มนุษย์กับจริยธรรม

Man and Ethics

1.1. เพื่อให้รู้ความหมาย และความสำคัญของจริยธรรม
1.2. เพื่อให้รู้แนวความคิดทางจริยธรรมของนักปรัชญาและศาสนาที่สำคัญ
1.3. เพื่อให้เห็นประเด็นปัญหาทางจริยธรรมในสังคม
1.4. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ประเด็นปัญหาทางจริยธรรม และแนวทางการแก้ไขปัญหา
1.5. เพื่อให้ตระหนักเห็นความสำคัญของจริยธรรมต่อสังคม
เพื่อจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19่   ให้เป็นการสอนแบบออนไลน์ (microsoft team)
 
ศึกษาเกี่ยวกับความหมายและปัญหาทางจริยธรรม แนวความคิดทางจริยธรรมของนักปรัชญาและศาสนาที่สำคัญ การวิเคราะห์ประเด็นปัญหาทางจริยธรรมในสังคม
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ 1 ชั่วโมง
(เฉพาะรายที่ต้องการ)
- แจ้งตารางสอนส่วนตัวให้นักศึกษาทราบวัน เวลาว่างของอาจารย์ผู้สอน
- แจ้งหมายเลขโทรศัพท์ส่วนตัวและอีเมลล์ ของอาจารย์ผู้สอน
พัฒนาผู้เรียนให้รู้จักความหมาย ความสำคัญของคุณธรรม จริยธรรม หลักศีลธรรมของแต่ละศาสนา หลักธรรมสำคัญ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียน ดังนี้
1.1.1 มีจิตสำนึก ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม
1.1.2 มีจรรยาบรรณและจริยธรรมในวิชาชีพ
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.5 นำหลักธรรมสำคัญด้านจริยธรรมของแต่ละศาสนาไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2.1 บรรยายพร้อม นำเสนอด้วย Power Point และคลิปวีดีโอ กรณีศึกษา
1.2.2 ร่วมอภิปรายและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญในปัจจุบันเกี่ยวกับปัญหา
ทางจริยธรรมที่ปรากฏในสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ ละคร มิวสิควีดีโอ ภาพยนตร์
1.2.3 กิจกรรม ค้นหาต้นแบบแห่งจริยธรรม
1.2.4 ใบงาน พร้อมแบบฝึกหัดในชั่วโมงเรียน
1.2.5 กิจกรรมวิเคราะห์จริยธรรมในภาพยนตร์
1.2.6 โครงการ “พัฒนาจริยธรรม นำชีวิตยั่งยืน”
1.3.1 สังเกตการเข้าเรียนตรงเวลา มีความรับผิดชอบ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย รักษา
กฎระเบียบของห้องเรียน
1.3.2 ส่งงานที่มอบหมาย แบบฝึกหัดตามกำหนดระยะเวลาที่กำหนด
1.3.3 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่ม การทำใบงาน แบบฝึกหัด ระหว่างชั่วโมงเรียน
1.3.4 การศึกษาต้นแบบบุคคลผู้มีจริยธรรม แล้ววิเคราะห์จริยธรรม
1.3.5 ประเมินจากการสังเกต การมีจริยธรรม ของนักศึกษา ทั้งในและนอกห้องเรียน
1.3.6 ประเมินจากการวิเคราะห์จริยธรรมในภาพยนตร์
1.3.7 ประเมินจากรูปเล่มและการเข้าร่วมโครงการ “พัฒนาจริยธรรม นำชีวิตยั่งยืน”
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
นักศึกษามีความรู้เรื่องความหมาย ความสำคัญของจริยธรรม หลักคุณธรรมจริยธรรมของแต่ละศาสนา แนวคิดจริยธรรมของนักปรัชญา ศาสนา วิเคราะห์ปัญหาทางจริยธรรมในสังคม เข้าใจหลักจริยธรรมวิชาชีพ หลักจรรยาบรรณ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
 
 
บรรยาย ด้วย Power Point ประกอบคลิปวีดีโอและภาพตัวอย่าง การทำงานกลุ่ม การนำเสนอหน้าชั้นเรียน การอภิปรายกลุ่ม การวิเคราะห์ข่าว และสถานการณ์จริยธรรมปัจจุบันที่ปรากฏในสื่อต่าง ๆ เพื่อเป็นกรณีศึกษา เชื่อมโยงเข้าสู่เนื้อหาบทเรียน เปิดโอกาสให้นักศึกษาให้แสดงออก แสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระ โดยเป็นการสอนแบบเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลางการเรียน(Student Center) สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับในแต่ละชั่วโมง ตลอดถึงการออกพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์บุคคลต้นแบบผู้มีจริยธรรม
 
2.3.1 กิจกรรมวิเคราะห์ข่าวประจำวัน และสถานการณ์จริยธรรมในสังคมไทย สังคมโลกยุคปัจจุบัน
2.3.2 การร่วมทำกิจกรรมกลุ่มในชั่วโมงเรียน
2.3.3 การกล้าแสดงออก การแสดงความคิดเห็น การตอบคำถาม
2.3.4 ความสามารถของนักศึกษาในการเชื่อมโยงเหตุการณ์จริยธรรมในสังคม เข้ากับเนื้อหาที่เรียนรู้
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
การสอนวิชามนุษย์กับจริยธรรม จะทำให้นักศึกษาเป็นผู้ที่มีความคิดอย่างรอบคอบ มีสติปัญญา ตัดสินใจโดยหลักการและเหตุผล ไม่เชื่อในสิ่งที่ยังสามารถพิสูจน์ได้ มีความรู้คู่คุณธรรม มีกระบวนการคิดที่เป็นระบบโดยมีกรอบแห่งศีลธรรม หลักธรรมของแต่ละศาสนาเป็นหลักในการพิจารณากระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ การรู้จักใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหาชีวิตได้อย่างมีสติ พัฒนาคุณภาพชีวิตของตนให้ดีขึ้นอันจะก่อให้เกิดความสงบสุขให้แก่ทั้งตนเองและสังคม
3.2.1 บรรยาย พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา ให้นักศึกษาวิเคราะห์ร่วมกันกับผู้สอน
3.2.2 เชิญวิทยากรผู้มีความรู้ความสามารถ เป็นแบบอย่างของผู้มีจริยธรรม มาบรรยาย
3.2.3 กิจกรรมการส่งเสริมความคิดอย่างมีระบบ บนหลักแห่งศีลธรรมจริยธรรม
3.2.4 การวิเคราะห์สถานการณ์สมมติที่กำหนดให้ 
3.3.1 การแสดงความคิดเห็น การวิเคราะห์ของนักศึกษาที่มีต่อสถานการณ์จริยธรรมที่
ยกตัวอย่าง
3.3.2 การแสดงออกซึ่งความคิดอย่างเป็นระบบและอยู่บนพื้นฐานการตัดสินใจด้วย
จริยธรรม
3.3.3 ความสนใจ การสรุปองค์ความรู้จากวิทยากรผู้เป็นต้นแบบของผู้มีจริยธรรม
3.3.4 สอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2 มีภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
โดยสามารถพัฒนานักศึกษาให้เกิดทักษะได้ดังนี้
- พัฒนาทักษะการเป็นผู้นำและผู้ตาม รวมทั้งการทำงานเป็นทีม
- พัฒนาทักษะการเคารพสิทธิ และหน้าที่ ของตนเองและผู้อื่น
- พัฒนาทักษะความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคม
- พัฒนาทักษะการปรับตัวให้เข้ากับบุคคลอื่น สภาพแวดล้อมและชุมชน สังคม
- พัฒนาทักษะการให้ความสำคัญกับศักดิ์ศรี และการเห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์
- พัฒนาทักษะการนำจริยธรรม มาใช้ในการพัฒนาช่วยเหลือแก่สังคม
4.2.1 จัดการเรียนการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม การทำงานเป็นทีม จริยธรรมของผู้นำและผู้ตามที่ดี
4.2.2 กิจกรรมเสริมสร้างจริยธรรมในการทำงานเป็นทีม และการติดต่อสื่อสาร
4.2.3 กิจกรรมเสริมสร้างการมีมนุษยสัมพันธ์ และการพัฒนาตนเอง
4.2.4. กิจกรรมการเสริมสร้างจริยธรรมในการพัฒนาช่วยเหลือแก่สังคม
4.2.5 วิเคราะห์ปัญหาจริยธรรม สาเหตุ และการแก้ไขปัญหา
4.3.1 สังเกตการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้นเรียน การรู้จักใช้จริยธรรมในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น
4.3.2 แบบฝึกหัด ใบงานมอบหมาย และ กิจกรรมในชั้นเรียน
4.3.3 แบบทดสอบการทำงานเป็นทีม และการสร้างจริยธรรมในการทำงานเป็นทีม
4.3.4 สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนรวมของผู้เรียนในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
5.1.1 พัฒนาทักษะการใช้Internet โดยการสืบค้นข้อมูลจากการวิเคราะห์ข่าวด้านจริยธรรม จากหนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์และหนังสือพิมพ์อิเลคทรอนิกส์
5.1.2 พัฒนาทักษะการเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งสืบค้นต่างๆ อย่างมีจริยธรรม
5.1.3 พัฒนาความมีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อินเตอร์เนต อย่างถูกต้อง ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
5.1.4 พัฒนาทักษะการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีจริยธรรม ให้ความเคารพในสิทธิของผู้อื่น
5.1.5 พัฒนาทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างถูกต้องเหมาะสม ทั้งตนเองและผู้อื่น
5.2.1 ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเนื้อหา ด้านจริยธรรมจากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ สื่ออินเตอร์เน็ต เป็นต้น
5.2.2 ให้นักศึกษานำข้อมูลที่ได้รับจากสื่อสารสนเทศ มานำเสนอในชั้นเรียน
5.2.3 การนำเสนอรายงานทุกครั้งให้ใช้ Power point และการจัดทำรูปแบบการนำเสนอด้วยคลิปวีดีโอ
5.2.4 ให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ จริยธรรมในการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.2.1 ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเนื้อหา ด้านจริยธรรมจากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์
สื่ออินเตอร์เน็ต เป็นต้น
5.2.2 ให้นักศึกษานำข้อมูลที่ได้รับจากสื่อสารสนเทศ มานำเสนอในชั้นเรียน
5.2.3 การนำเสนอรายงานทุกครั้งให้ใช้ Power point และการจัดทำรูปแบบการนำเสนอด้วยคลิปวีดีโอ
5.2.4 ให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ จริยธรรมในการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.2.5 ให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ จริยธรรมในการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.2.6 ประเมินผลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อ จริยธรรมในการใช้สื่อเทคโนโลยี
สารสนเทศ
5.2.7 ทักษะในการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน ครูอาจารย์ บุคคลในครอบครัว
และสังคม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1,2.3,3.1,3.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 8 และ สัปดาห์ที่ 17 50 %
2 2.1,2.3,3.1 3.2 กิจกรรมแบบฝึกหัดในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 5 %
3 2.1-2.3 ค้นหาบุคคลต้นแบบผู้มีจริยธรรม สัปดาห์ที่ 4 5%
4 2.1-2.3 ,3.1-3.2 วิเคราะห์จริยธรรมในภาพยนตร์ สัปดาห์ที่ 11 10%
5 2.3,4.1-4.3, 5.4,5.5 การทำคลิปวีดีโอละคร “ปัญหาจริยธรรมในสังคมไทยและจริยธรรมวิชาชีพ” 14 10%
6 4.1-4.4 การจัดโครงการ “พัฒนาจริยธรรม นำชีวิตยั่งยืน สัปดาห์ที่ 15 10 %
7 1.1-1.5 จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
-กันยา สุวรรณแสง, จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 3. กทม. : สำนักพิมพ์อักษรพิทยา, 2540. หน้า 108 -109.
-สุจิตรา รณรื่น, ศาสนาเปรียบเทียบ กทม. : บริษัทสหธรรมิก จำกัด, 2538. หน้า 206-207 และหน้า 237-238.
-ณรงค์ เส็งประชา. สังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 2 ปรับปรุงแก้ไข. กทม : สำนักพิมพ์พิทักษ์อักษร,2537
-สุพิศวง ธรรมพันทา. มนุษย์กับสังคม . ดีดีบุ๊คสโตร์. 2540

สุภาพ. สังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 18. กทม. : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2537

-นิยม บุญมี. ครอบครัวสัมพันธ์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2534
-ธัญญะ บุศยเวส และคณะ จิตวิทยาเบื้องต้น. ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น,2534
-วิจิตร ตระกุล เทคนิคมนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พิฆเนศ, 2533
- บุญมี แท่นแก้ว. จริยธรรมกับชีวิต. กรุงเทพฯ : โอเดียนสตาร์, 2541
---------------------. จริยศาสตร์. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2532
- ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์. จริยศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2520
- พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พุทธธรรม(ฉบับขยายความ). กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
,2532
- ยุรธร จีนา. เอกสารประกอบการสอน มนุษย์กับจริยธรรม (Man and Ethics). เชียงใหม่:
แผนกสังคมศาสตร์ มทร.ล้านนา, 2554
- วิทย์ วิศทเวทย์. จริยศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช, 2526
- สุเชาว์ พลอยชุม. ปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2522
- เอกสารเกี่ยวกับ จริยศาสตร์ , ศาสนาเปรียบเทียบ, จริยธรรมในชีวิต, จริยธรรมกับวิชาชีพ
- หนังสือพิมพ์
-วารสารทางวิชาการ
- เว็บไซด์ที่เกี่ยวกับการอธิบายคำศัพท์ Wikipedia และเว็บไซด์อื่นๆ
- รายการ เล่าข่าวเช้า, คนดีของแผ่นดิน , คนค้นคน, จุดเปลี่ยน, เรื่องจริงผ่านจอ , กรรมลิขิต
,ฟ้ามีตา
1.1 นักศึกษาเป็นผู้ประเมินผลผู้สอน และรายวิชานี้ทางเว็บไซด์ของมหาวิทยาลัย
1.2 นักศึกษาเป็นผู้ประเมินความพึงพอใจในรายวิชานี้ในตอนท้ายของการเรียนการสอนปลายภาคเรียน
1.3 นักศึกษาเป็นผู้ประเมินความพึงพอใจในกิจกรรมต่างๆที่จัดให้ เช่น การวิเคราะห์ภาพยนตร์
1.4 นักศึกษาเป็นผู้เสนอแนะกิจกรรมในการเรียนการสอน
1.5 นักศึกษาเป็นผู้ประเมินความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาจริยธรรม นำชีวิตยั่งยืน
2.1 สังเกตพฤติกรรมความสนใจต่อการเรียนของนักศึกษา (การซักถาม การร่วมอภิปราย การแสดง
ความคิดเห็น)
2.2 จากกิจกรรมกลุ่มย่อยในชั้นเรียน นอกชั้นเรียน แบบฝึกหัด งานมอบหมายในชั่วโมง
2.3 จากการสังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม การมีจิตอาสา ความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา
2.4 จากผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
3.1 ปรับปรุงเอกสาร ตำราที่ใช้ในการเรียนทุกปีการศึกษาเพื่อแก้ไขเนื้อหาให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
3.2 ให้นักศึกษานำเสนอสิ่งที่ต้องการให้เพิ่มเติมในวิชานี้
3.3 นำผลการประเมินที่ได้จากนักศึกษามาปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น
3.4 ทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อช่วยแก้ปัญหาในเรื่องต่างๆที่มีผลกระทบต่อผู้เรียน
3.5 จากผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
4.1 สังเกตการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งด้านการเรียน การมีวินัย การเข้าเรียนและการส่งงานตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย
4.2 สังเกตการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอื่นๆ ตามที่ได้เรียนไป ได้แก่ การแต่งกาย มารยาทไทย
การไหว้, พฤติกรรมด้านจริยธรรม ฯลฯ
4.3. ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
4.4 การปรับปรุงพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม และวิธีการนำเสนอตามที่ได้รับการแนะนำ
5.1 มีการปรับปรุงเนื้อหาอย่างสม่ำเสมอ ให้ข้อมูลเป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์
5.2 เชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้ความรู้ในเรื่องต่างๆตามที่นักศึกษาสนใจ
5.3 ปรับปรุงกิจกรรมต่างๆให้มีข้อบกพร่องน้อยลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
5.4 พัฒนากิจกรรม/โครงการใหม่ๆที่ให้ประโยชน์แก่นักศึกษามาเป็นทางเลือกให้มากขึ้น
5.5 พัฒนาเทคนิคการสอน สื่อเทคโนโลยีการศึกษา ให้ทันสมัย น่าสนใจ และนักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน
5.6 นำเสนอรายการทางโทรทัศน์ที่น่าสนใจ สอดคล้องกับวิชามนุษย์กับจริยธรรม