มนุษยสัมพันธ์

Human Relations

1.  เข้าใจทฤษฎีและเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวิชามนุษยสัมพันธ์        2.  เข้าใจและสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของตนเองและผู้อื่น สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้        3.  เข้าใจสถานการณ์ปฏิบัติงาน โดยใช้มนุษยสัมพันธ์ของผู้นำ        4.  เข้าใจมนุษยสัมพันธ์ตามพื้นฐานวัฒนธรรมไทย และแนวคิดของพุทธศาสนา       5. นำหลักและวิธีการในวิชามนุษยสัมพันธ์ไปใช้ในการทำงาน การครองเรือน และชีวิตประจำวัน       6. เห็นคุณค่า และความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์  เป็นการเตรียมความพร้อมในการปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นในสังคม พัฒนาบุคลิกภาพ ให้เหมาะสมเพื่อก้าวสู่อาชีพ ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิงให้ทันสมัยกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคโลกาภิวัตน์  และสอดคล้องกับบริบทบนพื้นฐานของสังคมไทย
ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติและพฤติกรรมของมนุษย์ ทฤษฎีที่เกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์การใช้ชีวิตประจำวัน การทำงานและการเป็นผู้นำ การสื่อสารเพื่อสร้างมนุษย์สัมพันธ์ตามพื้นฐานวัฒนธรรมไทยและสากล
- อาจารย์ประจำรายวิชาให้นักศึกษาติดต่อโดยตรงและให้ติดต่อผ่านทาง e-mail เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษานอกชั้นเรียน และสื่อสาร นัดหมายงานต่าง ๆ โดยเฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์      - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ 1 ชั่วโมง
พัฒนาผู้เรียนให้เห็นคุณค่าและความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์ เข้าใจตนเองและเข้าใจผู้อื่น       และทราบหลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยมีพื้นฐานวัฒนธรรมไทยและแนวคิดตามหลัก      พุทธศาสนา ทำให้สามารถปรับตน ปรับใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์      เป็นที่ชื่นชอบและชื่นชมของบุคคลทั่วไป โดยมีคุณสมบัติดังนี้               1. ตระหนักและเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น               2. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมอย่างสมานฉันท์               3. เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์               4. ตระหนักในความสำคัญและความจำเป็นของคุณธรรม จริยธรรม การเสียสละ ความซื่อสัตย์                   สุจริต การมีวินัย เคารพกฎระเบียบกติกาของสังคม               5. มีภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
 - บรรยายพร้อมซักถาม  - อภิปรายกลุ่ม  - รายงานกลุ่ม/นำเสนอผลงาน  - วิจารณ์  - กรณีศึกษา  -  ฝึกปฏิบัติ  -  ใช้สื่อการสอน เช่น power-point , Clip , วีดีทัศน์ และอื่น ๆ
- เข้าเรียนตรงเวลา - ส่งงานตามที่กำหนด - มีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน - ประเมินผลจากการอภิปรายกลุ่ม การแสดงบทบาทสมมติของนักศึกษา - ประเมินจากการนำเสนอโดยใช้โปรแกรม Power point - ประเมินจากรูปเล่มรายงานที่ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงานและต้องมีเอกสารอ้างอิงอย่างน้อย    5 เล่ม
2.1   มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา      2.2   สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา      2.3   สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง                  เข้าใจทฤษฎีและเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวิชามนุษยสัมพันธ์   เข้าใจและสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของตนเองและผู้อื่น สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้   เข้าใจสถานะและการปฏิบัติงาน โดยใช้มนุษยสัมพันธ์ของผู้นำ  เข้าใจมนุษยสัมพันธ์ตามพื้นฐานวัฒนธรรมไทย และแนวคิดของพุทธศาสนา นำหลักและวิธีการในวิชามนุษยสัมพันธ์ไปใช้ในการทำงาน การครองเรือน และชีวิตประจำวัน เห็นคุณค่า และความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์
บรรยายการเรียนรู้จากการทำงาน การเรียนรู้แบบแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง การทำงานกลุ่ม       การนำเสนอหน้าชั้น การอภิปรายกลุ่ม  การวิเคราะห์  การฝึกปฏิบัติ   ตามหัวข้อที่เรียน พร้อมทั้งใช้        สื่อจาก  www ,  Clips  และสื่อ IT  อื่น ๆ โดยเน้นการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน       (Student Center) และการเรียนโดยการแก้ปัญหา (Problem base Learning)
 -  ทดสอบย่อยเป็นรายหน่วย  -  การนำเสนอในชั้นเรียน  -  วิเคราะห์แนวคิดจากกรณีศึกษา  -  วิเคราะห์ในชั้นเรียน  แก้ไข
3.1.1  มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ               3.1.2  มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ                  การสอนวิชามนุษยสัมพันธ์ ช่วยให้นักศึกษาเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น รู้จักคิดวิเคราะห์แบบโยนิโสนมสิการ ไม่ฟังอะไรแล้วตัดสินแต่ต้องหาข้อมูลและฟังแนวคิดของคนอื่น ๆ  ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี  เข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม  โดยเฉพาะในบริบทของสังคมไทยปัจจุบัน 
-  ให้นักศึกษาทำงานกลุ่มแบ่งหน้าที่กันทำงานและนำเสนอผลงาน โดยส่งรูปเล่มรายงาน         ก่อนรายงาน 1 สัปดาห์ และนำเสนอรายงานในรูป Power point -  ให้นักศึกษาดู Clip แล้วร่วมวิพากษ์ วิเคราะห์เชิงสร้างสรรค์ -  กรณีศึกษา -  การสะท้อนแนวคิดจากความประพฤติและการเปลี่ยนแปลงเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์
-  สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา -  วัดผลจากการประเมินการนำเสนอรายงานการศึกษาด้วยตนเองในภาพรวม พร้อมข้อคิดเห็นที่ได้รับ -  การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมของนักศึกษา - รูปเล่มรายงาน ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงาน เนื้อหาครบถ้วน - สอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา 
4.1.1   มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.1.2   มีภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.1.3   สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.1.4   สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม                        -  พัฒนาทักษะการเป็นผู้นำและผู้ตาม รวมทั้งการทำงานเป็นทีม                        -  พัฒนาทักษะการเคารพสิทธิของผู้อื่น                        -  พัฒนาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  การให้เกียรติซึ่งกันและกัน สิทธิมนุษยชนและความเหลื่อมล้ำระหว่างเพศ
4.2.1   จัดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม 4.2.2   กำหนดปฎิทินเวลานำเสนอ 4.2.3   ผู้สอนและนักศึกษาช่วยกันเสริมเนื้อหาให้ครบถ้วน โดยใช้ Power point ของผู้สอนสรุป           เพื่อเพิ่มเนื้อหาให้ครอบคลุม 4.2.4  ประเมินตนเอง ประเมินผู้อื่น ตามแบบสอบถามที่ผู้สอนกำหนด พร้อมนำข้อบกพร่อง           มาปรับแก้               4.2.5  วิเคราะห์แนวคิดจากกรณีศึกษา
4.3.1  ให้เพื่อนนักศึกษาช่วยกันประเมินตามแบบประเมินการนำเสนอ 4.3.2  ครูประเมินตามแบบการนำเสนอ 4.3.3  สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน 4.3.4  แบบฝึกหัด
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา 
5.1.1  พัฒนาทักษะการใช้ Internet โดยการสืบค้นข้อมูลจาก website, clips, งานวิจัย, บทความวิชาการ 5.1.2  พัฒนาทักษะการเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งสืบค้นต่าง ๆ  โดยเฉพาะการใช้สื่อจาก  Internet
5.2.1  ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเนื้อหาเพิ่มเติมจากเว็บไซค์ หรือสื่ออื่น ๆ เช่น CD, VCD, วีดีทัศน์           เทปเสียง, โทรทัศน์     5.2.2   การนำเสนอรายงานทุกครั้งให้ใช้ Computer และ Power point  และ/หรือ clips
5.3.1   ดูจากการทำ Power point นำเสนอผลงาน        5.3.2   จากการใช้ Internet สืบค้นข้อมูล 5.3.3   จากการมีส่วนร่วมในการอภิปราย เทคนิคการนำเสนอ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 GEBSO104 มนุษยสัมพันธ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ 2. หลักจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับมนุษยสัมพันธ์ 3. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแรงจูงใจ 4. ผู้นำกับมนุษยสัมพันธ์ ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สัปดาห์ ที่ 7 10%
2 5. การสื่อความหมาย 6. มนุษยสัมพันธ์กับหลักจริยธรรมในพุทธศาสนา 7. การปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น 8. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย 9. การฝึกอบรมเพื่อมนุษยสัมพันธ์ ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สัปดาห์ที่ 16 10%
3 1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ 2. หลักจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับมนุษยสัมพันธ์ 3. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแรงจูงใจ 4. ผู้นำกับมนุษยสัมพันธ์ สอบกลางภาค สัปดาห์ที่ 8 20%
4 5. การสื่อความหมาย 6. มนุษยสัมพันธ์กับหลักจริยธรรมในพุทธศาสนา 7. การปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น 8. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย 9. การฝึกอบรมเพื่อมนุษยสัมพันธ์ สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 17 30%
5 2. หลักจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับมนุษยสัมพันธ์ 3. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแรงจูงใจ 4. ผู้นำกับมนุษยสัมพันธ์ 5. การสื่อความหมาย 6. มนุษยสัมพันธ์กับหลักจริยธรรมในพุทธศาสนา 7. การปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น รายงานโดยใช้ Power point ตลอดภาคการศึกษา 10%
6 5. การสื่อความหมาย 6. มนุษยสัมพันธ์กับหลักจริยธรรมในพุทธศาสนา 7. การปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น 8. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย 9. การฝึกอบรมเพื่อมนุษยสัมพันธ์ วิเคราะห์กรณีศึกษา / ค้นคว้า / การนำเสนอ ตลอดภาคการศึกษา 10%
7 4. ผู้นำกับมนุษยสัมพันธ์ 5. การสื่อความหมาย 6. มนุษยสัมพันธ์กับหลักจริยธรรมในพุทธศาสนา 7. การปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น การเข้าชั้นเรียน, จิตพิสัย การมีส่วนร่วมอภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
วิมล  เหมือนคิด.  มนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2543.       นพมาศ  ธีรเวคิน.  ทฤษฎีบุคลิกภาพและการปรับตัว.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2540.       สุจิตรา  พรมนุชาธิป.  มนุษยสัมพันธ์.  กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2543. 
-  หนังสือพิมพ์  และตำราเรียนที่เกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์
-  เว็บไซค์ที่เกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์  Clips จาก You Tube, วีดิทัศน์, โทรทัศน์
การประเมินผลรายวิชานี้จัดทำโดยนักศึกษา                      1.1  นักศึกษาเป็นผู้ทำแบบประเมินการนำเสนอ              1.2  นักศึกษาเป็นผู้เสนอแนะกิจกรรมในการเรียนการสอน
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้                      2.1  สังเกตจากการมีส่วนร่วมในการเรียนในการอภิปรายกลุ่มใหญ่                      2.2  สังเกตจากการทำกิจกรรมในชั้นเรียน                      2.3  ประเมินจากผลการนำเสนอ                       2.4  ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
การปรับปรุงการสอนวิชานี้ คือ                        3.1  แก้ไขเนื้อหาให้มีความทันสมัย ทันเหตุการณ์เสมอ ยกตัวอย่างกรณีศึกษาให้ทันสมัยโดยเฉพาะข่าวสารที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน                       3.2  ให้นักศึกษาเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้                       3.3  ทำวิจัยนอกชั้นเรียน 
ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม ผู้สอนตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคน และแจ้งผลการได้รับคะแนนเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
5.1  วิชามนุษยสัมพันธ์ ต้องปรับปรุงเนื้อหาทุก 3 ปี เพราะมีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดต่าง ๆ          5.2  เชิญวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้ความรู้          5.3  ให้นักศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนามหาวิทยาลัย พัฒนาชุมชนและสังคม