วาดภาพสร้างสรรค์เพื่องานออกแบบ

Creative Drawing for Design

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการวาดภาพสร้างสรรค์ มโนทัศน์ จินตนาการต่อการออกแบบ กระบวนการสร้างสรรค์
2. นักศึกษามีทักษะและเทคนิคในวิธีการสร้างสรรค์ในรูปแบบต่างๆ และแนวทางในการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์
3. เพื่อใช้ความคิดสร้างสรรค์ทำการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสารรค์ให้มีรูปแบบและประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะสม สามารถผลิตได้
4. ฝึกปฏิบัติการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้
         เพื่อให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของรายวิชา มีเนื้อหาในการเรียนการสอนที่ปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสม ตามยุคสมัย
ฝึกปฏิบัติวาดภาพสร้างสรรค์ผลงาน ถ่ายทอดแนวความคิดด้วยเทคนิคการเขียนภาพในรูปแบบต่างๆให้เหมาะสมกับการสร้างสรรค์จากแรงบันดาลใจในการออกแบบ
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา แจ้งให้นักศึกษาทราบเกี่ยวกับห้องทำงาน  ตารางสอนเวลาว่างในแต่ละสัปดาห์
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
  พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
      1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต กตัญญูและเที่ยงธรรม
      2. มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบหน้าที่  มีความมุ่งมั่นในการทำงานให้สำเร็จ
      3. สุภาพอ่อนน้อม ถ่อมตน รู้จักกาละเทศะ ใจกว้าง เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
      4. มีน้ำใจ มีจิตอาสา จิตสาธารณะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
      5. มีความพอเพียง
      6. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
      7. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
   1.2.1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างเกี่ยวกับประเด็นทางคุณธรรม และ จริยธรรม
   1.2.2 อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
   1.2.3 สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับด้านคุณธรรม จริยธรรมเกี่ยวกับวิชาชีพในการครองตนและการศึกษาระหว่างสอน
   1.2.4 สอดแทรกประสบการณ์ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพและผลกระทบของการละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญาที่อาจเกิดขึ้นโดยนักออกแบบที่ไร้จรรยาบรรณ
   1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
   1.3.2   พฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียนและกิจกรรมที่สาขาฯจัดขึ้น
   1.3.3   สังเกตพฤติกรรมการทำงานเดี่ยวและกลุ่ม ร่วมกัน การแก้ปัญหา การเสียสละการบริหารจัดการงานส่วนรวม
   1.3.4   มีการตกลงกับนักศีกษาในครั้งแรกของการเรียน เรื่องระเบียบการเข้าชั้นเรียน โดยหากว่ามาช้ากว่าที่กำหนด 15 นาที ถือว่ามาสาย เข้าชั้นเรียนสาย 3 ครั้งถือว่าขาด 1 ครั้ง หากขาดเกิน 3 ครั้ง หมดสิทธิ์สอบ
2.1.1 มีความรู้ความเข้าใจหลักการเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ
2.1.2 มีความรู้เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากโจทย์ที่ได้รับมอบหมายได้
2.1.3 นำความรู้เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์มาทำหุ่นจำลอง    
2.1.4 นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการออกแบบมาทำการออกแบบและผลิตจริง เลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยในงานออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์และนำเสนอผลงาน
      
         1. เน้นการเรียนการสอนที่เป็น active learning
         2. จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง
         3. สาธิตการผลิตผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์
         4. นักศึกษาฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง
         5. บรรยายในชั้นเรียน ยกตัวอย่างและให้ปฏิบัติงาน
        2.3.1  การนําเสนอหน้าชั้นเรียนการสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
        2.3.2  ประเมินจากรายงานการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษา
        2.3.3  ประเมินจากการวิเคราะห์กรณีศึกษา
        2.3.4  ประเมินจากพฤติกรรมการทํางานอื่นๆ
พัฒนาความสามารถในการคิดเชิงสร้างสรรค์ พร้อมไปกับการคิดวิเคราะห์ตามหลักการและเหตุผล เพื่อให้การสร้างสรรค์นั้นตอบสนองการใช้งานจริง เทคนิคในการพูดในการอธิบายการนำเสนองานออกแบบ
   3.2.1  บรรยาย และการให้นักศึกษาปฏิบัติโครงงานที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา
   3.2.2  ฝึกตอบคำถามในชั้นเรียนแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา ระดมสมองในการแก้ปัญหา
   3.2.3  มอบหมายงานเดี่ยวและงานกลุ่ม
   3.2.4  การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
    3.3.1  ผลงานตลอดภาคเรียน
    3.3.2  การนําเสนอผลงาน
    3.3.3  การใช้ข้อสอบหรือแบบฝึกหัดที่ให้นักศึกษาคิดแก้ปัญหา
   4.1.1  พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
   4.1.2  พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
   4.2.1   มอบหมายงานรายกลุ่มเพื่อให้นักศึกษาได้ทำงานกับผู้อื่น และรายงานรายบุคคล
   4.2.2   กำหนดหน้าที่รับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนให้ชัดเจน
   4.2.3   การนำเสนอรายงาน
   4.3.1  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  การมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม
   4.3.2  ประเมินจากงานที่มอบหมาย  
   5.1.1  ทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
   5.1.2  พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง  การเขียน โดยทำรายงานการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
   5.1.3  พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
   5.1.4  ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
   5.2.1  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ โดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
   5.2.2  นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
   5.2.3  ใช้ Power Piont บรรยาย
            -  ฝึกทักษะการวิเคราะห์และแก้ปัญหาในกรณีเหตุการณ์สมมติ
            -  การแนะนำเทคนิคการสืบค้นและคัดเลือกแหล่งข้อมูล
   5.3.1  ตรวจสอบความถูกต้องของแนวคิด และวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้พื้นฐานความรู้ที่เรียนมา
   5.3.2  จากผลการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
   5.3.3  ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
   5.3.4  ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
   6.1.1 มีทักษะในการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ สุนทรียศาสตร์ ภาพลักษณ์ อัตลักษณ์ สิ่งแวดล้อมและนวัตกรรม
   6.1.2 มีทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ในการนำไปใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์
   6.1.3  มีทักษะในการวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการในผลงานของตนเองและผู้อื่นเพื่อนำไปสู่การประยุกต์ในงานออกแบบได้ฟฟฟฟฟฟ
   6.2.1 บรรยายประกอบการยกตัวอย่างด้วยสื่อการสอนมัลติมีเดีย สาธิต การคิดวิเคราะห์ ถาม ตอบในชั้นเรียน
   6.2.2 มอบหมายงฟานให้ไปปฏิบัติงานในการออกแบบเพื่อฝึกทักษะ
   6.2.3 วิเคราะห์ วิพากษ์ผลงานของนักศึกษาแต่ละชิ้น เพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกันในชั้นเรียน
    ประเมินจากผลงานที่ได้ปฏิบัติงานของนักศึกษาที่ได้รับมอบหมาย ตามกระบวนการปฏิบัติงานและการนำเสนอผลงาน 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 3
1 BAAID107 วาดภาพสร้างสรรค์เพื่องานออกแบบ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ความรู้ - มีความรู้ ทักษะความสามารถในการวาดภาพสร้างสรรค์เพื่องานออกแบบผลิตภัณฑ์ 1. สอบกลางภาค สอบปลายภาค 2. คะแนนจากการประเมินงานที่ได้รับมอบหมาย 1 - 17 60 %
2 ด้านคุณธรรม จริยธรรม 1) ประเมินจากพฤติกรรมของผู้เรียน เช่น การเข้าชั้นตรงเวลา ส่งงานตรงเวลาและครบถ้วน การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียนอย่างผู้มีความรับผิดชอบ เป็นต้น 2) การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียนและการส่งรายงาน3) ประเมินการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น โดยนักศึกษาอื่นๆ ในรายวิชา 4) นักศึกษาประเมินตนเอง สัปดาห์ที่ 1-17 10 %
3 ด้านทักษะทางปัญญา 1) ประเมินจากการวาดภาพสร้างสรรค์เพื่องานออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ที่ตอบสนองต่อปัญหาและการนำเสนอในชั้นเรียน ทั้งรายบุคคลและกลุ่ม 2) ความก้าวหน้าในงานที่ได้รับมอบหมาย 3) Sketch Design, Product Design สัปดาห์ที่ 1-17 10%
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 1) สังเกตการณ์ร่วมกิจกรรมกลุ่มของผู้เรียน 2) ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ความรับผิดชอบของนักศึกษาจากงานที่ได้รับมอบหมาย 3) ให้นักศึกษาประเมินสมาชิกในกลุ่ม ทั้งด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สัปดาห์ที่ 1-17 10 %
5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี 1) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สะท้อนความรู้ความคิด ความเข้าใจผ่านสื่อเทคโนโลยีแบบต่าง ๆ 2) สังเกตพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีในระหว่างร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ในชั้นเรียน หรือขณะร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้น สัปดาห์ที่ 1-17 10 %
พิเชษฐ สุนทรโชติ และฆนา วีระเดชะ.(2559). เอกสารการเรียนวาดเส้น.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนดุสิต. วิรุณ ตั้งเจริญ. (2527). การออกแบบ. กรุงเทพฯ : วิฌวลอาร์ต.  
 
กำจร สุนพงษ์ศรี. (2555). สุนทรียศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิระพัฒน์ พิตรปรีชา. (2545). โลกศิลปะศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
ชลูด นิ่มเสมอ. (2534). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2546). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประเสริฐ ศิลรัตนา. (2525). การวาดเขียน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
วัชรพงศ์ หงษ์สุวรรณ. (2547). วาดเส้น. กรุงเทพฯ : วาดศิลป์.
อารี พันธ์มณี. (2543). คิดอย่างสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ.
 
 
 
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2531). สาระน่ารู้ในศิลปะ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
__________. (2527). ศิลปะร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : วิฌวลอาร์ต.
ศุภพงษ์ ยืนยง. (2547). หลักการเขียนภาพ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
สมโภชน์ ทองแดง. (2542). วาดเส้นเทคนิคและการสร้างสรรค. ์ กรงเทพฯ ุ : คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
สมโภชน์ อุปอินทร์. (2532). “การวาดเส้นหรือวาดภาพ” 113 ครีเอท วาดเส้นเอ็นทร้านซ์. ม.ป.ท.
 
            ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับและเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชาด้วยการประเมินการจัดการเรียนการสอนประจำภาคเรียน และการประเมินผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
  2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้สอนร่วม
  2.2   การประเมินผลการเรียนของนักศึกษาโดยอาจารย์ผู้สอน
  2.3   การประเมินผลการเรียนและการปฏิบัติการของนักศึกษาโดยอาจารย์ผู้สอน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
   3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
   3.2 การนำผลงานวิจัยและงานบริการวิชาการ  งานสร้างสรรค์ มาบูรณาการกับการเรียนการสอน
   3.3 การนำผลประเมินจาก มคอ.5 และ มคอ.7 มาปรับปรุงในการเรียนการสอน
   3.4 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลกาทดสอบย่อยและหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
   4.1  ตรวจสอบความรู้ของนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ โดยการสอบถามนักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นระหว่างเรียน
   4.2   กลุ่มอาจารย์ผู้สอน ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบ วิธีการให้คะแนนสอบ ผลงานของนักศึกษา การให้คะแนนพฤติกรรมในการเรียนและการส่งงานของนักศึกษา
   4.3  อาจารย์ในสาขามีการประชุมหารือร่วมกันเพื่อทวนสอบการให้คะแนนของรายวิชา
หลักสูตรมีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจาก
-ผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา
-การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน
            ภายหลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินงานของรายวิชาเสนอต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตร เพื่อพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป