหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง โดยให้ข้อคิดเห็นและสรุปวางแผน พัฒนาปรับปรุงพร้อมนำเสนอต่อแผนกวิชา/สาขา/คณะ เพื่อใช้ในการสอนครั้งต่อไป
5.2 วิชาจิตวิทยาองค์การ ต้องปรับปรุง เอกสาร ตำรา เนื้อหา กิจกรรมการสอน และสื่อการสอน ทุก 2 ปี เพราะปัญหาทางสังคมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
5.3 เชิญวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้ความรู้แก่นักศึกษาเพิ่มเติมหรือมีการค้นคว้าสื่อที่นำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเนื้อหาอย่างละเอียด ลึกซึ้ง และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้