สถิติสำหรับวิทยาศาสตร์

Statistics for Science

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่างๆ  ดังนี้
     1.1  รู้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสถิติ
     1.2  เข้าใจวิธีการหาความน่าจะเป็น
     1.3  เข้าใจเกี่ยวกับตัวแปรสุ่มและการแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่ม
     1.4  เข้าใจการแจกแจงตัวอย่าง  การประมาณค่า  และทำการทดสอบสมมติฐานได้
     1.5  สามารถวิเคราะห์ความแปรปรวนได้
     1.6  สามารถวิเคราะห์การถดถอยและสหสัมพันธ์ได้
     1.7  สามารถวิเคราะห์การทดสอบไคสแควร์ได้
     1.8  สามารถประยุกต์ความรู้ทางสถิติกับปัญหาทางด้านวิทยาศาสตร์ได้
เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้เกี่ยวกับสถิติที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพ รวมถึงเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ และฝึกให้เป็นคนมีเหตุผลและรอบคอบ โดยมีการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
ศึกษาเกี่ยวกับความหมายของสถิติ ขอบเขตและประโยชน์ของสถิติ ขั้นตอนการใช้สถิติเพื่อการตัดสินใจ ทฤษฎีความน่าจะเป็น การแจกแจงความน่าจะเป็นแบบไม่ต่อเนื่องและต่อเนื่อง  ตัวแปรสุ่ม การแจกแจงการสุ่มตัวอย่าง การประมาณค่า การทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์การถดถอยและสหสัมพันธ์ การทดสอบไคสแควร์ วิชานี้เน้นตัวอย่างและการประยุกต์ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมสำหรับผู้เรียนในแต่ละสาขาวิชา
อาจารย์ผู้สอนจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มนอกชั้นเรียน ตามความต้องการของนักศึกษา 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) และผู้สอนได้สร้าง Group Line ชื่อ “นศ.วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยี”  เพื่อขอรับคำปรึกษา/สอบถาม/ประสานงาน/อื่นๆ ได้ทุกวัน
1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กรและสังคม
1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
- ให้นักศึกษาเข้าชั้นเรียนสม่ำเสมอและตรงต่อเวลา
- ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียน
- มอบหมายงาน แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน ตามวันเวลาที่ได้กำหนด
สังเกตพฤติกรรมและการปฏิบัติตนในด้านต่าง ๆ ได้แก่
- การตรงต่อเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย
- ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
- ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำแบบฝึกหัดที่ได้รับมอบหมาย
2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
2.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจ และอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะและการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
2.3 สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุง และ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่างๆ ของสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามข้อกำหนด
2.4 สามารถติดตามความก้าวหน้าและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์
2.5 รู้เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง
2.6 มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ
2.7 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
2.8 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์กับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ให้นักศึกษาตอบคำถามในเนื้อหาที่สอน
- ให้นักศึกษายกตัวอย่างเพิ่มเติมจากเนื้อหาที่สอน 
- ทำข้อสอบประจำบทเรียน
- การทดสอบย่อย
- การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
- งานที่มอบหมาย
3.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
3.2 สามารถสืบค้นตีความและประเมินสารสนเทศเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
3.3 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.4 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
- ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียน
- มอบหมายงาน แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน ตามวันเวลาที่ได้กำหนด
- ทำข้อสอบประจำบทเรียน
- การทดสอบย่อย
- การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
- งานที่มอบหมาย
4.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำหรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
4.3 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.4 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
4.5 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
4.6 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
- ให้นักศึกษาได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนขณะเรียน เช่น การตรวจสอบคำตอบของแบบฝึกหัดแต่ละข้อร่วมกัน
สังเกตจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา ได้แก่
- พฤติกรรมและการแสดงออกในการทำแบบฝึกหัดเป็นกลุ่มในชั้นเรียน
5.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
5.2 สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
5.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าหรือการเขียนเลือกใช้รูปแบบการสื่อสารการนำเสนออย่างเหมาะสม
5.4 สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่ออย่างเหมาะสม
- ให้นักศึกษาเรียนรู้ในห้องเรียนและนอกห้องเรียนต่อการใช้เครื่องคำนวณในรายวิชานี้
สังเกตจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา ได้แก่
- ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร
- ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 BSCCC207 สถิติสำหรับวิทยาศาสตร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.2, 3.1, 3.2, 5.1, 5.2 การทดสอบย่อย (Quiz) บทที่ 1 และบทที่ 2 4 (นอกเวลาเรียน) 5%+5% = 10%
2 2.1, 2.2, 3.1, 3.2, 5.1, 5.2 การสอบกลางภาค บทที่ 3 และบทที่ 4 9 10%+10% = 20%
3 2.1, 2.2, 3.1, 3.2, 5.1, 5.2 การทดสอบย่อย (Quiz) บทที่ 5 และบทที่ 6 12 (นอกเวลาเรียน) 10%+10% = 20%
4 2.1, 2.2, 3.1, 3.2, 5.1, 5.2 การสอบปลายภาค บทที่ 7, บทที่ 8 และบทที่ 9 18 10%+10%+10% = 30%
5 2.1, 2.2, 3.1, 3.2, 5.1, 5.2 งานที่มอบหมาย 1-8, 10-17 10%
6 1.3, 4.3 คะแนนเจตคติ การเข้าชั้นเรียน และความรับผิดชอบในรายวิชา 1-8, 10-17 10%
วิโรจน์ มงคลเทพ. 2564. สถิติสำหรับวิทยาศาสตร์ (Statistics for Science). กรุงเทพฯ : โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
-
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). ค้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2563, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php
กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ. (2563). รายงานสถานการณ์และคุณภาพอากาศประเทศไทย. ค้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2563, จาก http://air4thai.pcd.go.th/webV2/history/
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณาจารย์ภาควิชาสถิติ. (2541). สถิติเบื้องต้น. เชียงใหม่: หน่วยพิมพ์เอกสาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จุลทรรศน์ คีรีแลง, วิโรจน์ มงคลเทพ, เลิศลักษณ์ จิณะไชย, และสุดาพร ตงศิริ. (2561). ผลของการใช้กระเจี๊ยบเขียวในสูตรอาหารต่อการเจริญเติบโตของปลากาดำ. ใน การประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 5 (น.24). ตาก: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก.
เจมส์ กัลลาเฮอร์. (2563). บีบีซี ไทย: โควิด-19 วัคซีนมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดช่วยป้องกันการติดโรคได้ 70%. ค้นเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.bbc.com/thai/international-55041311
ธีรศักดิ์ อุรัจนานนท์. (2546). ความน่าจะเป็นและสถิติประยุกต์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สยามสปอร์ต ซินดิเคท.
นพพร ธนะชัยขันธ์. (2555). สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: ส. เอเชียเพรส (1989).
นิลวรรณ ชุ่มฤทธิ์. (2556). สถิติวิศวกรรม. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
พิสมัย หาญมงคลพิพัฒน์. (2560). หลักสถิติ 1 (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มนตรี สังข์ทอง. (2557). หลักสถิติ. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นซ์ (1991).
ราชบัณฑิตยสภา. (2561). พจนานุกรมศัพท์สถิติศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา (พิมพ์ครั้งที่ 2) แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วราวุธ วุฒิวณิชย์. (2547). เอกสารประกอบการสอนวิชา 207251 สถิติทางวิศวกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563, จาก http://irre.ku.ac.th/books/pdf/5.pdf
วัชราภรณ์ สุริยาภิวัฒน์. (2552). สถิติสำหรับวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นซ์ (1991).
วัชราภรณ์ สุริยาภิวัฒน์. (2552). สถิติสำหรับวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เล่มที่ 2. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นซ์ (1991).
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์         แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สรชัย พิศาลบุตร, เสาวรส ใหญ่สว่าง, และปรีชา อัศวเดชานุกร. (2553). การสร้างและประมวลผลข้อมูลจากแบบสอบถาม (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สรชัย พิศาลบุตร. (2556). หลักสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.
สายชล สินสมบูรณ์ทอง. (2552). สถิติเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.
สุพัฒน์ สุกมลสันต์. (2560). การเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดสอบรวมเพื่อการวิจัย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรีมย์, 9(2), 51–70.
สุรินทร์ นิยมางกูร. (2546). เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Forsyth, D. (2018). Probability and statistics for computer science. Switzerland: Springer.
Guerrero, H. (2019). Excel data analysis (2nd ed.). Switzerland: Springer.
Heumann, C., Schomaker, M., & Shalabh. (2016). Introduction to statistics and data analysis. Switzerland: Springer.
Martin, B. & Gerald, M. F. (2004). Statistics for the Sciences. USA: Duxbury Press.
McDonald, J. H. (2009). Handbook of Biological statistics (2nd ed.). Retrieved December 26, 2020, from http://www.biostathandbook.com/HandbookBioStatThird.pdf
Pitman, J. (1993). Probability. New York: Springer-Verlag.
Walpole, R. E., Myers, R. H., Myers, S. L., & Ye, K. (2012). Probability & statistics for engineers & scientists (9th ed.). Boston: Prentice Hall.
อาจารย์ผู้สอนได้ให้นักศึกษารายงานตนเองเพื่อสะท้อนถึงความรู้ความเข้าใจต่อการเรียนรายวิชานี้ โดยเขียนบรรยายลงบนกระดาษที่แจกให้ในชั้นเรียน
การประเมินการสอนโดยนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา ซึ่งนักศึกษาจะต้องทำการประเมินผลการสอนออนไลน์ในระบบทะเบียนกลางของมหาวิทยาลัย
แก้ไขข้อบกพร่องจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา ได้แก่ ด้านการสอน ด้านสื่อ ด้านประเมิน และด้านปกครอง
4.1  ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา จากการตั้งคำถามต่างๆ เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของนักศึกษา
4.2  ทวนสอบงานที่มอบหมายของนักศึกษา ผลการสอบกลางภาค และผลการสอบปลายภาค
4.3  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจข้อสอบ คะแนนสอบ  และคะแนนพฤติกรรมการตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
5.1  ปรับปรุงการเรียนการสอนตามผลการประเมินการโดยนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา
5.2  วิเคราะห์และสังเคราะห์ผลการเรียนของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา
5.3  เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้กับปัญหา โดยวิธีการสอนที่หลากหลายและ/หรือจากงานวิจัยของอาจารย์ผู้สอน (ถ้ามี)